Big Data กับการพัฒนากฎหมายภาษีไทย

16 ก.ค. 2561 | 06:14 น.
236+6+6+ จากที่ธนาคารโลกได้เคยแสดงสัด ส่วนรายได้รัฐจากการเก็บภาษีเมื่อเทียบกับ GDP ของแต่ละประเทศแล้วประเทศไทยเองเคยติดอันดับ 1 ใน 10 ของประเทศที่มีการเก็บภาษีมากที่สุดในโลก ซึ่งภูมิภาคที่ได้ชื่อว่าเก็บภาษีสูงที่สุดในโลกก็คือยุโรป แต่ทำไมประเทศไทยเองกลับติดอันดับกลับเขาไปด้วย

ปัจจัยที่จะบอกถึงความน่าอยู่ของประเทศใดประเทศหนึ่ง นั้น นอกจากเรื่องของคุณภาพชีวิตและความสะดวกสบายความสวยงามของประเทศนั้นๆ แล้ว ปัจจัยสำคัญอีกประการคืออัตราภาษีที่ต้องเสียให้แก่รัฐ

ดังนั้นเป็นที่ทราบและตระหนักกันอย่างดีในวงการพัฒนาโครงสร้างของประเทศไม่ว่าจะเป็นเรื่อง เศรษฐกิจการศึกษา การบริหารจัดการประเทศ และรวมถึงการพัฒนา กฎหมายและระเบียบปฏิบัติต่างๆ ต้นนํ้าที่สำคัญที่สุดในการที่จะนำไปสู่การพัฒนาปรับปรุงและแก้ไขได้ คือการมีแหล่งข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วน และสามารถนำมาสังเคราะห์ที่เรียกว่า analytics จึงกล่าวได้ว่า Big Data เปรียบเสมือนทรัพยากรสำคัญในการพัฒนา
tumblr_na7b6l5xSC1td9006o1_1280 มาถึงด้านการบริหารจัดการภาษีของประเทศไทยเราแล้วนั้น ต้องยอมรับอย่างแรกว่าเรามีหมวดภาษีค่อนข้างหลากหลาย จึงเป็นปัญหาในการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลจำนวนมาก รวมถึงรูปแบบของข้อมูลที่มีทั้งในลักษณะอนาล็อกและดิจิตอล ทำให้เป็นอุปสรรคในการนำไปวิเคราะห์เพื่อพัฒนา และแก้ไขให้สอดคล้องกับสภาพความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ

โดยประเด็นสำคัญของการนำไปใช้เพื่อการพัฒนาระบบภาษีต่างๆ มีแนวคิดดังนี้ โครงสร้าง Big Data จะต้องมีลักษณะพื้นฐาน 3 V Model ได้แก่ ปริมาณ Volume ความเร็ว Velocity ความหลากหลาย Variety จึงจะเป็น Big Data ที่สามารถนำไปใช้วิเคราะห์ได้

จะต้องมีนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล Data Scientist ที่มีความเข้าใจเป้าหมายของการนำข้อมูลที่วิเคราะห์ไปใช้เพื่อทำให้การบริหารการจัดเก็บภาษีของประเทศนั้นมีประสิทธิภาพสูงขึ้น มีเป้าหมายและกรอบของยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนว่าการพัฒนาระบบภาษีนั้นจะนำไปสู่เรื่องใด เช่น การสร้างให้เกิดความเสมอภาค สอดคล้องกับเศรษฐกิจ, การสร้างแรงดึงดูดในการลงทุน, การสร้างความโปร่งใสในด้านการจัดเก็บ และการบริหาร, การลดช่องโหว่ของโอกาสในการใช้อำนาจหรือดุลพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐที่จะ ก่อให้เกิดการประพฤติมิชอบ Efficiency and transparency

