ผวา! โกงรูดปรื๊ดค้าออนไลน์โลกพุ่ง

18 ก.ค. 2561 | 12:09 น.
180761-1852

'เคทีซี' เผย ตัวเลขใช้บัตรเครดิตทุจริต อี-คอมเมิร์ซ ทั่วโลกโต 9% เช่นเดียวกับไทย เหตุคนนิยมซื้อของออนไลน์ ... แบงก์ชาติ ยัน! ธนาคารมีระบบป้องกัน แนะลูกค้ารักษาข้อมูลส่วนตัว-เช็กรายการแจ้งเตือนต้องสงสัย

นายวิรัช ไพสิฐเศวต รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส ปฏิบัติการ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ เคทีซี เปิดเผยว่า จากแนวโน้มการซื้อสินค้าผ่านออนไลน์ที่มีทิศทางเติบโตเพิ่มขึ้น พบว่า การทุจริตทั่วโลกของธุรกิจ อี-คอมเมิร์ซ ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 9% ขณะที่ ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก มีอัตราการทุจริตเติบโต 2%


e-commerce-concept_23-2147513189

หากดูภาพรวมจำนวนรายการที่มีการทุจริต 100 รายการ จะพบว่า เป็นรายการทุจริตที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ อี-คอมเมิร์ซ สูงถึง 70-80% ที่เหลือจะเป็นการทุจริตในประเภทอื่น ๆ ซึ่งในจำนวนดังกล่าวจะเป็นกรณีที่ลูกค้าปฏิเสธการใช้ประมาณ 30-40% ดังนั้น มองว่าแนวโน้มการทุจริตมีโอกาสเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในหมวดภาคบริการ การซื้อสินค้า และดิจิตอลที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตามอัตราการเติบโตของธุรกิจ อี-คอมเมิร์ซ และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เน้นซื้อสินค้าออนไลน์

นายสมชัย เบญจมโภไคย ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร อนุมัติสินเชื่อ บมจ.บัตรกรุงไทย กล่าวว่า ความเสี่ยงที่เกิดจากธุรกิจบัตรเครดิต มีทั้งในส่วนของออนไลน์และออฟไลน์ ทำให้สถาบันการเงินจะต้องมีการบริหารจัดการความเสี่ยง ทั้งในส่วนของการรับลูกค้ารายใหม่และลูกค้ารายเก่า ที่ใช้จ่ายผ่านบัตรทั้งออนไลน์และออฟไลน์ แต่ปัจจุบันจะเห็นว่า บัตรเครดิตมีการเปลี่ยนเป็นบัตรชิปการ์ดแทนแถบแม่เหล็ก ทำให้การทุจริตเริ่มกลับมาสู่รูปแบบเดิมที่เป็นพื้นฐาน


credit-card-1520400_960_720-768x512

การทุจริตที่พบมี 2 ประเภท คือ 1.ลูกค้า ตกแต่งเอกสารเงินเดือน เช่น มีเงินเดือน 12,500 บาทต่อเดือน แต่ตกแต่งเพิ่มเป็น 15,000 บาทต่อเดือน และ 2.การสวมตัวตนเป็นบุคคลอื่น โดยใช้เอกสารคนอื่นมาสวมสิทธิ์

จากการตรวจสอบพบว่า การทุจริตโดยการปลอมแปลงเอกสารรายได้ มีสัดส่วนสูงกว่าการสวมตัวตนเป็นบุคคลอื่น เนื่องจากการปลอมแปลงเอกสารรายได้ทำได้ค่อนข้างง่าย อย่างไรก็ดี การทุจริตใน 2 ลักษณะ จะยังไม่เกิดความเสียหายทันที แต่เกิดหลังจากนั้นไปประมาณ 1-2 ปี เพราะจะเกิดความเสียหายเมื่อลูกค้ารายนั้นไม่สามารถชำระหนี้ได้ หรือ เกิดการฟ้องร้องเป็นคดี

 

[caption id="attachment_298995" align="aligncenter" width="503"] ฐากร ปิยะพันธ์ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านกรุงศรี คอนซูมเมอร์ และผู้บริหารสายงานดิจิตอลแบงกิ้งและนวัตกรรม ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ฐากร ปิยะพันธ์
ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านกรุงศรี คอนซูมเมอร์ และผู้บริหารสายงานดิจิตอลแบงกิ้งและนวัตกรรม ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)[/caption]

นายฐากร ปิยะพันธ์ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านกรุงศรี คอนซูมเมอร์ และผู้บริหารสายงานดิจิตอลแบงกิ้งและนวัตกรรม ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า แนวโน้มการทุจริตในธุรกิจบัตรเครดิตมี 2 ประเภท คือ ทุจริตผ่านการทำรายการ ซึ่งในส่วนนี้จะเห็นการทุจริตบ้างในส่วนของการซื้อสินค้าผ่านออนไลน์ หรือ เข้าเว็บไซต์ออนไลน์ที่ไม่ได้มีระบบความปลอดภัยที่ดี

นอกจากนี้ ในช่วงที่ผ่านมา เมื่อลูกค้านำไปใช้บางประเทศที่ยังไม่รองรับบัตรเครดิตชิปการ์ด แต่ยังเป็นแถบแม่เหล็ก ทำให้ต้องใช้บัตรเครดิตรูดซื้อสินค้าอาจจะถูกเก็บข้อมูลในบัตรได้ แต่ปัจจุบันส่วนใหญ่เริ่มเปลี่ยนเป็นบัตรชิปการ์ดแล้ว โดยภาพรวมอัตราการทุจริตผ่านการทำรายการของกรุงศรีฯ จะอยู่ที่ประมาณ 0.0017% ของยอดการใช้จ่ายผ่านบัตร ซึ่งต่ำกว่าในตลาดที่อัตราการทุจริตอยู่ที่ 0.003%


wallet-908569_960_720-768x512

ส่วนการทุจริตอีกประเภท คือ การทุจริตผ่านใบสมัคร ซึ่งมีแนวโน้มลดลง เป็นผลมาจากกลยุทธ์การหาลูกค้าใหม่ที่มุ่งเน้นการใช้สาขาของธนาคารพันธมิตร และผ่านระบบออนไลน์ ทำให้อัตราการทุจริตผ่านใบสมัครลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยปัจจุบันอัตราการทุจริตใบสมัครอยู่ที่ 8,000-9,000 ราย จากใบสมัคร 2 ล้านใบ ซึ่งลดลงประมาณ 5-8% จากปีก่อน อย่างไรก็ดี อาจจะมีบ้างที่แยกไม่ออกว่ามีการดัดแปลง หรือ ปลอมแปลงแก้ไข แต่ถือว่าน้อยมาก

นางวีระอนงค์ จิระนคร ภู่ตระกูล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบุคคล ธนกิจ ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย กล่าวว่า ธนาคารให้ความสำคัญและมีมาตรการดูแลค่อนข้างมากเป็นพิเศษในการรักษาความปลอดภัยในการใช้บัตรเครดิตทำธุรกรรมผ่านระบบออนไลน์อินเตอร์เน็ต หรือ การซื้อสินค้าบน อี-คอมเมิร์ซ โดยธนาคารพยายามโปรโมตให้ลูกค้าใช้ OTP Pin หรือ One Time Password ที่จะช่วยลูกค้าป้องกันได้ค่อนข้างมาก

 

[caption id="attachment_299002" align="aligncenter" width="503"] ©ProSmile ©ProSmile[/caption]

เนื่องจากบางเว็บไซต์ที่ไม่มีการยืนยันผ่านรหัส OTP อาจจะเกิดการทุจริตได้ง่ายกว่าเว็บไซต์ที่ให้กรอกรหัส OTP และในบางกรณีอาจจะไม่ได้ทุจริตเพียงแค่รายการที่ทำอยู่แค่นั้น แต่อาจนำไปใช้ทำธุรกรรมอื่น ๆ อีก

นางนิศารัตน์ ไตรรัตน์วรกุล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายระบบการชำระเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ตอนนี้สถาบันการเงินทุกแห่งมีระบบป้องกันการทุจริตที่เกิดขึ้นจากการใช้บัตรเครดิตค่อนข้างมีประสิทธิภาพและรัดกุม โดยเฉพาะการทำธุรกรรมซื้อสินค้าออนไลน์ที่ขยายการเติบโตรวดเร็ว อย่างไรก็ดี ผู้บริโภคควรให้ความสำคัญและป้องกันตัวเองด้วย โดยการใช้ระบบแจ้งเตือนเมื่อมีธุรกรรมเกิดขึ้น หากพบว่ามีธุรกรรมต้องสงสัยควรรีบแจ้งไปยังธนาคารผู้ออกบัตร เพื่อทำการอายัดบัตร ป้องกันการนำบัตรไปใช้ และป้องกันข้อมูลส่วนตัว เลขที่บัตร รหัสซื้อสินค้าออนไลน์หลังบัตร ซึ่งเป็นการช่วยลดความเสี่ยงทั้งธนาคารและลูกค้าผู้ใช้บัตร


……………….
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,383 วันที่ 15-18 ก.ค. 2561 หน้า 01-02

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
ห้ามพลาด! ‘พาณิชย์’ บุกหาดใหญ่  จัดงาน E-Commerce Big Bang  “เปิดประตูธุรกิจพิชิตค้าออนไลน์”
ช็อก! ค้าออนไลน์โลก สหรัฐฯ เปิดทางเก็บภาษีได้


ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว