เทคสตาร์ตอัพคึกคัก แต่ไทยยังห่างไกล ไม่ติด1 ใน 20 ระบบนิเวศโลก

21 ก.ค. 2561 | 03:28 น.
ธนาคารแห่งประเทศ ไทย (ธปท.) ได้ศึกษาวิจัยระบบนิเวศของสตาร์ตอัพ ด้านเทคโนโลยีหรือเทคสตาร์ตอัพของไทย ในเรื่องความพร้อม และประเทศจะได้ประโยชน์เพียงใดจากพื้นฐานที่มีอยู่เนื่องจากสตาร์ตอัพ เหล่านี้ เป็นหนึ่งในภาพตัวอย่างของเศรษฐกิจในอนาคต ซึ่งเทคโนโลยีดิจิตอลจะมีบทบาทสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ หากประเทศไม่พร้อมต่อกระแสธุรกิจใหม่ เศรษฐกิจไทยอาจตกขบวนเศรษฐกิจยุคใหม่และเสียโอกาสความก้าวหน้าในอนาคตได้

[caption id="attachment_298890" align="aligncenter" width="503"] จิรัฐ2-(2) จิรัฐ เจนพึ่งพร[/caption]

“จิรัฐ เจนพึ่งพร” เศรษฐกรอาวุโส ทีมวิเคราะห์โครงสร้างเศรษฐกิจ ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธปท. เปิดเผยว่า เทคสตาร์ตอัพคึกคักและได้รับความสนใจอย่างมากช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา และพบว่า เทคสตาร์ตอัพที่เข้ามาในแต่ละปี จะเป็นสตาร์ตอัพหน้าใหม่ ทำให้เกิดการแข่งขันที่สูงและรุนแรง จนนำไปสู่เทคโนโลยีที่ล้าสมัย รวดเร็ว เพราะรายใหม่สามารถทำตามรายเก่าและเพิ่มเทคโนโลยีใหม่เข้าไป (Copy & Top up) ซึ่งเป็นความเสี่ยงและเป็นความท้าทายของสตาร์ตอัพไทยและส่งผลต่อการปิดกิจการที่เยอะขึ้น

หากดูตัวเลขจากกระทรวงดิจิทัลฯ และTechsauce พบว่า บริษัทเทคสตาร์ตอัพฯเริ่มแรกในปี 2559 มี 1,000-1,500 บริษัท แต่ทยอยล้มเลิกกิจการไป เพราะธุรกิจมีความเสี่ยงสูง โอกาสล้มเลิกกิจการสูงถึง 90% จึงคาดว่า เทคสตาร์ตอัพที่ก่อตั้งในปี 2559 ประมาณ 500 บริษัท จะเหลือเพียง 50 บริษัท จากสตาร์ตอัพที่เข้ามาใหม่ในแต่ละปีเฉลี่ยอยู่ที่หลักร้อยบริษัท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทขนาดเล็ก 1-2 ล้านบาท แต่มีรายได้ราว 10 ล้านบาท โดยจะอยู่ในกลุ่มฟินเทค และอี-คอมเมิร์ซเป็นส่วนใหญ่ รองลงมาเป็น โฮมเทค อะกริเทค และโลจิสติกส์เทค

อย่างไรก็ตาม เทคสตาร์ตอัพที่ล้มเลิกกิจการจะเป็นไปตามวงจรสินค้าทั่วไปที่มีอายุ 5-7 ปี หากบริษัทไม่มีผลิตภัณฑ์ใหม่แล้ว ก็จะทยอยล้มหายออกไปจากตลาด ซึ่งในจำนวนกิจการที่ล้มเลิกไป 90% นั้นอาจต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 ปี และภายใน 5 ปีบริษัทที่จะอยู่รอดได้จะเหลือเพียง 1% และล้มเลิกกิจการไป 99%

และหากพิจารณาด้านสมรรถนะพบว่า เทคสตาร์ตอัพของไทยมีประมาณ 1,000 ราย น้อยกว่าค่าเฉลี่ยโลกที่มี 1,800 ราย ขณะที่เทคสตาร์ตอัพชั้นนำของไทย โดยเฉพาะกลุ่มที่ขายได้หรือโดนควบรวมกิจการ มูลค่ายังตํ่ากว่าเทคสตาร์ต อัพชั้นนำของโลกอยู่มาก โดยมูลค่าเฉลี่ยของบริษัทไทยที่เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ ขาย หรือควบรวมกิจการ (Exited Company)ได้อยู่ที่ 16.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และบริษัทที่ขายได้หรือโดนควบรวมกิจการตั้งแต่ปี 2556 อยู่ที่ 3-4 บริษัทต่อปี ยังกระจุกตัวในวงแคบน้อยกว่า 2% ของเทคสตาร์ตอัพ

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว

และอีก 20 ปีข้างหน้า หรือปี 2580 ศักยภาพของเทคสตาร์ตอัพจะมีส่วนช่วยเศรษฐกิจไทย ทั้งทางตรงและทางอ้อมที่ 1.5% ของจีดีพี หรือ 1.63 แสนล้านบาท เทียบกับอุตสาห- กรรมสุขภาพ (Health Care) ที่มีมูลค่า 2% หรือเทียบกับสิงคโปร์มีมูลค่า 2% สูงกว่าไทย 4 เท่า และออสเตรเลีย 4%แต่มูลค่าที่ไทยผลิตได้เพียง 10%ของความต้องการบนโลกอินเตอร์เน็ตในปี 2568 เท่านั้น เพราะมูลค่าผลผลิตที่ต้องใช้การลงทุนที่ 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ไทยอยู่ที่ 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

“หากดูข้อมูลเชิงคุณภาพทั่วโลกที่มี 50 ระบบนิเวศ ไทยยังไม่ติด 1 ใน 20 ข้อจำกัดอย่างมากคือ ไม่พร้อมด้านแรงงาน บุคลากรมีจำกัด ทำให้ไทยยังไม่มี Unicorn หรือบริษัทที่มีมูลค่าสูงกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับเพื่อนบ้านมี Unicorn รวมกัน 8 บริษัท จุดเด่นและเสริมสมรรถนะของไทยในอนาคต คือ การระดมทุน ซึ่งพร้อมมากกว่าด้านอื่นๆ เพราะนอกจากทุนจากต่างประเทศแล้ว ยังมาจากกองทุนร่วมทุน (Venture Capital: VC) และธุรกิจขนาดใหญ่ที่สนับสนุน ทำให้ไทยมีเงินทุนเกินกว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นผลดีสำหรับเทคสตาร์ตอัพ ที่มีศักยภาพในระยะต่อไป”

หน้า 23-24 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,384 วันที่ 19 - 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2561