ครม.ไฟเขียวยกระดับสินค้าเกษตรระบบน้ำท่องเที่ยวเเละคุณภาพชีวิต

24 ก.ค. 2561 | 13:32 น.
ครม.ไฟเขียวยกระดับสินค้าเกษตรระบบน้ำท่องเที่ยวเเละคุณภาพชีวิต

พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมครม. สัญจร (24ก.ค.61) ว่า การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและแก้ไขปัญหาอุทกภัย ซึ่งตั้งแต่ปี 2557-2561 ที่รัฐบาลนี้เข้ามา รัฐบาลได้สนับสนุนงบประมาณในการแก้ไขปัญหาไปแล้ว เกือบ 10,000 ล้านบาท และตั้งงบประมาณในปี 2562 ราว 2,000 ล้านบาท โดยในกลุ่มจังหวัดมีพื้นที่รวมประมาณ 20 ล้านไร่ เป็นพื้นที่ทางการเกษตร 13 ล้านไร่ ซึ่งอยู่ในพื้นที่กรมชลประทาน 1.4 ล้านไร่ ถือว่าน้อยกว่าพื้นที่ทางการเกษตรมาก จึงได้เสนอพัฒนาแหล่งน้ำใน 40 โครงการ

ประกอบด้วย แก้มลิง 25 โครงการ อาคารบังคับน้ำ 8 โครงการ ฝาย 3 โครงการ สูบน้ำด้วยโซล่าเซลล์ 3 โครงการ และระบบส่งน้ำ/กระจายน้ำ 1 โครงการ ทั้งนี้ในส่วนของโครงการแก้มลิงนั้นพบว่ามี 8 โครงการที่อยู่ใน อ.วารินชำราบ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) จะต้องตรวจสอบว่ามีพื้นที่ทับซ้อนและอยู่ในพื้นที่สาธารณะที่มีการบุกรุกหรือไม่ นอกจากนี้จะขอให้ศึกษาความเหมาะสมของโครงการ 5 โครงการ ได้แก่ โครงการศึกษาความเหมาะสมทางผันน้ำฝั่งขวาลำน้ำมูลเพื่อบรรเทาอุทกภัย จังหวัดอุบลราชธานี

san24-7

โครงการศึกษาความเหมาะสมการบรรเทาอุทกภัยลำน้ำยังและลำน้ำชีตอนล่าง (พื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด และยโสธร) โครงการศึกษาความเหมาะสมการบรรเทาอุทกภัยและเพิ่มพื้นที่ชลประทานลำเซบาย โครงการศึกษาความเหมาะสมการบรรเทาอุทกภัย และเพิ่มพื้นที่ชลประทานลำเซบก และโครงการศึกษาความเหมาะสมการก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมชุมชนเมืองยโสธร

พล.ท.สรรเสริญ กล่าวต่อว่า ด้านการยกระดับด้านการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (จีเอพี) และเกษตรอินทรีย์ ซึ่งมีพื้นที่รองรับแสนกว่าไร่ มีกลุ่มเกษตรกร 55 กลุ่ม 5 หมื่นกว่าคน ตั้งเป้าผลิตข้าวหอมมะลิจาก 179,000 กว่าไร่ ให้เป็น 1 ล้านไร่ ภายในปี 2564 แต่ปัญหาคือการแปรรูปสินค้าที่ขาดนวัตกรรม จึงขอสนับสนุน ใน 3 โครงการ คือ โครงการก่อสร้างโรงงานต้นแบบ (Pilot Plant) ด้านการแปรรูปสินค้าเกษตร ได้แก่ เนื้อสัตว์ เครื่องดื่ม เครื่องสำอาง ,โครงการยกระดับกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 ให้เป็นกลุ่มคลัสเตอร์ต้นแบบด้านเกษตรอินทรีย์ และขอให้สนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพครบวงจร

ด้านคุณภาพชีวิต เนื่องจากกลุ่มอีสานตอนล่างมีประชากร 4.2 ล้านคน มีโรงพยาบาลไม่เพียงพอ จึงขออนุมัติเพิ่มเติมใน 3 โครงการ คือ โครงการเพิ่มศักยภาพการให้บริการของโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาล 1,800 เตียง สามารถรับผู้ป่วยได้มากขึ้น โดยขอแยกไปตั้งโรงพยาบาลส่วนย่อยในพื้นที่ของมณฑลทหารบกที่ 22 ในพื้นที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ประมาณ 200 ไร่ มีระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี สำหรับผู้ป่วยอาการไม่หนักหรือต้องผ่าตัดใหญ่ ซึ่งรัฐบาลก็ตอบรับ ,การศูนย์การแพทย์แผนไทย-พนา เป็นศูนย์การแพทย์ครบวงจร ในตัวเมือง เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้มากขึ้น และการสนับสนุนครุภัณฑ์ในการพัฒนาศักยภาพโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม โดยจัดบริการห้องผ่าตัดสำหรับแพทย์เฉพาะทางหู คอ จมูก ตา ระบบทางเดินปัสสาวะและศัลยกรรมทั่วไป

โปรโมทแทรกอีบุ๊ก-6

พล.ท.สรรเสริญ กล่าวอีกว่า ด้านการท่องเที่ยว ยังขาดแคลนบุคลากร การปรับปรุงเส้นทางการเดินทาง และการประชาสัมพันธ์ โดยกระทรวงการท่องเที่ยวได้กำหนดการพัฒนาการท่องเที่ยวเป็นรายจังหวัด และขอสนับสนุนโครงการพัฒนาเส้นทางคมนาคม เส้นทางท่องเที่ยวและเชื่อมโยงการค้าชายแดน ทางหลวงหมายเลข 217 วารินชำราบ-ช่องเม็ก โดยขอทำเป็นเกาะกลางถนนตลอดสาย ,โครงการเพิ่มศักยภาพการเดินทางบนทางหลวงสายหลัก เขาพระวิหาร ทางหลวงหมายเลข 221 ตอนศรีสะเกษ-ภูเงิน-กันทรลักษณ์-เขาพระวิหาร ระยะทาง 50 กิโลเมตร

โดยขยายเป็น 4 ช่องจราจรตลอดสาย ,การพัฒนาเส้นทางคมนาคมเพื่อการท่องเที่ยวริมแม่น้ำโขงและการค้าชายแดนเส้นทาง 2112+2222 เขมราฐ-โขงเจียม-พิบูลมังสาหาร โดยขยายความกว้างของถนนและไหล่ทางเส้นทางจราจรตลอดสาย ,การขอรับสนับสนุนกลไกการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวชายแดนช่องเม็กให้เป็นเมืองศูนย์การค้าชายแดน ,การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยววิมานพญาแถน จ.ยโสธร โดยย้ายเรือนจำเพื่อปรับสภาพภูมิทัศน์ และการศึกษาและออกแบบอ่างเก็บน้ำพุทธอุทยาน จังหวัดอำนาจเจริญ

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว