"ประยุทธ์" ชี้เหตุ "13 หมูป่า" ต้องทำเป็นห้องสมุดมีชีวิต- รมว.สธ.เผยออกจากรพ.พร้อมกัน 19 ก.ค.นี้

14 ก.ค. 2561 | 15:09 น.
20180629121614 -17 ก.ต. 2561- พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนว่า จากเหตุการณ์  “ผู้ประสบภัย” นักฟุตบอลเยาวชนและผู้ช่วยโค้ช “ทีมหมูป่าอะคาเดมี แม่สาย” รวม 13 คน ติดอยู่ภายใน วนอุทยานถ้ำหลวง - ขุนน้ำนางนอน อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงรายนั้น การพัฒนาเป็น “ห้องสมุด หรือ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ ที่มีชีวิต” ตามที่ผมได้กล่าวไว้นั้นว่าถ้ำหลวงนี้จะเป็นแหล่งเรียนรู้ ทางประวัติศาสตร์การกู้ภัย ของโลก เป็นครั้งแรก และครั้งเดียว ณ เวลานี้ ที่มีลักษณะเฉพาะ ก็คือ เป็นถ้ำที่มีน้ำท่วมจนเต็มในฤดูฝน ที่อาจจะเรียกได้ว่าเป็นทางระบายน้ำนะครับ ใต้พื้นดินนะครับ ในฤดูฝนน้ำจะเต็ม ซึ่งชาวโลกรู้จักเป็นอย่างดีแล้ว และ ย่อมเป็นที่สนใจอย่างต่อเนื่อง ในอนาคตอีกด้วย

ทั้งนี้ จากการติดตามข่าวสารจากทุกสื่อ รวมทั้งสื่อโซเชียลแล้ว ก็ดีใจนะครับ ที่หลายคนคิดตรงกับ บางท่านก็มีการเสนอแนวคิด ที่ให้รายละเอียด วาดภาพความคิดของผม ออกมาได้ชัดเจน เช่น ดร.วรภัทร โตธนะเกษม ซึ่งผมขอนำความคิดบางส่วน มาประกอบการอธิบาย ดังนี้นะครับว่าทำอย่างไร เหตุการณ์ยิ่งใหญ่ระดับโลกที่ถ้ำหลวง จะถูกบันทึกไว้ในความทรงจำของคนไทย และ ของมนุษยชาติ ที่จะบังเกิดประโยชน์ต่อคนในสังคมต่อไป อีกนานแสนนาน
20180629013634 ทั้งนี้ เป็นเรื่องที่น่าเสียดายนะครับ ในอดีต ที่เหตุการณ์ “สึนามิ” เมื่อปี 2547 ที่กวาดชายหาดภาคใต้ของไทย ครั้งนั้น ก็มีเรื่องราวยิ่งใหญ่ มีการสูญเสียจำนวนมากนะครับ แล้วก็น้ำใจของคนไทยเกิดขึ้นมากมาย ซึ่งคนทั้งโลกได้รับรู้ แต่หลักฐาน และบันทึกเรื่องราวต่างๆ ส่วนใหญ่สูญหายไปกับกาลเวลา ไม่นำไปส่งเสริมการศึกษา – เช่นการตามรอยสึนามิ หากถามถึง “อนุสรณ์สถานสึนามิ” คำตอบที่ได้รับจากไกด์ท้องถิ่น คือ ไม่มีอะไรจะให้ชม หรือศึกษามากนัก ควรจะดีกว่านั้นนะครับ ก็ช่วยกันทำ ช่วยกันคิด ค่อยๆ ทำไปนะครับ อย่าใช้งบประมาณสูงมากนัก ต้องเกิดขึ้นมาได้ในอนาคตนั่นเอง เพราะฉะนั้น จึงทำให้ผู้ที่สนใจ อยากจะเรียนรู้ก็ ผิดหวังไป

ดังนั้น “พิพิธภัณฑ์ถ้ำหลวง” ก็เป็นบทพิสูจน์ ถึงความยากลำบากในการช่วยชีวิต เป็นสถานการณ์ที่ท้าทายความสามารถ ทั้งทีมงานไทย และผู้เชี่ยวชาญระดับโลก ซึ่งท่านก็กล่าวว่าไม่เคยเห็น คือไม่เคยได้ทำงานในลักษณะแบบนี้นะครับ เพราะว่ามีความแตกต่าง กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศอื่นๆ เพราะฉะนั้นเราก็สมควรบันทึกไว้ในความทรงจำตลอดไป และให้เด็กทุกคนได้เรียนรู้
14-3382-120761-1016-01 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเบื้องต้น ก็คือ ศูนย์อำนวยการร่วมค้นหาผู้สูญหาย ถ้ำหลวง จ.เชียงราย ที่ต้องเริ่มต้นก่อนนะครับ มีการถ่ายทอดแนวคิด เตรียมแผนรองรับ หลังจากนี้ จะฟื้นฟูถ้ำหลวงอย่างไร ให้คงสภาพเดิมไว้อย่างดีที่สุดนะครับ เพราะว่าที่ถ้ำหลวงนี้เป็นเหมือนกับทางระบายน้ำ น้ำใต้ดิน แล้วก็มีการซึมต่อไปยังพื้นที่อื่นๆ แล้วก็ใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูก พืชไร่ พืชสวน ทำไร่ ทำนาอีกนะครับ ถ้าเราไปเปลี่ยนแปลงมากจะเกิดปัญหาในอนาคตในเรื่องของการเกษตร

ผมก็ให้แนวทางกับ สำนักงานบริหารจัดการน้ำนะครับ ไปวางแผน ให้ดีว่าเราจะบริหารจัดการน้ำเหล่านี้ไว้ได้อย่างไร โดยที่ไม่ไปเปลี่ยนแปลงสภาพเดิมมากนักนะครับ อย่างเช่นอาจจะต้องไปหาวิธีการที่จะหาที่เก็บน้ำบริเวณใกล้เคียงไว้ให้ได้นะครับ โดยขอความร่วมมือจากภาคประชาชน และเกษตรกรนะครับ แล้วให้เขาได้ประโยชน์ไปด้วย

14-3382-120761-1016-03 เพราะฉะนั้นเราจะทำให้ร่องรอยที่เกิดจากการปฏิบัติภารกิจห้วงที่ผ่านมานั้น ให้กลมกลืนนะครับ ให้อยู่กับธรรมชาติเช่นเดิมต่อไป ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นเครื่องบันทึกความทรงจำที่สัมผัสได้ และได้เห็น “ของจริง” บางส่วนยังคงอยู่ แทนการได้เห็นเพียงภาพถ่าย ที่ไม่สมจริง ไม่น่าสนใจ ให้เป็นพิพิธภัณฑ์ “ที่มีชีวิต” ก่อนที่จะส่งมอบความรับผิดชอบ ให้หน่วยงานปกติ ไม่ว่าจะเป็น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดเชียงราย รวมความถึงจังหวัดอื่นๆ ด้วยนะครับ ที่มีสถานที่ท่องเที่ยว ในลักษณะเช่นนี้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนันผู้ใหญ่บ้าน เหล่านี้ต้องรับรู้รับทราบทั้งหมด เพราะเรากำลังขับเคลื่อนในเรื่องของการท่องเที่ยว เมืองรอง ท่องเที่ยวชุมชน เราต้องไปสำรวจ แล้วหาวิธีการป้องกัน แก้ไข แล้วก็ฟื้นฟูให้ได้ เมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นนะครับ อย่าให้เกิดขึ้นอีกโดยเด็ดขาด

[caption id="attachment_297376" align="aligncenter" width="503"] Thai NavySEAL Thai NavySEAL[/caption]

หน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเข้ามา “รับไม้” ต่อ ไม่ใช่ “จบภารกิจ” แล้วแยกย้ายกลับบ้านนะครับ ก็ต้องทำอย่างไรให้ปลอดภัย ทำอย่างไรจะเหลืออะไรไว้เป็นแหล่งเรียนรู้ให้ชนรุ่นหลัง เมื่อเหตุการณ์สงบลงแล้ว ก็อย่าให้เหลือแต่ถ้ำหลวง ควรเก็บเครื่องไม้เครื่องมือ เครื่องสูบน้ำ ท่อระบายน้ำ ชุดมนุษย์กบ ชุดปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ชาวไทย และชาวต่างชาติ “บางส่วน” นะครับ ที่สามารถที่จะนำให้เป็นประวัติศาสตร์ อาจจะที่ใช้งานไม่ได้แล้ว อะไรทำนองนี้ ที่ชำรุดก็เก็บๆ ไว้เหมือนกับพิพิธภัณฑ์อื่นๆ

เพราะฉะนั้น รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่จะเล่าเรื่องราวต่างๆ เช่น เก็บกล่องอาหารที่ลอยเข้าไปให้เด็กๆ ในถ้ำ - จดหมายที่เด็กๆ เขียน - อุปกรณ์ที่ใช้ขุดเจาะ - ถังออกซิเจน – ผ้าห่มฟลอย ที่นำไปให้เด็ก เพื่อให้เกิดความอบอุ่น รถจักรยาน รองเท้า ของเด็กๆ และ สิ่งของอีกมากมาย ที่เกี่ยวข้องกับปฏิบัติการครั้งนี้ พนชยายามเก็บไว้ให้ครบสมบูรณ์มากที่สุดนะครับ ที่สามารถทำได้นะครับ ด้วยความเต็มใจนะครับ

[caption id="attachment_297375" align="aligncenter" width="503"] Thai NavySEAL Thai NavySEAL[/caption]

ในทุกแง่มุมที่น่าศึกษาไม่เว้นแม้แต่เครื่องครัว กระทะ ที่ใช้ในโรงครัว อาคารศูนย์อำนวยการ ถ้าเรารักษาสภาพปัจจุบันไว้ได้ ให้กลมกลืนกับธรรมชาติ ก็น่าจะเก็บไว้เช่นเดิม โต๊ะ เก้าอี้ จุดแถลงข่าว ป้ายไวนิล แบ็คดร็อป เอกสารที่ใช้ในการวางแผน ฐานข้อมูล บอร์ด แผนที่ ภาพถ่ายต่างๆรวมทั้ง ภาพไฮไลท์ในการช่วยชีวิตนะครับ ก็สามารถจะใส่ไว้ทั้งในพิพิธภัณฑ์ หรือไม่ก็ก็ใส่ไว้ในเว็บไซท์ เฟสบุ๊ค ต่างๆ เพื่อจะเก็บเรื่องราวสำคัญเหล่านี้ไว้ทั้งหมด เรียกว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ ที่มีชีวิตนะครับ ผู้ที่ไปเข้าชมจะได้เห็นภาพ ตั้งแต่นอกถ้ำ และก็ในถ้ำ และมีประวัติศาสตร์ของถ้ำหลวงเเห่งนี้”
640_aea8c8jbak6iebe9i95gf นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร รมว.สาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์เจษฎา โชคดำรงสุข ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เยี่ยมให้กำลังใจนักฟุตบอลเยาวชนทีมหมูป่าและโค้ช 13 คน ซึ่งพบว่าทุกคนมีสภาพร่างกายที่ฟื้นตัวดีขึ้นตามลำดับ ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้เป็นอย่างดี ขณะนี้อยู่ระหว่างรอให้ยาปฏิชีวนะครบ 7 วันตามแผนการรักษา

ส่วนด้านจิตใจทุกคนมีสภาพจิตใจที่ดี โดยครอบครัวและญาติเข้าเยี่ยมได้ ภายใต้ระบบการป้องกันการติดเชื้อของโรงพยาบาลที่มีมาตรฐาน สำหรับผลการตรวจ ทางห้องปฏิบัติการ ไม่พบเชื้อโรคติดต่อที่เป็นอันตราย และหากสภาพร่างกายแข็งแรงไม่มีปัญหาการติดเชื้อใดๆ คาดว่าจะออกจากโรงพยาบาลได้ในวันพฤหัสบดีที่ 19 ก.ค.นี้
640_7k9g95j7aabk95c56bif8 รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วง มี 2 เรื่องสำคัญดังนี้ เรื่องที่ 1 เมื่อกลับไปอยู่ที่บ้านต้องระวังการติดเชื้อจากคนหมู่มากที่มาเยี่ยม เพราะทีมหมูป่ายังอยู่ในระยะพักฟื้น อาจจะติดโรคจากผู้ที่มาเยี่ยมได้ง่ายกว่าคนปกติทั่วไป จึงจำเป็นต้องอธิบายให้ผู้ปกครองและญาติเข้าใจ

เรื่องที่ 2 ทีมหมูป่าอาจถูกสัมภาษณ์หรือเชิญไปออกรายการต่างๆ ซึ่งทีมจิตแพทย์ได้แนะนำให้ทีมหมูป่าได้รับการฟื้นฟูจิตใจจากเหตุการณ์ที่เป็นวิกฤตของชีวิตอย่างน้อย 1 เดือน โดยอยู่กับครอบครัว อยู่กับเพื่อน หรือทำกิจกรรมอื่นๆ เช่น ทำบุญ หรือบวช เป็นต้น ดังนั้นในช่วงเวลาฟื้นฟู จึงขอความร่วมมือสื่อต่างๆ ให้ความร่วมมือให้พ้นช่วงรักษาบาดแผลทางใจจะเป็นสิ่งที่ดีกับทีมหมูป่าทั้งหมด