ลุ้น “แผนแม่บท-ยุทธศาสตร์แร่”ปลดล็อคเหมือง

13 ก.ค. 2561 | 04:42 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ “ยุทธศาสตร์แร่ 20 ปีและแผนแม่บทแร่ 5 ปี” เข้าสู่การพิจารณาของครม. สภาการเหมืองแร่หวังปลดล็อคการต่ออายุและขอประทานบัตรใหม่

แหล่งข่าวทำเนียบรัฐบาลเปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่กำกับดูแลกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แจ้งมายังเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ให้นำเรื่องยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแร่ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) และแผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ พ.ศ.2560-2564 ที่ผ่านความเห็นชอบแล้ว เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี

ประเด็นการกำหนดยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแร่และแผนแม่บทการบริหารจัดการแร่นี้ เป็นปัญหานับตั้งแต่มีการประกาศใช้พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2560 นับตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม 2560 เพราะมีผลต่อการต่ออายุประทานบัตร หรือขอประทานบัตรใหม่ ซึ่งภาคเอกชนผู้ประกอบการเหมืองแร่ได้เสนอปัญหามาต่อเนื่องว่า จะกระทบต่ออุตสาหกรรมก่อสร้างโดยเฉพาะโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ

mine2

ดังเช่นที่สภาการเหมืองแร่ สมาคมอุตสาหกรรมย่อยหินไทย สมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมมนต์ไทย คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชมรมสินแร่อุตสาหกรรมและวัสดุก่อสร้าง และสมาคมผู้สื่อข่าวไทย-จีนได้ร่วมจัดการสัมมนาเรื่อง “สัญญาณเตือน...เมกะโปรเจ็กต์ไทยและอุตสาหกรรมก่อสร้าง” เมื่อปลายเดือนมีนาคม 2561 และมีการสรุปสาระสำคัญเสนอต่อกระทรวงคมนาคมและหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง

แหล่งข่าวกล่าวว่าปัญหานี้เป็นที่รับรู้ในระดับรัฐบาลโดยเฉพาะในกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งมีความรับผิดชอบร่วมกันอยู่ในฐานะผู้กำกับดูแล แต่ปัจจุบันกระทรวงคมนาคมได้ร่วมแก้ไขปัญหาเพราะเป็นฝ่ายได้รับผลกระทบในฐานะเจ้าของเมกะโปรเจ็กต์ด้านคมนาคม อาทิ รถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง มอเตอร์เวย์ ท่าเรือน้ำลึก การขยายและปรับปรุงสนามบินนานาชาติ 3 แห่ง

ด้านแหล่งข่าวจากสภาการเหมืองแร่ให้ความเห็นว่า ฝ่ายผู้ประกอบการเหมืองแร่และผู้ประกอบการอุตสาหกรรมก่อสร้างรอคอยด้วยความหวังว่าคณะรัฐมนตรีจะพิจารณาให้ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแร่ 20 ปี และแผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ 5 ปี มีผลบังคับใช้ทันที เพื่อให้กระบวนการที่เกี่ยวกับการทำเหมืองแร่สามารถเดินหน้าต่อไปได้อย่างราบรื่น เช่น เรื่องโซนนิ่ง หรือการกำหนดเขตแหล่งแร่เพื่อการทำเหมืองแร่ เป็นต้น

e-book-1-503x62