IRPC ปลื้ม ‘เอเวอเรสต์’ ช่วยลดต้นทุนหนุนกำไรพุ่งต่อเนื่อง

16 ก.ค. 2561 | 11:00 น.
 

23656596 ในงานสัมมนา “อนาคตพลังงานไทย”จัดโดย “ฐานเศรษฐกิจ” ที่โรงแรมดุสิตธานี เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ที่ผ่านมา โดยในช่วงเสวนาหัวข้อ “นโยบายพลังงาน กับทิศทางหุ้นจะไปทางไหน” นายสุกฤตย์ สุรบถโสภณ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หนึ่งในวิทยากรที่มาร่วมเสวนา ได้สะท้อนให้เห็นถึงทิศทางการดำเนินงานของไออาร์พีซี ไว้อย่างน่าสนใจ
02-3381-090761-1814
กลไกราคาโรงกลั่นเสรี

นายสุกฤตย์ ชี้ให้เห็นว่า ในฐานะไออาร์พีซี เป็นหนึ่งในโรงกลั่นของประเทศ และดำเนินธุรกิจปิโตรเคมีด้วยนั้น ซึ่งที่ผ่านมามักจะถูกโจมตีในเรื่องโครงสร้างราคานํ้ามันหน้าโรงกลั่น ว่าทำไมถึงอ้างอิงราคาที่สิงคโปร์ บวกค่าพรีเมียมต่างๆ เช่น ค่าขนส่ง ทั้งที่กลั่นได้เองไม่ได้นำเข้า ต้องขอทำความเข้าใจว่า โรงกลั่นนํ้ามันในประเทศที่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่ผลิตและขายในประเทศ ฉะนั้น ราคาที่ขายต้องแข่งกับการนำเข้าได้ เป็นหลักการการค้าเสรีปกติ เพราะถ้าขายราคาเท่ากับสิงคโปร์ ผู้ประกอบการจะไปสร้างโรงกลั่นที่สิงคโปร์ ไม่มาสร้างเมืองไทยแน่นอน ซึ่งโรงกลั่นในประเทศไทยมีขนาดเล็กกำลังผลิต 1-3 แสนบาร์เรลต่อวัน ขณะโรงกลั่นที่สิงคโปร์สร้างเพื่อส่งออก ขนาดกำลังผลิต 4-6 แสนบาร์เรลต่อวัน แค่ Economy of Scale ก็ชนะขาดแล้ว และมีโลเกชันที่ดีกว่า ภาษีถูกกว่า หมายความว่าถ้าจะสร้างเพื่อส่งออกก็จะต้องตั้งโรงกลั่นอีกลักษณะหนึ่ง

แต่สุดท้ายทางกระทรวงพลังงาน ได้มีการปรับสูตรโครงสร้างราคานํ้ามันหน้าโรงกลั่นใหม่ แต่ด้วยสภาพความเป็นจริงภาครัฐไม่ได้เข้ามากำกับ เพราะสูตรราคานั้นไม่ได้ประกาศมาเพื่อให้ซื้อขายกันจริง แต่ประกาศมาเพื่อที่กระทรวงพลังงานใช้ในการคำนวณค่าการตลาด นำมาใช้เทียบกับราคาหน้าปั๊มว่าค่าการตลาดเหมาะสมหรือไม่เท่านั้น แต่การซื้อขายเป็นกลไกเสรี
232659656965 บริหารสต๊อกลดความเสี่ยง

ส่วนสถานการณ์ราคานํ้า มันในตลาดโลกที่มีความผันผวนในช่วงนี้ ก็ต้องบริหารจัดการความเสี่ยงที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะการสต๊อกนํ้ามัน มีทั้งข้อดีข้อเสีย ยกตัวอย่าง ช่วงราคานํ้ามันลดฮวบฮาบเมื่อปี 2558 จากกว่า 100 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล ลงมาเหลือ 30- 40 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล ส่งผลให้โรงกลั่นต้องขาดทุนจากการสต๊อกนํ้ามันจำนวนมาก ไออาร์พีซีเองขาดทุน 5,000 ล้านบาท แต่เป็นการขาดทุนทางบัญชี เพราะเงินไม่ได้หายไปไหน

เมื่อราคานํ้ามันถูกลงมา มีการบริโภคมากขึ้น เศรษฐกิจโลกดีขึ้น ส่งผลให้ความต้งการใช้นํ้ามันสูงขึ้น โดยคาดว่าปีนี้ความต้องการนํ้ามันเบนซินกับดีเซลยังเพิ่มขึ้น 4-5% ส่วนปิโตรเคมีก็เช่นกัน เพราะความต้องการใช้นํ้ามันและปิโตรเคมีแปรผันโดยตรงกับจีดีพีของประเทศ

นอกจากนี้ ยังส่งผลถึงต้นทุนเชื้อเพลิงจะถูกลงด้วย เพราะการทำนํ้ามันดิบ หรือทำปิโตรเคมีต้องใช้เชื้อเพลิง จะเห็นได้ว่าช่วง 2-3 ปีนี้ธุรกิจโรงกลั่นและปิโตรเคมีค่อนข้างจะได้ประโยชน์จากราคานํ้ามันที่ลดลง

เร่งลดต้นทุนเพิ่มประสิทธิภาพ

ส่วนโครงการเอเวอเรสต์ ซึ่งได้จ้างที่ปรึกษาอันดับ 1 ของโลกมาช่วย โดยเอา Best Practice จากทั่วโลกมา Improve (ปรับปรุง) ประสิทธิภาพของโรงงาน ทั้งการผลิต การขาย การจัดซื้อทั้งองค์กร มีเป้าหมายคือจะสร้างอีบิตดา (กำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี และค่าเสื่อม)ของบริษัทเพิ่มเป็น 2.9 หมื่นล้านบาท ในปี 2563 ซึ่งที่ผ่านมาทำไปครบแล้ว 2 ปี ปีนี้น่าจะครบที่ 1 หมื่นล้านบาท เพื่อนำไปสู่ท็อปควอร์ไทล์เพอร์ฟอร์แมนซ์ ในปี 2563

สำหรับหลักการดำเนินงานโครงการนี้ เช่น เรื่องระบบจัดซื้อของ IRPC นำเอาระบบดิจิตอลมาใช้ จากเดิมเวลาไปซื้อของจะให้ซัพพลายเออร์เมืองไทย 2-3 รายเสนอราคามา แล้วเลือกรายที่เสนอราคาตํ่าสุดมาเจรจาแต่ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันนั้น ทางที่ปรึกษาจะมี Research Center จะส่งทีโออาร์ไปให้ 10 รายเสนอราคามา ใช้ดิจิตอลฟอร์มได้หมดแล้ว ทีโออาร์ก็เป็นดิจิตอลส่งไปให้ 10 บริษัท 10 บริษัทเสนอราคามา คัดเลือกเหลือ 5 บริษัท แล้วนำมาอี-ออกชันแบบโกลบัลบิดดิ้ง ไม่ใช่เป็นโลคัลบิดดิ้ง

[caption id="attachment_298365" align="aligncenter" width="335"] สุกฤตย์ สุรบถโสภณ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) สุกฤตย์ สุรบถโสภณ
กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)[/caption]

ด้วยกระบวนการแบบนี้ ทำให้ลดค่าใช้จ่ายการจัดซื้อประหยัดลงได้ 1-2 พันล้านบาท จากการจัดซื้อของบริษัทตกปีละกว่า 1 หมื่นล้านบาท ลดลงไปได้ 10-20% ยังไม่รวมไปถึง Improve ทางด้าน Operation ทางด้าน Commercial ซึ่งนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วย นั่นคือที่มาของโครงการเอเวอเรสต์ และส่วนหนึ่งที่โครงการนี้ประสบความสำเร็จเพราะเป็น Profit Charing ค่าที่ปรึกษาประมาณ 10% ของ Benefit ที่ได้ ถ้ากำไรมากบริษัทที่ปรึกษาก็ได้ค่าที่ปรึกษามากตามไปด้วย

ส่วนการเติบโตของบริษัทนั้น ในแง่ของอุตสาหกรรมโรงกลั่นและปิโตรเคมีของไทยถือว่ามีความได้เปรียบ เพราะอยู่ในเศรษฐกิจภูมิภาค ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโลกที่มีการเติบโตสูงจะได้ประโยชน์ จากความต้องการ นํ้ามันและปิโตรเคมีที่จะเพิ่มขึ้น ฉะนั้นในช่วงที่ราคานํ้ามันไม่สูงมาก จะเป็นประโยชน์กับบริษัท เพราะว่าเศรษฐกิจโลกยังโตต่อเนื่อง

| สัมภาษณ์พิเศษ : นายสุกฤตย์ สุรบถโสภณ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)
| หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ หน้า 10 ฉบับ 3382 ระหว่างวันที่ 12-14 ก.ค.2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว