รีดรายได้ "2 บิ๊กพลังงาน" 6.3 หมื่นล้าน ปี 62

19 ก.ค. 2561 | 11:08 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

190761-1754

รัฐบาลตั้งเป้า 2 ยักษ์รัฐวิสาหกิจด้านพลังงาน ส่งเงินเข้ารัฐปีงบประมาณ 2562 กว่า 6.3 หมื่นล้านบาท ประเมินปีหน้า กฟผ. เดินหน้าลงทุนเพิ่ม กดกำไรลดเฉียด 2 หมื่นล้านบาท

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) นับเป็น 2 รัฐวิสาหกิจอันดับต้น ๆ ที่นำส่งรายได้ให้รัฐมากที่สุด โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2561 (ต.ค. 60 ถึง มิ.ย. 61) กฟผ. และ ปตท. นำส่งรายได้ให้รัฐรวมกันกว่า 38,302.68 ล้านบาท แบ่งเป็นการนำส่งรายได้ของ กฟผ. จำนวน 20,784.05 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.92% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และ ปตท. อีกจำนวน 17,518.63 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.41% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน


180px-การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ปตท.



แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ"
 ว่า ในปีงบประมาณ 2562 รัฐบาลกำหนดให้ กฟผ. และ ปตท. นำส่งรายได้ให้รัฐรวมกัน 63,298.036 ล้านบาท ประกอบด้วยการนำส่งรายได้เข้ารัฐของ กฟผ. จำนวน 25,341 ล้านบาท หรือ 45% ของกำไรสุทธิตามสัดส่วนกระทรวงการคลังถือหุ้น ส่วน ปตท. กำหนดให้นำส่งรายได้ให้รัฐ จำนวน 37,957.036 ล้านบาท หรือ 35% ของกำไรสุทธิตามสัดส่วนที่กระทรวงการคลังถือหุ้น

กระทรวงการคลังประเมินว่า ในปี 2561 ผลการดำเนินงานของ กฟผ. จะมีกำไรลดลงจาก 54,957.75 ล้านบาท ในปี 2560 เหลือ 32,290.82 ล้านบาท ในปี 2561 เนื่องจากมีรายจ่ายด้านการลงทุนเพิ่มขึ้น โดยคาดว่ารายได้เพิ่มจาก 514,675.59 ล้านบาท ในปี 2560 เป็น 541,406 ล้านบาท ในปี 2561 ขณะที่ รายจ่ายรวมเพิ่มจาก 459,717.84 ล้านบาท ในปี 2560 เป็น 509,115.21 ล้านบาท

 

[caption id="attachment_299202" align="aligncenter" width="503"] ©www.egat.co.th ©www.egat.co.th[/caption]

ส่วน ปตท. ผลประกอบการไตรมาส 1 ปี 2561 มีกำไรสุทธิ 39,788 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4,424 ล้านบาท หรือ 12.5% จากไตรมาส 4 ปี 2560 ที่มีกำไรสุทธิ 35,364 ล้านบาท แต่ลดลง 6,380 ล้านบาท หรือ 13.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่นที่ปรับลดลง ซึ่งเป็นผลจากค่าการกลั่นทางบัญชี ปรับลดจากกำไรสต๊อกน้ำมันที่ลดลงอย่างมาก และต้นทุนน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้นตาม Crude Premium ที่สูงขึ้น

ขณะที่ ธุรกิจปิโตรเคมีสายอะโรเมติกส์ ก็มีผลการดำเนินงานลดลงตามส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์พลอยได้ที่ปรับตัวลดลง แม้ว่าธุรกิจสำรวจและปิโตรเลียมจะมีผลการดำเนินงานที่สูงขึ้นจากไตรมาสก่อนจากค่าใช้จ่ายที่ลดลงและผลการดำเนินงานของธุรกิจน้ำมันที่ดีขึ้นจากกำไรขั้นต้นของน้ำมันดีเซลและน้ำมันอากาศยาน

 

[caption id="attachment_299203" align="aligncenter" width="304"] ©investor-th.pttgcgroup.com ©investor-th.pttgcgroup.com[/caption]

นอกจากนี้ ยังมาจากการรับรู้ขาดทุนจากการด้อยค่าสินทรัพย์ของ บริษัท ปตท. โกลบอล แมนเนจเม้นท์ จำกัด (PTTGM) และบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (PTTGC) ในไตรมาส 4/2560

อย่างไรก็ตาม ในไตรมาส 1 ที่ผ่านมา กลุ่ม ปตท. มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้นจากการรับ-จ่ายเงินสกุลต่างประเทศ ตามค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ และมีกำไรจากการป้องกันความเสี่ยงของตราสารอนุพันธ์เพิ่มขึ้น


……………….
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,383 วันที่ 15-18 ก.ค. 2561 หน้า 01-02

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
ก.พลังงานจับมือ IEA วางแผนทิศทางไฟฟ้าของไทย
บิ๊กพลังงานตั้งเป้าเติบโต! โกยกำไรอื้อ


e-book-1-503x62