ใช้ Big Data เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทางธุรกิจ แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษี ด้วยหลักคิดแบบ Positive side ยิ่งให้ยิ่งได้ เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจแก่ผู้ประกอบการเป็นที่ตั้ง

motivation Phase แรงดึงดูด ให้ประชาชนเข้าสู่ระบบภาษีด้วยความเต็มใจอย่างทั่วถึง เพื่อสนับสนุนนโยบายระบบบัญชีเดี่ยว ซึ่งทุกวันนี้มีผู้มีรายได้เข้าสู่ระบบไม่ถึง 1 ใน 4 ของทั้งประเทศ

ส่งเสริมในเรื่องการให้บริการที่ดีแก่ประชาชน ยกตัวอย่างเช่น การประเมิน และวางแผนการเสียภาษี ตลอดจนการยื่นขอคืนภาษีที่มีความถูกต้องแม่นยำ

big-data-word-cloud-related-tags-Google-Analytics-FAQ-ss ฉายภาพให้เห็นว่าภาษีมาจากไหน เท่าไหร่ และใช้ไปไหน จะเป็นการนำไปสู่การพัฒนาบริหารราชการแผ่นดินของหน่วยงานรัฐ สามารถนำเสนอและสร้างความรู้ความเข้าใจด้านงบประมาณรายรับรายจ่ายของประเทศ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าใจได้สามารถนำไปสู่การจัดทำ Regulatory Guillotine ซึ่งถือเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งในการปฏิรูปกฎหมาย โดยเฉพาะในเรื่องของภาษีที่มีอยู่อย่างมาก นำไปสู่การวิเคราะห์พฤติกรรมของการดำเนินธุรกิจของประชาชน สามารถที่จะพยากรณ์หรือจำลองอนาคตได้อย่างแม่นยำ มีประสิทธิภาพและมีที่มาที่เชื่อถือได้

ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษี ในมาตรฐานสากลระดับสูง เช่นเดียวกับหลายประเทศที่ได้พัฒนาไปแล้ว ด้วย Concept Transformation Government Integration เพื่อสร้างให้เกิดการบริหารจัดการประเทศโดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลางและทำให้เกิดการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่นำเศรษฐกิจสังคมไทยไปสู่การทำงานแบบอัจฉริยะ การบูรณาการภาษีด้วยการนำ Big Data มาใช้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของภาครัฐ รวมถึงสร้างความโปร่งใสในการบริหารงานราชการแผ่นดิน ซึ่งหมายรวมถึงการบริหารจัดการงบประมาณค่าใช้จ่ายของรัฐ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

Big Data จึงเป็นหัวใจสำคัญอย่างยิ่ง แต่การนำ Big Data มาใช้อย่างเดียว ก็เปรียบเสมือนการใช้ตะเกียบข้างเดียวจึงต้องมี Digital Solutions เข้ามาทำงานร่วมด้วยจึงจะสัมฤทธิ์ผล ซึ่งการนำ Big Data มาใช้นั้นปัจจุบันหลายหน่วยงานของรัฐได้มีการบูรณาการเพื่อนำไป  พัฒนาให้เกิดประโยชน์ในหลากหลายมิติไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการแก้ปัญหา และพัฒนาทั้งในด้านปัจจัยพื้นฐานหรือในด้านการพัฒนาในงานที่มีความสลับซับซ้อน ในสถานการณ์ต่างๆ เช่น เมื่อเกิดภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจหรือเกิดปัญหาภัยพิบัติต่างๆ การบรรเทาทุกข์และการฟื้นฟู

การนำ Big Data เพื่อไปบูรณาการระบบภาษีของไทยนั้นมีมิติของการนำไปใช้ในภาษีต่างๆ ของประเทศไทยซึ่งจะขอกล่าวต่อไปในคราวหน้าว่าภาษีแต่ละประเภทของไทยนั้นควรมีการปรับพัฒนาไปในทิศทางใด

| บทความ : Big Data กับการพัฒนากฎหมายภาษีไทย
| โดย : อภิชาติ ประสิทธิ์นฤทธิ์ นายกสมาคมการค้าอสังหาริมทรัพย์และพันธมิตร
| หน้า 7 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3382 ระหว่างวันที่ 12-14 ก.ค.2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว