ข้าพระบาททาสประชาชน : GPSC ซื้อ GLOW ใครได้ใครเสีย?ผูกขาดหรือแข่งขัน(จบ)

21 ก.ค. 2561 | 16:28 น.
2636+6+ 1532190722590 เขียนได้เขียนเรื่องนี้มา 2 ตอน ต้องขอขอบคุณท่านผู้อ่านที่ได้ให้ความสนใจเข้ามาอ่านและแชร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจาก “ผู้บริหาร ปตท.” ที่ได้กรุณาให้ความสนใจในเรื่องนี้ด้วย วันนี้เป็นตอนจบของบทความครับ จึงขอเรียนยํ้าอีกครั้งว่า ผู้เขียนมิได้มีอคติหรือมีทัศนคติในทางลบ หรือ เป็นพวกต่อต้าน ปตท.แต่อย่างใด ผู้เขียนมีความชื่นชมและภูมิใจที่บริษัทมหาชนของคนไทยอย่าง ปตท.ประสบผลสำเร็จเป็นบริษัทชั้นนำของโลก เป็นผู้นำของบริษัทด้านพลังงานเพื่อความมั่นคง และเป็นรัฐวิสาหกิจที่มีผลประกอบการดีที่สุดของประเทศ และไม่ลืมที่ตนได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในสมาชิกของสถาบันวิทยาการพลังงาน อันเป็นสถาบันที่ทรงเกียรติและเป็นแหล่งความรู้ด้านพลังงานชั้นนำของประเทศ

การเขียน การเสนอความคิดเห็นและมุมมองต่อเรื่องนี้ ตั้งอยู่บนหลักการในทางวิชาการ หลักกฎหมาย ตามพื้นฐานของข้อเท็จจริง และรวบรวมเอาคำถาม ข้อสงสัยที่ผู้ประกอบการธุรกิจ นักลงทุนและประชาชนโดยทั่วไป มีต่อการดำเนินการของ ปตท.เพื่อสะท้อนมุมมองให้ท่านผู้บริหาร ปตท. ผู้ถือหุ้น ผู้เกี่ยวข้องทั้งหลาย ได้คิดและศึกษาร่วมกัน มีความเข้าใจต่อปัญหาและมีความระมัดระวังต่อความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น พร้อมหาทางแก้ไขป้องกัน ทั้งหมดจึงตั้งอยู่บนความปรารถนาดีและด้วยความห่วงใยต่อกิจการ ปตท.ซึ่งเป็นกิจการของรัฐ ประชาชนไทยเป็นเจ้าของด้วยกันทุกคน หาก ปตท.เห็นว่าข้อเขียนเรื่องนี้มีความคลาดเคลื่อนใดๆ ต่อความเป็นจริง ผู้เขียนก็ยินดีรับฟังและแก้ไข โดยพร้อมรับข้อเขียนและคำชี้แจงจาก ปตท.หรือผู้เกี่ยวข้องมาเผยแพร่ให้ด้วยความเป็นธรรม จึงเรียนมาเพื่อทราบ
TP6-3380-A-1 นอกจากประเด็นที่อาจเป็นปัญหาดังที่ผู้เขียนได้ตั้งคำถาม และนำเสนอในบทความทั้ง 2 ตอนมาแล้วนั้น ยังมีข้อสงสัยและมีคำถามที่สำคัญยิ่งอีกคำถามหนึ่ง ที่คนส่วนใหญ่สงสัยมากว่าดีลนี้ กรณี GPSC ซื้อ GLOW ใครได้ใครเสีย ผูกขาดหรือแข่งขัน เพราะการซื้อหุ้น GLOW 69.11% จาก Engie Global Development B.V (Engie) ที่ราคา 96.50 บาท/หุ้น มูลค่ารวมประมาณ 97,560 ล้านบาท รวมทั้งมีแผนซื้อหุ้น GLOW ที่เหลืออีก 30.89% ซึ่งต้องใช้เงินซื้อกิจการครั้งนี้รวมสูงถึง 141,166 ล้านบาท

แน่นอนที่สุดเงินจำนวนมากที่นำมาซื้อกิจการครั้งนี้ คงไม่ใช่เงินส่วนตัวของใคร แต่เป็นเงินของกลุ่มธุรกิจ ปตท.ที่มีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ซึ่งก็คือเงินของประชาชนและมหาชนผู้ถือหุ้นนั่นเอง หากผิดพลาดเสียหายก็เป็นภาระหนี้ที่ ปตท.ต้องรับผิดชอบ เช่นเดียวกับการลงทุนที่มีความเสี่ยงและเสียหายในกรณีอื่นๆ ของปตท. จึงเป็นกรณีที่ประชาชนผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้เสียทั้งหลาย ย่อมมีสิทธิ์ที่จะตั้งคำถาม มีข้อสงสัยหรือวิพากษ์วิจารณ์ติชมได้ ผู้บริหารที่ดีควรรับฟังเสียงค้าน เสียงวิจารณ์ จากปิยะมิตร มากกว่าจะรับฟังแต่เพียงเสียงสรรเสริญเยินยอ หากการตัดสินใจมีเหตุผลโดยชอบย่อมต้องชี้แจงได้

[caption id="attachment_299785" align="aligncenter" width="351"] เติมชัย บุนนาค เติมชัย บุนนาค[/caption]

1. GLOW เป็นผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ของประเทศ แต่ก็อยู่ในช่วงขาลง เพราะโรงไฟฟ้าส่วนใหญ่เก่าและกำลังจะหมดอายุ GPSC ซื้อ GLOW ที่ราคา 96.50 บาท/หุ้น ขณะที่ราคาในตลาดหลักทรัพย์ฯอยู่ที่ 83 บาท มีส่วนต่างอยู่ถึง 13 บาท หากคำนวณส่วนต่างจากราคาซื้อดังกล่าวกับหุ้น 69.11% Engie ซึ่งเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ข้ามชาติจะได้กำไรเกือบ 14,000 ล้านบาท ทั้งที่ราคา GLOW น่าจะลดลง ตามโรงไฟฟ้าที่ใกล้จะหมดอายุในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า โดยจะลดลง 2,872 เมกะวัตต์ ในปี 2560 เหลือเพียง 541 เมกะวัตต์ ในปี 2579

2. การต่ออายุสัญญา SPP ที่หมดอายุ อาจมีข้อสงสัยว่าเอื้อประโยชน์ให้ ปตท.หรือไม่? เพราะราคาหุ้นที่ซื้อไม่สมเหตุสมผล การที่ภาครัฐกำลังพิจารณาการต่ออายุสัญญา SPP พวกที่จะหมดอายุช่วงปี 2560-2568 ซึ่งเป็นของ GLOW 7 โรง อาจมองได้ว่าเป็นแรงจูงใจ เพราะหากไม่เชื่อว่าจะได้ต่ออายุ คงไม่ซื้อหุ้น GLOW ในราคาสูง ซึ่งหากมีการต่ออายุเช่นนั้นจริง ผู้ที่ได้ประโยชน์ในเรื่องนี้ก็มีเพียงกลุ่มเดียว ที่สามารถใช้ประโยชน์จากโรงไฟฟ้าเก่าที่คืนทุนไปแล้วมาทำกำไรเพิ่มเติมต่อไปอีก แต่มีผลทำให้ประชาชนต้องรับภาระจากค่าไฟที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นเครื่องเก่า ประสิทธิภาพตํ่า สิ้นเปลืองเชื้อเพลิง ทำให้ต้นทุนการจัดหาไฟฟ้าเพิ่มขึ้น จึงเป็นประเด็นที่ต้องจับตามองว่า การต่ออายุ SPP ที่หมดอายุ เป็นไปเพื่อประโยชน์ใคร
20131115114857 3. การทำธุรกิจไฟฟ้าของกลุ่ม ปตท.ย่อมกระทบต่อการดำเนินงานของ กฟผ.อย่างมีนัยสำคัญ เพราะเป็นธุรกิจที่ทับซ้อนกับบทบาทหน้าที่ของ กฟผ.ตามข้อมูล กฟผ. ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2561 ประเทศไทยมีกำลังการผลิตติดตั้งรวม 42,554.15 เมกะวัตต์ เป็นของ กฟผ.15,763.83 เมกะวัตต์ คิดเป็น 37% ของกำลังผลิตรวม GPSC หลังซื้อ GLOW จะมีกำลังผลิต 4,835 เมกะวัตต์ คิดเป็น12% ของกำลังผลิตรวมของประเทศหรือ 30% ของ กฟผ. ส่วนอนาคตหาก ปตท.เข้ามาแข่งขันในธุรกิจไฟฟ้าแล้วจะเป็นอย่างไร จึงน่าติดตาม แต่อย่างไรในประเด็นนี้ก็ยังถือว่าเป็นรัฐวิสาหกิจด้วยกัน คงต้องแยกบทบาทกันเอง

4. นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ยังมีอีกธุรกิจหนึ่งที่อาจได้รับผลกระทบจากกรณีนี้คือ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี เพราะลูกค้าไฟฟ้าและไอนํ้าของ GLOW นอกจากกลุ่ม ปตท.แล้วยังมีอุตสาหกรรมปิโตรเคมีรายอื่นๆ อีก เมื่อ ปตท.โดย GPSC กลายมาเป็นผู้ให้บริการหลักด้านไฟฟ้าและไอนํ้าสำหรับลูกค้าอุตสาห กรรมปิโตรเคมีในเขตนิคมอุตสาห กรรมมาบตาพุดและพื้นที่ใกล้เคียงคู่แข่งของกลุ่ม ปตท. อย่าง ดาว เคมิคอล (Dow Chemical) คงต้องคิดหนัก

อย่างไรก็ดี ในการควบรวมหรือเข้าซื้อกิจการครั้งนี้ ถือเป็นธุรกรรมที่ต้องขออนุญาตจากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ตามมาตรา 60 ของ พ.ร.บ.การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2560 และระเบียบ กกพ. ว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อมิให้มีการรวมกิจการอันก่อให้เกิดการผูกขาด ลดการแข่งขัน หรือจำกัดการแข่งขันในการให้บริการพลังงาน จึงเป็นหน้าที่ของ กกพ.ที่จะต้องพิจารณาใช้ดุลยพินิจของตนในการใช้อำนาจตามกฎหมายและระเบียบ ว่าจะอนุญาตให้ GPSC เข้าซื้อหุ้น GLOW หรือไม่

ทั้งหมดเป็นความรับผิดชอบตามหน้าที่และกฎหมาย ทุกฝ่ายย่อมได้รับผลจากการกระทำนั้น ผู้เขียนเคารพการตัดสินใจ บอกได้เพียงว่า “การตัดสินใจมีความเสี่ยง ควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจ” ครับ

|คอลัมน์ : ข้าพระบาททาสประชาชน
|โดย : ประพันธุ์ คูณมี
|หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ หน้า 6 ฉบับ 3384 ระหว่างวันที่ 19-21 ก.ค.2561
e-book-1-503x62 อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง....


[caption id="attachment_299781" align="aligncenter" width="503"] ข้าพระบาท ทาสประชาชน : GPSC ซื้อ GLOW ใครได้ใครเสีย? ผูกขาดหรือแข่งขัน (1) ข้าพระบาท ทาสประชาชน : GPSC ซื้อ GLOW ใครได้ใครเสีย? ผูกขาดหรือแข่งขัน (1)[/caption]

[caption id="attachment_299782" align="aligncenter" width="503"] ข้าพระบาท ทาสประชาชน : GPSC ซื้อ GLOW ใครได้ใครเสีย?ผูกขาดหรือแข่งขัน (2) ข้าพระบาท ทาสประชาชน : GPSC ซื้อ GLOW ใครได้ใครเสีย?ผูกขาดหรือแข่งขัน (2)[/caption]