แนะดึงอาเซียน+6 ต่อรองสหรัฐฯ

15 ก.ค. 2561 | 04:56 น.
150761-1148

อดีตประธานผู้แทนการค้าไทย ชำแหละสงครามการค้า! สหรัฐฯ ใช้นโยบายย้อนยุค หวังผลการเมืองกระทบเศรษฐกิจทั่วโลก แนะไทยรวมกลุ่มประเทศอาเซียน+6 ต่อรองมะกัน พร้อมเจาะตลาดใหม่


 

[caption id="attachment_298110" align="aligncenter" width="310"] เกียรติ สิทธีอมร อดีตประธานผู้แทนการค้าไทย เกียรติ สิทธีอมร
อดีตประธานผู้แทนการค้าไทย[/caption]

นายเกียรติ สิทธีอมร อดีตประธานผู้แทนการค้าไทย ให้สัมภาษณ์กับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า สงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกา จีน และสหภาพยุโรป ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ถือเป็นสงครามการค้าอย่างเต็มรูปแบบ แต่ยังอยู่ในกรอบเฉพาะสินค้าบางรายการ ในอดีตตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 19 ภายหลังสงครามโลก สหรัฐฯ ก็เคยทำแบบเดียวกัน คือ การออกกฎหมายกำแพงภาษี ด้วยความเชื่อที่ว่า สิ่งเหล่านั้นจะทำให้เศรษฐกิจของประเทศตัวเองดีขึ้น และสมัยประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ก็ทำเช่นกัน แต่เมื่อมีการออกกฎหมาย สิ่งที่เกิดขึ้น คือ เศรษฐกิจทั้งในประเทศ เศรษฐกิจโลก ก็ได้รับผลกระทบ สุดท้ายก็ต้องเลิกกำแพงภาษี

"ถามว่า แนวทางนี้จะเดินไปได้ไกลแค่ไหน เพราะเรื่องเหล็ก สหภาพยุโรป (อียู) ประกาศสู้เต็มรูปแบบ และในอดีต อียูก็เคยกดดันจอร์จ ดับเบิลยู บุช ในเรื่องนี้ และยื่นเรื่องต่อองค์การการค้าโลก (WTO) ในยุคนั้น จอร์จ ดับเบิลยู บุช ก็เคยถูกตัดสินให้แพ้ การที่อเมริกาทำแบบนี้ มันย้อนยุคของ WTO ไป 20-30 ปีที่แล้ว ยังไงก็แพ้แน่นอน"

 

[caption id="attachment_298112" align="aligncenter" width="503"] โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์
ประธานาธิบดีสหรัฐฯ[/caption]

อย่างไรก็ตาม การตั้งกำแพงภาษีของทรัมป์จะได้เสียงทางการเมืองจากกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็กและกลุ่มอื่น ๆ ภายในประเทศสหรัฐฯ ในช่วง 1 ปี ขณะที่ ผลเสียอาจจะเกิดขึ้นช้า ๆ จึงเชื่อว่า ทรัมป์จะเอาจุดนี้ไปเจรจากับจีน เพื่อได้อะไรกลับมาบ้างเท่านั้นก็พอ เพราะฉะนั้นภายใน 3-6 เดือน เมื่อสหรัฐฯ ได้อะไรบางอย่าง ก็อาจจะถอย แต่ถ้าไม่ได้ก็จะเดินชนไปเรื่อย ๆ

"จากที่ได้เดินทางไปประชุมในต่างประเทศ เขาคุยกันว่า วิธีการของ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ไม่อยู่ในตำราอะไรเลย แต่พิสูจน์มาแล้วว่า 1.แนวทางนี้กระทบหมดทุกคน 2.สะท้อนความอ่อนแอโครงสร้างภายในของสหรัฐฯ เอง เมื่อเกิดอะไรขึ้นมา ก็จะชี้หน้าบอกคนอื่นว่า พวกคุณต้องมาร่วมรับผิดชอบ ภาษาอเมริกันเรียกว่า Bully หรือ อันธพาล"

อดีตประธานผู้แทนการค้าไทย เชื่อว่า การดำเนินนโยบายของสหรัฐฯ ในตอนนี้ เป็นการหวังผลทางการเมือง จากคำมั่นสัญญาที่ นายโดนัลด์ ทรัมป์ เคยให้ไว้กับประชาชนช่วงก่อนการเลือกตั้ง แต่การดำเนินการแบบนี้จะไม่เป็นผลดีกับทั้งสหรัฐฯ และมีเศรษฐกิจทั่วโลก เพราะมีการประเมินแล้วว่า โลกได้รับผลกระทบ 2.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เศรษฐกิจโลกจะโตลดลง 0.5% หากมีมาตรการอะไรมากกว่านี้ ผลกระทบก็จะเพิ่มขึ้น

 

[caption id="attachment_298113" align="aligncenter" width="503"] โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์
ประธานาธิบดีสหรัฐฯ[/caption]

ส่วนผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทยมีแน่นอน เพราะเราส่งออกสินค้าไปทุกตลาด ถ้าเศรษฐกิจทั้งโลกเติบโตลดลง ก็จะกระทบกับประเทศไทยแน่นอน เราไม่สามารถหลอกตัวเองได้ แต่ทำอย่างไรที่ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบน้อยที่สุด จึงต้องดูว่า ท่าทีของประเทศไทยกับสิ่งที่เกิดขึ้นคืออะไร แต่การไปพูดกับสหรัฐฯ ตรง ๆ ไม่มีประโยชน์ เพราะสิ่งที่เราส่งออกไปสหรัฐฯ ยังไม่ถึง 1% ของ GDP ของสหรัฐฯ

หากไทยลุยไปเจรจากับสหรัฐฯ เพียงประเทศเดียว ก็จะเสียเปรียบ คิดว่าในอดีตมีบทเรียนอยู่แล้ว ดังนั้น เราจึงต้องไปหาพวกก่อน แล้วค่อยเดินไปเป็นกลุ่ม แต่ถามว่า ประเทศไทยจะมีใครเป็นพวก โดยธรรมชาติเรามีอาเซียน ‘3 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี) และอาเซียน +6 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย) และความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) จึงคิดว่า ไทยน่าจะใช้ความร่วมมือตรงนี้ในการหาแนวร่วมไปต่อรองกับสหรัฐฯ เพื่อที่จะพูดได้เสียงดังและน่าเกรงขามมากขึ้น


GP-3355_180410_0005-1-1446

รวมทั้งควรใช้กลไกทางการค้ากับ WTO ควบคู่กันไปด้วย โดยไทยต้องนำสินค้ารายสาขามากตรวจสอบว่า สินค้าอะไรที่จะได้รับผลกระทบบ้าง แต่ตอนนี้ยังไม่เห็นท่าทีที่ชัดเจนของรัฐบาล และอย่าพยายามไปเจรจากับอเมริกาด้วยตัวเอง เพื่อจะเอาอะไรไปแลกกับเขา เพราะถ้าเพื่อนบ้านเรารู้ เพื่อนก็จะกลายเป็นศัตรูกับเรา ดังนั้น ประเทศไทยต้องดำเนินการด้วยวิธีการที่ถูกต้องตามกฎของ WTO ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีน้ำหนักมากที่สุด

"อเมริกาเองก็ปฏิเสธ WTO ไม่ได้เต็มปากเต็มคำ เพราะร่วมก่อตั้งมาและเป็นสมาชิกด้วย ถ้าเราเดินทางในทางที่ถูกต้อง เราก็ไม่เสียหาย แต่ถ้าเราคิดว่า เราจะไปเดินทางลับไม่เปิดเผย ไปเจรจาแยก เอาอะไรไปแลกกับเขา เราจะโดนมองว่า เราทำไม่ถูก แต่ตอนนี้ไม่ทราบว่า รัฐบาลกำลังใช้วิธีการแบบนี้หรือไม่"


logo_en

นายเกียรติ ย้ำว่า สิ่งที่รัฐบาลต้องทำจากนี้ คือ 1.กำหนดท่าที 2.หาพวก 3.หาตลาดใหม่ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ เพราะเรามีการค้าขายกับหลายภูมิภาค หลายตลาด หลายสินค้า เช่น ลาตินอเมริกา ชิลี บราซิล เปรู อาร์เจนตินา โคลอมเบีย แต่เราค้าขายกับเขาน้อยมาก เมื่อเทียบกับความต้องการของตลาด จึงต้องเตรียมล่วงหน้า 3 เดือน ต้องมีการจับคู่การค้าก่อนไปเปิดตลาด ต้องทำงานในเชิงรุกไม่ใช่ตั้งรับอย่างเดียว


……………….
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,382 วันที่ 12-14 ก.ค. 2561 หน้า 02

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
GS ทุ่ม1,000 ล้านปักธงอาเซียน-บุกตลาดญี่ปุ่น
"มิตซูบิชิ"ลุยอีวีอาเซียนตั้งเป้าไทยฐานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า


ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว