ทิศทาง 'บาท' ยังอ่อนค่า!

26 ก.ค. 2561 | 10:41 น.
260761-1729

ทิศทางการฟื้นตัวขึ้น
 อย่างแข็งแกร่งของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปีนี้ หลังจากซบเซาต่อเนื่อง ตั้งแต่วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ในปี 2550 ส่งผลให้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักและสกุลเงินอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชีย ประกอบกับแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้นชัดเจน หลังการส่งสัญญาณของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ยิ่งไปปลุกเร้าให้เงินที่เคยกระจายลงทุนในตลาดเกิดใหม่ต่างไหลกลับไปยังสหรัฐฯ เพื่อหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น

ปัจจัยเหล่านี้ยิ่งกดดันให้ค่าเงินในตลาดเกิดใหม่อ่อนค่าลง ประกอบกับเมื่อเกิดปัญหานโยบายกีดกันการค้าระหว่างประเทศของ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ทำให้ตลาดเงินและตลาดทุนจับตาแนวโน้มความเปลี่ยนแปลง หลังปัญหากีดกันการค้าระหว่างสหรัฐฯ , จีน และยุโรป ทำให้ค่าเงินสกุลอื่น ๆ อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงที่เหลือของปี 2561

 

[caption id="attachment_301047" align="aligncenter" width="503"] โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์
ประธานาธิบดีสหรัฐฯ[/caption]

หากย้อนมองต้นปี เงินบาทเคลื่อนไหวแข็งค่าจากระดับ 32.30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ โดยมีปัจจัยเศรษฐกิจทั่วโลกที่ขยายตัวดี ถัดมาเดือน ก.พ. ตลาดปรับฐานเกิดภาวะเงินทุนไหลออกจากตลาดหุ้น ซึ่งนักลงทุนต่างชาติทยอยขายสุทธิต่อเนื่อง และเพิ่มดีกรีเทขายมากขึ้นในเดือน เม.ย. ด้วย 3 ปัจจัยหลัก คือ ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ส่งสัญญาณการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ประกอบมาตรการกีดกันการค้าและเศรษฐกิจในแถบภูมิภาคเอเชียเริ่มแผ่ว กดดันให้เงินบาทอ่อนค่าลงมา

กระทั่งสิ้นเดือน มิ.ย. เงินบาทเคลื่อนไหวจาก 32.1 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เป็น 33.14 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ สะท้อนตลาดปิดรับความเสี่ยงและดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ปรับตัวลดลงเหลือ 1600 จุด จาก 1800 จุด และเงินบาทอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็ว โดยปัจจุบันเคลื่อนไหวอยู่ที่ 33.4 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นปัจจัยจากสกุลเงินหยวนอ่อนค่า โดยธนาคารกรุงไทยประเมินเงินบาทไตรมาส 3 ของปีนี้ จะเคลื่อนไหวอยู่ที่ 33.9-34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ และปลายปี เงินบาทอยู่ที่ 32.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ


12994465_s-6

สำหรับการดำเนินนโยบายการเงินของเฟดนั้น เนื่องจากตลาดรับรู้และปรับตัวล่วงหน้า โดยคาดว่า เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 2 ครั้ง คือ เดือน ก.ย. และ ธ.ค. 2561 ซึ่งไตรมาส 4 ปัญหากีดกันการค้าน่าจะมีข้อยุติในช่วงเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐฯ ขณะที่ ภาวะเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มกระจายตัวมากขึ้น และการเลือกตั้งภายในประเทศน่าจะทำให้นักลงทุนต่างชาติชะลอการขายและมีโอกาสได้เห็นธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อาจจะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในปี 2562


……………….
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,386 วันที่ 26-28 ก.ค. 2561 หน้า 01-02

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
เงินบาทขยับแข็งค่า 33.19 บาทต่อดอลลาร์ฯ หลังตลาดคลายกังวลสหรัฐฯ-ยุโรปเจรจาได้
เงินบาทเปิดตลาดแข็งค่า 33.34 บาทต่อดอลลาร์ฯ ตามแรงกดดันเงินปอนด์แข็งค่า


ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว