หนุนคุ้มครอง ‘ขายฝากที่’ คุมดอกเบี้ย-สัญญามาตรฐาน

16 ก.ค. 2561 | 12:18 น.
 

เวทีรับฟังความเห็นของประชาชนและหน่วยงานของรัฐ ต่อร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองประชาชนในการทำสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรหรือที่อยู่อาศัย พ.ศ. ... หรือกฎหมายคุ้มครองขาย ฝาก ครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นการรับฟังความเห็นครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคมที่ผ่านมา ณ โรงแรมเดอะเบอร์เคลียร์ โฮเต็ล กรุงเทพ มหานคร ได้รับความสนใจจากประชาชนจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการออกกฎหมายคุ้มครองขายฝาก พร้อมเสนอแนะให้คุมดอกเบี้ยและให้รัฐหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยตํ่าให้ด้วย

CiHZjUdJ5HPNXJ92GP9RmAjiCndEBaKdi4 นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนและเร่งรัดการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล ระบุว่าปัญหาการสูญเสียที่ดินของประชาชนเกิดจากนายทุนอาศัยช่องโหว่ ของกฎหมายขายฝากเอาเปรียบประชาชนที่อ่านกฎหมายไม่รู้เรื่อง เมื่อมีการขายฝากที่ดินก็คิดดอกเบี้ยมหาโหดเหมือนปลิงสูบเลือด ทำให้ประชาชนสูญเสียที่ดินและที่อยู่อาศัย รัฐบาลจึงออกกฎหมายคุ้มครองประชาชนจากการขายฝากที่ดิน

“หลังมีการรับฟังความเห็นประชาชนแล้ว ภายใน 1-2 เดือนนี้ ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองประชาชน ในการทำสัญญาขายฝากที่ดินฯ จะเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยรัฐบาลจะผลักดันให้เป็นกฎหมายเร่งด่วนออกให้ทันในรัฐบาลนี้ และ ในอนาคตประชาชนจะมีธนาคาร ที่ดินซึ่งเป็นแหล่งเงินทุน”


[caption id="attachment_298409" align="aligncenter" width="503"] คำนูณ สิทธิสมาน คำนูณ สิทธิสมาน[/caption]

นายคำนูณ สิทธิสมาน กรรมการดำเนินการปฏิรูปกฎหมายในระยะเร่งด่วน กล่าวถึงเจตนารมณ์และสาระสำคัญของร่างกฎหมายฉบับนี้ว่า เป็นกฎหมายคุ้มครองประชาชน ใช้บังคับเฉพาะสัญญาขายฝากอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือที่อยู่อาศัยเท่านั้น, ให้การขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัยเป็นธุรกิจที่ต้องควบคุมสัญญาตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.), การทำสัญญาขายฝากให้กำหนดเวลาไถ่คืนขั้นตํ่าไม่เกิน 1 ปี แต่ให้เป็นสิทธิของลูกหนี้เมื่อมีเงินสามารถไถ่ถอนได้ก่อนระยะเวลา 1 ปี, ควบคุมอัตราค่าสินไถ่หรือดอกเบี้ยไม่เกิน 15 % ต่อปี, กรณีแสดงเจตนาไถ่ทรัพย์คืนให้มีการวางทรัพย์ได้ที่ทำการองค์ การบริหารส่วนตำบล ปัจจุบันมี 5,333 แห่ง จากเดิมต้องไปที่กรมที่ดินและวางทรัพย์ที่สำนักงานวางทรัพย์ ซึ่งอยู่ในศาล ยุ่งยากหลายขั้นตอน

[caption id="attachment_298410" align="aligncenter" width="503"] ว่าที่ ร.ต.สมพูนทรัพย์ กล้าวิกรณ์ ว่าที่ ร.ต.สมพูนทรัพย์ กล้าวิกรณ์[/caption]

ว่าที่ ร.ต.สมพูนทรัพย์ กล้าวิกรณ์ เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า เห็นด้วยกับร่างกฎหมายคุ้มครองประชาชนในการทำสัญญาขายฝาก และคิดว่ามีความเป็นไปได้ในการแก้กฎหมาย แต่อยากให้ออกกฎหมายกลางๆ อย่าให้ตึงหรือหย่อนกับฝ่ายนายทุนมากเกินไป รวมทั้งไม่ควรกำหนดเงื่อนไขเรื่องต่างๆ มากเกินไป เพราะจะทำให้คนซื้อเลี่ยงเป็นการขายขาดแทน เกษตรกรจะเดือดร้อนไม่มีที่สิ้นสุด เพราะเกษตรกรต้องการเงินด่วนก็ต้องยอมขาย ขาด ส่วนระยะเวลาการขายฝากถ้าจะบวกดอกเบี้ย ก็ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด เพราะเวลาไถ่คืนต้องทำตามสัญญาอยู่แล้ว เรื่องราคาถ้าจะให้ซื้อคืนในราคาที่ขายฝาก เพราะเดิมขายราคาตามท้องตลาดคนที่ขายฝากย่อมมีโอกาสซื้อคืนได้น้อย แค่ซื้อคืนเท่าวงเงินสัญญาเกษตรกรยังไม่มีปัญญามาไถ่คืน

[caption id="attachment_298413" align="aligncenter" width="503"] อัฏฐพร ถาวรกุล อัฏฐพร ถาวรกุล[/caption]

ขณะที่ นางสาวอัฏฐพร ถาวรกุล ประธานสภาปฏิรูปสิทธิลูกหนี้ และเลขาธิการมูลนิธิสุภา วงศ์เสนา เพื่อการปฏิรูปสิทธิลูกหนี้ ให้ความเห็นว่า หลักการของกฎหมายดี แต่ต้องรัดกุม เพียงแต่ประเด็นสัญญาที่จะให้ สคบ.มาทำสัญญามาตรฐาน ให้ออกเป็นสัญญากลางแล้วใช้ทั่วประเทศ ให้คนขายฝากไม่เสียเปรียบ ส่วนคนซื้อได้ดอกเบี้ยอยู่แล้ว รัฐก็ต้องคุมให้คนทำตามกฎหมายจริงๆ รัฐบาลควรจะมีธนาคารรับขายฝากให้ประชาชนจำนองดอกเบี้ยตํ่า ถ้ารัฐบาลรับทำเองก็ไม่ต้องออกกฎหมาย แต่เมื่อออกกฎหมายนี้ก็เท่ากับว่า ยอมให้เอกชนปล่อยเงินกู้ ทำให้เกิดการฟอกเงิน ส่วนที่รัฐบาลจะออกกฎหมายให้มีธนาคารที่ดินเป็นแหล่งเงินกู้นั้น เห็นด้วย แต่รายละเอียดต้องบอกให้ชัดว่ารัฐบาลไม่มีสิทธิเอาที่ดินของผู้ขาย ฝากไปขายต่อหรือขายทอดตลาด

“ประเด็นที่ให้มีคนตรวจสอบจากภาครัฐนั้น ความจริงแล้ว คนที่ร้อนเงินเขาจะไม่รอเพราะใช้เวลาหลายวัน ก็จะออกนอกระบบแทน คนที่ทำขายฝากควรขึ้นทะเบียนแล้วแจกให้ประชาชนเพื่อให้รับรู้ว่าคนนี้เป็นนายทุน ซึ่งรัฐต้องสามารถตรวจสอบเงินเข้า-ออกได้ด้วย จึงจะช่วยประชาชนได้”

นางสาวอัฏฐพรกล่าวด้วยว่า ปัญหาที่เจอบ่อยคือผู้ขายฝากได้รับเงินจากนายทุนปล่อยกู้น้อยกว่าจำนวนที่ได้รับจริง เช่น ในสัญญาตกลงขายฝากราคา 5 แสนบาท แต่นายทุนให้เงินแค่ 3 แสนบาท ถ้าไม่ยอมก็ไม่ได้เงิน โดยเฉพาะที่ดินสวยๆ สามารถขายและเก็งกำไรได้ ผู้ขายฝากยิ่งเสียเปรียบ ดังนั้นกฎหมายถ้าออกมาแล้วทำให้นายทุนไปกว้านซื้อที่ยากขึ้นก็เห็นด้วย เพราะตอนนี้ที่ดินในภาคอีสานใต้ดินคือนํ้ามัน ทางเหนือใต้ดินคือทองคำ คนที่ได้ที่ดินเยอะมีโอกาสไปขุดเจาะได้ พอชาวบ้านจะไถ่ที่ดินคืนก็หนีไปอยู่ที่อื่นให้พ้นระยะเวลาไถ่ที่ดินคืน แล้วจึงกลับมาตอนที่สัญญามันขาดแล้ว ที่ดินก็เป็นของนายทุน

นับถอยหลังอีกไม่เกินปีนี้ หากกฎหมายคุ้มครองการขายฝาก บังคับใช้ จะได้เห็นชาวไร่ชาวนาไม่สูญเสียที่ดินผืนสุดท้ายไป มีแหล่งเงินทุนกู้ยืมยามฉุกเฉิน และไม่เป็นเหยื่อนายทุนนอกระบบอีกต่อไป

|หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ หน้า 16 ฉบับ 3383 ระหว่างวันที่ 15-18 ก.ค.2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว