ยันปล่อยกู้บ้านไร้เสี่ยง แบงก์ชี้สต๊อกส่วนเกินไม่ล้น จนเกิดฟองสบู่

18 ส.ค. 2561 | 07:33 น.
ธอส.ยันตลาดที่อยู่อาศัย ยังไม่เปราะบาง เน้นปล่อยกู้อยู่อาศัยจริง ให้วงเงิน LTV ไม่ชนเพดานรายได้ ส่วนซัพพลายส่วนเกินยังไม่น่าห่วง เหตุสร้างเพื่อล็อกต้นทุนไม่เน้นเก็งกำไร ด้านชสอ.แก้เกมระดมเงินฝาก ปรับโปรดักต์ใหม่จ่ายดอกเบี้ย 3.70% ทุกวงเงินหลังสหกรณ์ออมทรัพย์ฯแข่งจ่ายดอกเบี้ยแพง

ผลการประชุมร่วมกันระหว่างคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)และคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน(กนส.) เมื่อ 29 มิถุนายน ระบุว่า ระบบการเงินไทยยังมีความเปราะบางในบางจุดที่อาจมีนัยต่อเสถียรภาพในระยะข้างหน้า โดยให้ความสำคัญถึงภาคอสังหาริทรัพย์และพฤติกรรมการแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น โดยเฉพาะการแสวงหาผลตอบแทนผ่านสหกรณ์ออมทรัพย์ฯ ซึ่งยังคงมีอยู่ต่อเนื่อง

[caption id="attachment_295928" align="aligncenter" width="278"] คุณฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ ธอส. (13) ฉัตรชัย ศิริไล[/caption]

นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ความเปราะบางของตลาดที่อยู่อาศัยจะเกิดขึ้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ใน 2-3 ประเด็นคือ 1.วัตถุประสงค์การกู้เงิน หากเป็นการกู้เงินเพื่อเก็งกำไร โดยไม่มีความต้องการที่อยู่อาศัยแท้จริง(Real Demand) อาจเกิดความเปราะบางด้านความเสี่ยงได้ แต่การปล่อยสินเชื่อของธอส.จะดูความต้องการจริง จึงไม่น่ามีความกังวลแต่อย่างใด

ส่วนประเด็นที่ 2. อัตราส่วนการให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน(Loan to Value: LTV) ปัจจุบันธนาคารปล่อยในกลุ่มลูกค้ารายย่อย 85% และกลุ่มสวัสดิการ จะให้วงเงินตั้งแต่ 90-100% ขึ้นกับเงื่อนไขข้อตกลงที่ทำไว้กับสวัสดิการรายนั้นๆ ซึ่งถือว่า ยังอยู่ในหลักเกณฑ์ของธปท. และหากเทียบกับสถาบันการเงินอื่นจะพบว่า การปล่อยกู้ LTV มีสัดส่วนสูงขึ้นหรือให้ Top Up เพิ่มผ่านสินเชื่ออเนกประสงค์หรือสินเชื่อเพื่อการตกแต่ง ทำให้หนี้ปริ่มเพดานจนเกินไป ซึ่งหากลูกค้าได้รับผลกระทบภาวะเศรษฐกิจไม่สามารถผ่อนชำระได้ จะเป็นความเปราะบางอย่างหนึ่ง แต่ธอส.ไม่ปล่อยกู้จนหนี้ปริ่มเพดาน
ธถภฬศจ_1 และประเด็นที่ 3.ซัพพลายส่วนเกินนั้น ยังไม่มีซัพพลายส่วนเกินที่ล้นจนอาจเกิดเป็นภาวะฟองสบู่ เพราะการสร้างที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่ เพื่อล็อกต้นทุนการเงินไว้ จากแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้น ไม่ได้สร้างเพื่อเก็งกำไร ซึ่งอาจจะสร้างความเปราะบางได้ แต่ก็ยังไม่พบส่วนนี้ ขณะเดียวกันยอดสต๊อกคงค้างที่เหลืออาจกระจุกตัวเป็นบางทำเล ซึ่งไม่ได้น่ากลัว เพราะผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่ได้เน้นยอดปิดการขายทั้ง 100% หากมียอดขาย 60-70% แต่มีส่วนต่างกำไร(Margin) เล็กน้อย ผู้ประกอบการก็ค่อนข้างพอใจแล้ว

“แม้แนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้น เราพยายามจะตรึงดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับเดิมไปจนถึงเดือนสิงหาคม และจะทบทวนปรับอีกครั้ง ซึ่งในภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นในตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัย จะเห็นการปรับเปลี่ยนดอกเบี้ยเป็นลอยตัว โดยระยะแรกอาจเห็นดอกเบี้ยคงที่สั้นลง จากเดิมเฉลี่ย 3 ปี อาจเหลือ 2 ปี”

MP24-3381-A

นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)กล่าวสั้นๆว่า ธนาคารให้ความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยอยู่แล้ว แต่โอกาสการขยายตัวยังไม่มีปัญหา

นายณัฐพล ลือพร้อมชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ธนาคารกรุงศรีอยุธยากล่าวว่า ธนาคารตั้งเป้าเติบโตสินเชื่อบ้านแบบยั่งยืนโดยตั้งกรอบสินเชื่อใหม่ต่อปีไม่เกิน 5-7 หมื่นล้านบาท เพื่อรักษาฐานลูกค้าและยอดคงค้างและสัดส่วนหนี้เอ็นพีแอลให้มีเสถียรภาพ ที่สำคัญธนาคารจะทำงานร่วมกับผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ในการคัดกรองคุณภาพลูกค้าก่อนอนุมัติสินเชื่อ และหลังจากกรองลูกค้าแล้วจะมีการสรุปทิศทางรายเดือนว่าดีหรือแย่ลงและแก้ไขร่วมกัน

“หากดูจากพอร์ตของกรุงศรีฯเราไม่มีปัญหาเรื่องคุณภาพสินเชื่อบ้าน โดยหนี้เอ็นพีแอลอยู่ที่ 2.4-2.6% แนวโน้มเชื่อว่าจะปรับลดลงรวมถึงหนี้จัดชั้นที่กล่าวถึงพิเศษหรือ SM ยังคงปกติและมีการทำงานกับลูกค้าในการวางแผนการเงินปรับโครงสร้างหนี้เพื่อผ่อนค่างวดได้ไม่มีปัญหา”
money house from the coins
ด้านนายวีระ วงศ์สรรค์ ประธานกรรมการชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์(ชสอ.)กล่าวว่า ชสอ.ได้ปรับโปรดักต์เงินฝากใหม่ตั้งแต่ วันที่ 3 พฤษภาคม-3 สิงหาคม 2561สำหรับเงินฝากประจำ 5 ปี หรือ 60 เดือน โดยเปิดรับเงินฝากตั้งแต่ 1ล้านบาทขึ้นไป อัตราดอกเบี้ยจ่ายที่ 3.70% สำหรับทุกวงเงินฝากโดยตั้งเป้า 3 เดือนจะระดมเงินฝากได้ 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งช่วงเดือนเศษที่ผ่านมา มีเงินไหลเข้ามาแล้ว 1,300-1,400 ล้านบาท อย่างไรก็ตามโดยรวม 6 เดือนแรกของปีมีเงินฝากเข้ามาแล้ว 1 หมื่นล้านบาท

“ช่วงนี้เงินฝากไหลเข้าชสอ.น้อย เพราะสหกรณ์ออมทรัพย์ที่มีเงินเหลือจะหันมาช่วยเหลือกันด้วยการรับฝากเงินและกู้ระหว่างกัน ซึ่งบางแห่งจ่ายดอกเบี้ยเงินฝากแพงกว่าชสอ.เช่น อัตรา 4.20% ส่วนที่มีสหกรณ์ออมทรัพย์ขนาดใหญ่พึ่งพาเงินกู้ยืมระยะสั้น ถือเป็นการบริหารจัดการต้นทุนโดยใช้เงินกู้ยืมดอกเบี้ยถูก เพื่อรักษาระดับกำไรหรือจ่ายเงินปันผลกับสมาชิก ซึ่งเงินกู้ยืมระยะสั้น จะคิดดอกเบี้ยกันที่ 3.7-3.8% ต่อปี ส่วนเงินกู้ระยะ 1 ปีก็จะคิดไม่ถึง 4% ขณะที่ระยะกลางและระยะยาว อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 4.25% ยังถูกกว่าเงินกู้สถาบันการเงิน”

หน้า 23-24 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,381 วันที่ 8 - 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2561