ประวัติศาสตร์รับเหมาไทย! "31 ขาใหญ่" โดดชิงเค้กรถไฟฟ้า 3 สนามบิน

09 ก.ค. 2561 | 10:48 น.

เชื่อม-3-สนามบิน รฟท.เผยรายชื่อบริษัทแห่ซื้อเอกสารการคัดเลือกเอกชน ในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน พุ่งสูงถึง 31 ราย มีลุ้นจับขั้วพร้อมกำหนดยื่นข้อเสนอ 12 พย.นี้ เผยตัวเต็งมากันครบทีม


ฝ่ายประชาสัมพันธ์การรถไฟแห่งประเทศไทย แจ้งว่า ตามที่ได้มีการเปิดขายเอกสารการคัดเลือกเอกชนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ดอนเมือง – สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา ตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายน เป็นต้นมาจนถึงวันที่ 9 กรกฎาคม 2561 (วันนี้) ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการขายเอกสาร รวมระยะเวลา 3 สัปดาห์ โดยมีเอกชนทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก เข้าซื้อเอกสารการคัดเลือกเอกชนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน จำนวน 31 ราย ประกอบไปด้วย

1. บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย)
2. บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (ประเทศไทย)
3. บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย)
4. บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย)
5. บริษัท เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ จำกัด (ประเทศไทย)
6. ITOCHU Corporation (ประเทศญี่ปุ่น)
7. ซิโนไฮโดร คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด (ประเทศจีน)
8. บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย)
9. บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) จากประเทศไทย
10. บริษัท ฟูจิตะ คอร์ปอเรชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด (ประเทศญี่ปุ่น)
11. China Railway Construction Corporation Limited (สาธารณรัฐประชาชนจีน)
12. บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย)
13. บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย)
14. บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย)
15. CHINA RAILWAY GROUP LIMITED (สาธารณรัฐประชาชนจีน)
16. China Communications Construction Company Limited (สาธารณรัฐประชาชนจีน)
17. China Resources (Holdings) Company Limited (สาธารณรัฐประชาชนจีน)
18. CITIC Group Corporation (สาธารณรัฐประชาชนจีน)
19. Korea-Thai High-speed Railroad Consortium Inc. (ประเทศไทย)
20. บริษัท เทอดดำริ จำกัด (ประเทศไทย)
21. Salini Impregio S.p.A. (ประเทศอิตาลี)
22. บริษัท ฮิตาชิ เอเซีย (ประเทศไทย) จำกัด (ประเทศไทย)
23. TRANSDEV GROUP (ประเทศฝรั่งเศส)
24. SNCF INTERNATIONAL (ประเทศฝรั่งเศส)
25. Japan Overseas Infrastructure Investment Corporation for Transport & Urban Development (ประเทศญี่ปุ่น)
26. บริษัท เพาเวอร์ไลน์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย)
27. บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย)
28. บจก. แอล เอ็ม ที สโตน (ประเทศไทย)
29. WANNASSER INTERNATIONAL GREEN HUB BERHAD (ประเทศมาเลเซีย)
30. บริษัท ไชน่า สเตท คอนสตรัคชั่น เอนยิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด (สาธารณรัฐประชาชนจีน)
31. MRCB Builders SDN. BHD. (ประเทศมาเลเซีย)
S__6463491 ภายหลังจากการขายเอกสารเสร็จสิ้นแล้ว จะจัดให้มีการประชุมชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจ จำนวน 2 ครั้ง ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2561 ณ สโมสรรถไฟชั้น 2 การรถไฟแห่งประเทศไทย เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ หลังจากนั้นจะนำผู้ยื่นข้อเสนอไปดูสถานที่ก่อสร้างของโครงการ (Site Visit) ในวันอังคารที่ 24 กรกฎาคม 2561 และวันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม 2561

โดยเข้าดูพื้นที่ของโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงค์ มักกะสัน สถานีสุวรรณภูมิ และสถานีรายทาง , โครงการระบบรถไฟชานเมือง(สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ – รังสิต สถานีกลางบางซื่อ โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ – พญาไท – มักกะสัน – หัวหมาก และเขตทางรถไฟ

HighSpeedRail_Info ปัจจุบันตลอดแนวเส้นทางโครงการฯ จากสถานีดอนเมืองไปตามเส้นทางรถไฟสายตะวันออก ผ่านสถานีมักกะสัน สถานีฉะเชิงเทรา สถานีพัทยา และสิ้นสุดที่บริเวณสถานีบ้านฉาง ทั้งนี้จะเปิดให้มีการส่งข้อสังเกต ข้อเสนอแนะ หรือคำถามเกี่ยวกับเอกสารการคัดเลือกเอกชน และให้มีการตรวจสอบข้อมูลหรือรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับโครงการ ระหว่างวันที่ 10 กรกฎาคม - 9 ตุลาคม 2561 ณ ห้องประชุมฝ่ายโครงการพิเศษและก่องสร้างการรถไฟฯ ในเวลาราชการ

กำหนดการรับซองข้อเสนอ จะมีขึ้นในวันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2561 เวลา 09.00 - 15.00 น. โดยผู้ยื่นข้อเสนอต้องยื่นหลักประกันซองพร้อมกับซองข้อเสนอ มูลค่า 2,000 ล้านบาท และต้องชำระค่าธรรมเนียมการประเมินข้อเสนอให้แก่ รฟท. เป็นจำนวนเงิน 2 ล้านบาท ที่สำนักงานโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงค์ มักกะสัน และผู้ที่ยื่นเสนอผ่านการประเมินข้อเสนอจะต้องวางหลักประกันสัญญาที่ออกโดยธนาคารให้กับการรถไฟฯ ในวันที่เข้าทำสัญญาร่วมทุนเป็นมูลค่า 4,500 ล้านบาท เพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาร่วมลงทุนของเอกชนคู่สัญญา
โปรโมทแทรกอีบุ๊ก-6 สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินเป็นโครงการที่ใช้โครงสร้างและแนวเส้นทางการเดินรถเดิมของระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแอร์พอร์ตลิงค์ (Airport Rail Link) ที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน โดยจะก่อสร้างทางรถไฟขนาด 1.435 เมตร (Standard Gauge) ส่วนต่อขยาย 2 ช่วงจากสถานีพญาไท ไปยังสนามบินดอนเมือง และจากสถานีลาดกระบัง ไปยังสนามบินอู่ตะเภา พร้อมเชื่อมเข้าออกสนามบิน

โดยใช้เขตทางเดิมของการรถไฟฯ เป็นส่วนใหญ่ รวมระยะทาง 220 กม. มีผู้เดินรถรายเดียวกัน ซึ่งรถไฟความเร็วสูงมีความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง (สำหรับช่วงการเดินทางระหว่างเมือง คือ สถานีสุวรรณภูมิ ถึง สถานีอู่ตะเภา) และความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตร/ชั่วโมง (สำหรับช่วงการเดินทางในเมือง คือ สถานีดอนเมือง ถึง สถานีสุวรรณภูมิ) ประกอบไปด้วยสถานีรถไฟความเร็วสูงจำนวน 9 สถานี ได้แก่ สถานีดอนเมือง สถานีบางซื่อ สถานีมักกะสัน สถานีสุวรรณภูมิ สถานีฉะเชิงเทรา สถานีชลบุรี สถานีศรีราชา สถานีพัทยา และสถานีอู่ตะเภา

HighSpeedRail_Route

โครงสร้างทางวิ่งของโครงการ ประกอบไปด้วย ทางวิ่งโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ปัจจุบัน (ARL) ระยะทางประมาณ 29 กิโลเมตร และทางวิ่งที่ต้องก่อสร้างใหม่ประมาณ 191 กิโลเมตร โดยเบื้องต้นจำแนกลักษณะรูปแบบโครงสร้างทางวิ่งทั้งโครงการเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1) ทางวิ่งยกระดับระยะทางประมาณ 181 กิโลเมตร 2) ทางวิ่งระดับดินระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร และ 3) ทางวิ่งใต้ดินระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร

การพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟในพื้นที่มักกะสันของ รฟท. ประมาณ 150 ไร่ ต้องเป็นการพัฒนาร่วมไปกับการพัฒนารถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการสนับสนุนบริการรถไฟและบริการผู้โดยสาร รวมทั้งพื้นที่โดยรอบสถานีศรีราชา ประมาณ 25 ไร่ ซึ่งสามารถนำมาพัฒนาเชิงพาณิชย์ร่วมกับโครงการได้ทันที

แนวเส้นทางโครงการผ่านพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จ.สมุทรปราการ จ.ฉะเชิงเทรา จ.ชลบุรี และจ.ระยอง ใช้แนวเส้นทางระบบขนส่งมวลชนทางรางของโครงการเดิมและมีการออกแบบใหม่เฉพาะบริเวณเชื่อมต่อเข้าสนามบินสุวรรณภูมิ (ขาออก) และสนามบินอู่ตะเภา (ขาเข้า) โดยแนวเส้นทางโครงการประกอบด้วย 3 โครงการ คือ

1.โครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง (Suvarnabhumi Airport Link and City Air Terminal: ARL)
2.โครงการระบบรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ส่วนต่อขยาย ช่วงดอนเมือง-บางซื่อ-พญาไท (ARL Extension)
3.โครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพ-ระยอง

ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ (ก่อสร้างและให้บริการ) ให้เอกชนร่วมทุนฯ 50 ปี
e-book-1-503x62