ไฮสปีดเทรน 3 สนามบินฉลุย เร่งเวนคืนเปิดเชื่อมสถานี

27 ก.ค. 2561 | 07:02 น.
 

TP12-3296-C ร.ฟ.ท.ยันรถไฟเชื่อม3สนามบินฉลุย!!!เร่งเวนคืนและเปิดเชื่อมเข้าถึงสถานีอย่างสะดวก “สามารถ” ยันยังมีความเสี่ยงการลงทุนของเอกชน ด้านแอร์พอร์ตลิงค์นับถอยก่อนโยกไปบริหารรถไฟสายสีแดง เร่งเจรจาซีเมนต์ปรับโฉมตัวรถ 190 ล้าน ตั้งเป้าปิดยอดผู้โดยสาร 23 ล้านคนพ่วงรายได้ 740 ล้านบาทสิ้นปีนี้
1532673937004 นายวรวุฒิ  มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการกาารรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงความคืบหน้าของการประชุมชี้แจงโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสนามบินดอนเมือง สุวรรณภูมิ และสนามบินอู่ตะเภาให้กับผู้ซื้อเอกสารประกวดราคาจำนวน 31 ราย ได้ซักถามข้อสงสัยต่างๆ เกี่ยวกับการลงทุนและข้อมูลเกี่ยวกับโครงการพร้อมกับการนำลงพื้นที่ในวันที่ 24 กรกฎาคมนี้ว่ายังไม่มีคำถามที่สร้างความหนักใจและไม่สามารถตอบได้โดยได้เร่งแผนการเวนคืนและจัดเส้นทางเชื่อมโยงให้สามารถเข้าถึงแต่ละสถานีได้อย่างสะดวกรวดเร็วเพื่อเพิ่มปริมาณผู้โดยสารตามสถานีต่างๆ
2665665 ด้านนายสามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่าโครงการนี้ยังเห็นว่ามีความสำคัญต่อประเทศไทย เพราะมีการพัฒนาพื้นที่ทางเศรษฐกิจในหลายจุด แต่ยังเห็นว่าท้ายที่สุดแล้วเอกชนทั้ง 31 รายจะยื่นซองกันจริงๆมีจำนวนไม่กี่ราย จึงยังมีความเสี่ยงเพราะที่ดินมักกะสันยังจะส่งมอบได้จริงในเบื้องต้นเพียง 100 ไร่ส่วนอีก 50 ไร่ ภายใน 5 ปี อีกทั้งผู้โดยสารที่คาดการณ์ว่าจะมีวันละ 4 หมื่นคนในปีแรกยังเห็นว่าเป็นไปไม่ได้ หากจะอ้างอิงจากแอร์พอร์ตลิงค์ในปัจจุบันย่อมแตกต่างกันมาก

“คงต้องจับตากันในวันที่ยื่นซอง ส่วนการพัฒนาจุดอื่นเอกชนจะต้องไปซื้อที่ดินเพิ่มเติม เมืองใหม่ย่านอุตสาหกรรม ศูนย์ราชการ ฯลฯ จะเกิดขึ้นจริงและรวดเร็วหรือไม่ยังคงต้องติดตาม ซึ่งเอกชนในแต่ละพื้นที่ควรจะได้เข้ามาร่วมลงทุน แต่รัฐก็ได้เข้ามาดำเนินการอย่างถูกต้อง ไม่เสียเปรียบ แม้จะลงทุนก่อนวงเงิน  1 แสนบาท ซึ่งยังคงผ่อนชำระให้เอกชนระยะเวลา 10 ปี แต่เอกชนก็ยังต้องจ่ายผลตอบแทนให้กับรัฐด้วยเช่นกัน ดังนั้นท้ายที่สุดแล้วจะสำเร็จหรือไม่ยังคงต้องติดตาม”
5656 ด้านนายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด หรือแอร์พอร์ตลิงก์กล่าวว่าในช่วงครึ่งปีหลังนี้จะเน้นไปที่การยกระดับบริการของแอร์พอร์ตลิงค์เริ่มตั้งแต่โครงการ ปรับปรุงขบวนรถ (Overhual) จำนวน 9 ขบวน วงเงิน 262 ล้านบาท เพื่อแก้ปัญหาความแออัดบนชานชาลานั้นปัจจุบันดำเนินการไปแล้ว 7 ขบวน  คาดว่าขบวนที่ 8 และ 9 จะแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคมและธันวาคมนี้ตามลำดับ

เช่นเดียวกับโครงการเปลี่ยนที่กั้นแบบราวสเตนเลสส์ คล้ายกับรถไฟชินคันเซนของประเทศญี่ปุ่น วงเงิน 25 ล้านบาทนั้นได้ตัวเอกชนคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคมนี้ รวมถึงแผนเปลี่ยนโฉมใหม่ภายในขบวนรถไฟฟ้าด่วน (Express Line) 4 ขบวน ให้เป็นแบบธรรมดา (City Line) คาดว่าจะใช้งบประมาณราว 190 ล้านบาทขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจากับซีเมนส์ ส่งผลให้จะรองรับผู้โดยสารได้เพิ่มขึ้น 2 หมื่นคนเมื่อปรับโฉมและซ่อมบำรุงแล้วเสร็จทั้งหมด ถือว่าเพียงพอต่อการรองรับในช่วง 1-2 ปีนับจากนี้ จากปัจจุบันมีผู้โดยสารพีกสุด 8 หมื่นคนต่อวัน

“เป้าหมายผู้โดยสารตลอดทั้งปีคาดว่าจะมีจำนวน รวมทั้งสิ้น 23 ล้านคน เติบโตต่อเนื่อง 6% เมื่อเทียบกับปีก่อนซึ่งอยู่ที่  22 ล้านคน ทำให้รายได้ตลอดทั้งปีจะอยู่ที่ 740 ล้านบาท สำหรับ 3 สถานีที่มีตัวเลขผู้โดยสารเติบโตสูงสุดนั้น ได้แก่ สถานีลาดกระบัง สถานีพญาไทและสถานีสุวรรณภูมิ โดยสถานีลาดกระบังมีผู้โดยสารเติบโตเร็วที่สุดเนื่องจากการขยายตัวของเมืองไปยังฝั่งตะวันออกและจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น”

|เชกชั่น : เศรษฐกิจมหภาค หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ หน้า 12 ฉบับ 3386 ระหว่างวันที่ 26-28 ก.ค.2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว