รู้หรือยัง?กฎหมายใหม่ “ห้ามนายจ้างข่มขืนใจ” มีโทษจำคุก

26 ก.ค. 2561 | 05:45 น.
คอลัมน์ “Exclusive news”

รู้หรือยัง ? กฎหมายใหม่ “ห้ามนายจ้างข่มขืนใจ” มีโทษจำคุก

คลี่กฎหมายใหม่ “ ร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและขจัดการใช้แรงงานบังคับ พ.ศ. .... “ ป้องแรงงานไทย-ต่างด้าวกว่า 38 ล้านคน ห้ามนายจ้างบีบบังคับ ข่มขืนใจ งานหรือบริการทุกชนิดโดยมิได้สมัครใจ ถือเป็นการกระทำที่เป็นการใช้แรงงานบังคับโทษหนักจำคุก –ปรับ 2 เท่า ชี้กฎหมาย เอื้อลูกจ้างข่มเหง หวั่นร้องเรียนอื้อ ด้านผู้แทน อียู-อเมริกา แนะกำหนดโทษให้น้ำหนักเท่าค้ามนุษย์

ร่าง พ.ร.บ.บัญญัติป้องกันและขจัดการใช้แรงงานบังคับ พ.ศ. .... กระทรวงแรงงานได้รับนโยบายเร่งด่วนสำคัญและข้อสั่งการของพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนและปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน คณะที่ 5 (กขป. 5) เพื่อเร่งรัดการดำเนินการให้สัตยาบันพิธีสารปี ค.ศ. 2014 ส่วนเสริมอนุสัญญา ฉบับที่ 29 ว่าด้วยแรงงานบังคับ ค.ศ. 1930 ภายในเดือนมิถุนายน 2561 ซึ่งพิธีสารว่าด้วยแรงงานบังคับฯ กำหนดพันธกรณีในการป้องกันการใช้แรงงานบังคับ การคุ้มครองเหยื่อ และการเข้าถึงการเยียวยา กำหนดให้ประเทศสมาชิกต้องมีนโยบายและแผนปฏิบัติการของประเทศ โดยมีการปรึกษาหารือกับองค์กรนายจ้างและองค์กรแรงงานด้วย ซึ่งนโยบายและแผนปฏิบัติการดังกล่าวจะต้องกำหนดให้มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบ ให้เร่งดำเนินการที่จะต้องมีกฎหมาย

kol

นายคล สุขเจริญคณา ประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ถึง การยกร่างกฎหมายฉบับนี้ออกมาตั้งคำถามว่าอคติต่อผู้ประกอบการไทยหรือไม่ เพราะกฎหมายนี้หากผ่านการบังคับใช้กฎหมายธุรกิจเจ๊งหมด โดยเฉพาะในมาตรา 6 มีการเพิ่มเติมเข้ามาใหม่ ใน วงเล็บ 4 และวงเล็บ 5 ผมถามว่าต้องการจะจัดการกับใคร จริงๆ แล้วการจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา การจัดเวลาให้มีวันหยุดวันพักผ่อนตามกฎหมายกำหนด หรือไม่ให้พักผ่อนอย่างเพียงพอตามสภาพของงานหรือบริการนั้นๆ ซ้ำซ้อน ควรที่จะไปอยู่ในกฎหมายคุ้มครองสวัสดิการแรงงาน ไม่ควรจะมีไว้ที่นี่ แล้วปัญหานี้เรือประมงพาณิชย์กำลังเผชิญอยู่ แล้วยังจะมาใส่ไว้เพิ่มอีก ทำไม ดังนั้นข้อนี้ขอให้ถอนออกแล้วให้อิงร่างเดิม

“มาตรา 6 ผู้ใดข่มขืนผู้อื่นให้ทำงานหรือบริการโดยมิได้สมัครใจให้กับตนหรือบุคคลที่สาม โดยข่มขู่ ขู่เข็ญว่าจะลงโทษโดยมิชอบ ใช้กำลังประทุษร้ายยึดเอกสารสำคัญประจำตัวบุคคลนั้นๆ นำภาระหนี้สินของบุคคลนั้นหรือบุคคลอื่นมาเป็นสิ่งผูกมัดโดยมิชอบหรือด้วยวิธีอื่นใดโดยมิชอบ ที่ทำให้บุคคลนั้นไม่สามารถที่จะขัดขืนได้ หรือ มิได้สมัครใจที่จะทำเอง ถ้าการกระทำนั้นไม่เป็นความผิดฐานค้ามนุษย์ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำความผิดฐานใช้แรงงานบังคับ”

นายมงคล กล่าวว่า พิจารณาส่วนร่างที่เพิ่มเติมแล้วไม่เห็นด้วย ที่คณะกรรมการกฤษฎีกา ตรวจแล้ว “มาตรา 6 การกระทำดังต่อไปนี้ เพื่อให้ผู้อื่นจำยอมทำงานหรือให้บริการแก่บุคคลใดเป็นการกระทำที่เป็นการใช้แรงงานบังคับ (1) ทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย หรือทำให้สูญหายหรือไร้ประโยชน์ซึ่งเอกสารใดของผู้อื่น (2) บังคับหรือข่มขืนใจผู้อื่นโดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของผู้ถูกข่มขืนใจนั้นเองหรือของผู้อื่น หรือโดยใช้กำลังประทุษร้าย (3) หน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่น หรือกระทำด้วยประการใดให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย

(4) บังคับหรือข่มขืนใจผู้อื่นโดยไม่จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดภายในระยะเวลาที่กำหนดในกฎหมาย หรือไม่จ่ายค่าตอบแทนตามกำหนดเวลาที่ตกลงไว้ในสัญญาจ้างทำงานหรือให้บริการ (5) บังคับหรือข่มขืนใจผู้อื่นโดยไม่จัดให้มีเวลาพักตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ให้พักผ่อนอย่างเพียงพอตามสภาพของงานหรือบริการนั้นๆ การบังคับและข่มขืนใจให้เด็กอายุต่ำกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดทำงานหรือให้บริการในงาน หรือสถานที่ที่กฎหมายกำหนดห้ามไว้ ถือเป็นการกระทำที่เป็นการใช้แรงงานบังคับด้วย หากผู้ใดกระทำการที่เป็นการใช้แรงงานบังคับตามมาตรา 6 และการกระทำนั้นเป็นความผิดตามกฎหมายที่มีโทษอาญาต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของอัตราโทษในความผิดอาญานั้น กล่าวคือ จำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 4 ปี หรือปรับตั้งแต่ 4 หมื่นถึง 2 แสนบาทต่อผู้เสียหายหนึ่งคน หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าอายุต่ำกว่าเกณฑ์อัตราโทษก็เพิ่มขึ้น

นายมงคล กล่าวว่า กรณีแรงงานต่างด้าว ที่มาทำงานในแรงงานประมง ทางต้นทาง ก็คือ หน่วยรัฐบาลเมียนมา แจ้งว่านายคนนี้อายุ 25 ปี แต่พอทางเจ้าหน้ารัฐไทย เห็นหน้าตาดูเด็ก ก็ส่งไปตรวจมวลกระดูกโรงพยาบาล ผลเอ็กซเรย์ออกมาอายุไม่ถึง 18 ปี แล้วอย่างนี้ใครหลอกลวง ผู้ประกอบการต้องรับผิดชอบหรือไม่

ponsil

สอดคล้องกับ นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย และเลขาธิการสมาพันธ์ปศุสัตว์และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ กล่าวว่า รัฐบาลชุดนี้ออกกฎหมายฟุ่มเฟือย เพราะปัจจุบันมีกฎหมายคุ้มครองแรงงาน 3 ฉบับแล้ว หากต้องออกกฎหมายอีกเพราะอนุสัญญาที่รัฐไปทำผูกพันไว้ก็ควรจะบรรจุในกฎหมายฉบับใดฉบับหนึ่งไปเลย ไม่ต้องร่างออกมาใหม่ แล้วชี้แจงให้องค์กร ILO ให้เข้าใจ เหมือนที่ สหรัฐ ก็ยังไม่รับอนุฯ บางฉบับ เช่น 87 เป็นต้น และแจ้งว่าไทยมีกฎหมายที่สอดคล้องแล้วตามอนุสัญญาที่ไปลงนามไว้เมื่อ 40 กว่าปีที่แล้ว สิ่งที่เป็นห่วงก็คือ คณะกรรมการ ในเรื่ององค์ประกอบว่าเอกชนที่จะเป็นตัวแทนจะเอามาจากองค์กรไหน เพราะสถาบันที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่น่าจะเป็นตัวแทนได้ครบทุกธุรกิจ อีกข้อหนึ่งการตั้งข้อหาความผิดนายจ้างไม่ชัดเจนต้องตีความ “ข่มขืนใจ” คืออะไร เช่นเดียวนายธนารักษ์ พงษ์เภตรา รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าว ว่ากฎหมายซ้ำซ้อน อย่างการคุ้มครองแรงงานเด็ก ก็มีแล้ว ก็ไม่ควรมาใส่เพิ่มกฎหมายฉบับนี้

ด้านนายกลินท์ สารสิน ประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้เบื้องต้นได้สอบถามไปทางนายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการและประธานคณะกรรมการแรงงานและพัฒนาฝีมือแรงงาน สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ว่าในชั้นนี้ยังไม่น่าเป็นห่วง เพราะเมื่อผ่านเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบแล้ว จะมีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณากลั่นกรอง เชื่อว่าทางคณะนี้จะมาเชิญผู้มีส่วนได้เสียไปให้ความคิดเห็นอีกรอบหนึ่ง แล้วเชื่อมั่นว่าตอนที่ไปชี้แจง นายพจน์จะทำหน้าที่อย่างเต็มที่เพื่อให้กฎหมายนี้ออกมาเป็นธรรมระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง

สอดคล้องกับ นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการและประธานคณะกรรมการแรงงานและพัฒนาฝีมือแรงงาน สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ขั้นตอนกฎหมายเป็นไปอย่างที่ได้รายงานประธานหอฯ แต่ถ้ารัฐบาลรีบประกาศ เพื่อออก เป็น พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ก็จบ เพราะเพียงไม่กี่วันก็ต้องบังคับใช้ ดังนั้นผู้ประกอบการหรือนายจ้างจะต้องมีความละเอียดและรอบคอบมากขึ้น ซึ่งเป็นห่วงแรงงานต่างด้าวมากกว่า อย่างกรณีต่างด้าว จะแบ่งเป็น 2 ลักษณะ หากเป็นแรงงานต่างด้าว 1. ต้องดูลักษณะงานให้ตรง กับที่รับเข้าทำงาน อย่าไปให้ทำงานอื่น เช่น รับเป็นแม่บ้าน ต้องจำแนกชัดอีก ว่าจะให้ทำตรงไหนบ้าง แต่ให้ไปเลี้ยงลูก ถือว่าแรงงานผิดประเภท หรือ 2. ขอเบิกเงินไปใช้ก่อน ก็เข้าข่ายเป็นลูกหนี้ขัดดอก ต้องระมัดระวัง ทำสัญญาให้เข้าใจ ก็จะเข้าข่ายผิดกฎหมายฉบับนี้ ส่วนคนไทย “งานง้อคน “ ดังนั้นหากมีการโยกย้ายแผนกจะต้องถามความสมัครใจก่อน ถ้าไม่ไป ก็อยู่ตรงนั้นไม่สามารถทำอะไรได้ นอกจากนี้ความสัมพันธ์ระหว่างแม่บ้าน หากยิ่งอยู่มานานจะเอื้ออารีต่อกันไม่น่ามีปัญหา เป็นห่วงเรื่องแรงงานต่างด้าว จะทำสัญญากว้างไว้ ไม่เช่นนั้นโดนฟ้องระนาว

poj

ขณะที่ผู้แทนกระทรวงแรงงาน ชี้แจงว่า ร่างพระราชบัญญัตินี้ต้องการดูแลคนทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมกันไม่ได้แบ่งแยกว่าผู้เสียหายเป็นคนไทยหรือต่างด้าว ซึ่งการกำหนดอัตราโทษที่สูงกว่ากฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานแต่ไม่สูงเกินกว่าอัตราโทษของกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ แล้วยังกำหนดให้ผู้กระทำผิดต้องรับโทษต่อผู้เสียหายหนึ่งคน กำหนดให้มีการปรับตามจำนวนของผู้เสียหาย

“สาระสำคัญ ประกอบด้วย 1.กำหนดลักษณะความผิดฐานใช้แรงงานบังคับ หมายถึง ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่นให้ทำงานหรือบริการโดยมิได้สมัครใจให้กับตนหรือบุคคลที่ 3 โดยการข่มขู่ ขู่เข็ญว่าจะลงโทษโดยมิชอบ ใช้กำลังประทุษร้ายยึดเอกสารสำคัญประจำตัวของบุคคลนั้นไว้ นำภาระหนี้ของบุคคลหรือบุคคลอื่นมาเป็นสิ่งผูกมัดโดยมิชอบ หรือด้วยวิธีอื่นใดโดยมิชอบที่ทำให้บุคคลนั้นไม่สามารถที่จะขัดขืนได้หรือมิได้สมัครใจที่จะทำเอง ถ้าการกระทำนั้นไม่เป็นความผิดฐานค้ามนุษย์ให้ถือว่าผู้นั้นใช้แรงงานบังคับ มีการกำหนดให้จัดตั้งกองทุนเพื่อการป้องกันและปราบปรามการใช้แรงงานบังคับ เพื่อช่วยเหลือและเยียวยาผู้เสียหาย”

ขณะที่ด้านผู้แทนจากสหภาพยุโรปอียู และสหรัฐอเมริกา เห็นว่าการลงโทษเบาเกินไป ควรกำหนดโทษให้น้ำหนักเท่าค้ามนุษย์ เพื่อขจัดแรงงานบังคับออกจากประเทศไทยได้เร็วขึ้น

e-book-1-503x62