ข้าวตราฉัตร ยกระดับเกษตรกรสมาชิกสู่ ‘Smart Farmer’

15 ก.ค. 2561 | 11:39 น.
ข้าวตราฉัตรพร้อมยกระดับเกษตรกรสมาชิกสู่การเป็น “Smart Farmer” หรือต้นแบบเกษตรกรไทยยุคใหม่ ด้วยองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกข้าว ศึกษากระบวนการปรับปรุงคุณภาพข้าวในทุกขั้นตอนที่โรงงานปรับปรุงคุณภาพข้าวตราฉัตร อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อตอกยํ้ามาตรฐานข้าวไทยด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย และระบบขนส่งทางนํ้าแห่งแรกในประเทศไทยที่ช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

คุณฐิติ ลุจินตานนท์ รองกรรมการ ผู้จัดการบริหาร การค้าข้าวในประเทศและต่างประเทศ ธุรกิจอาหารและสินค้าทั่วไป บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด หรือ ข้าวตราฉัตร เผยว่า การพากลุ่มเกษตรกรเข้าเยี่ยมชมโรงงานปรับปรุงคุณภาพข้าวตราฉัตร อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา ในวันนี้สามารถสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกรสมาชิกหรือผู้ปลูกข้าวให้กับเราได้เป็นอย่างดีว่า กระบวนการปรับปรุงคุณภาพของเรานั้นมีมาตรฐานระดับสากล และเชื่อมั่นว่า
ทุกผลผลิตของเกษตรกรทุกเมล็ดจะส่งมอบถึงมือผู้บริโภคด้วยคุณภาพ ความปลอดภัยและสดใหม่อย่างน่า
รับประทานในทุกวัน

MON_5415

สำหรับภาพรวมของ โรงงานปรับปรุงคุณภาพข้าวตราฉัตร อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นกิจการหนึ่งของบริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด ทำหน้าที่ตรวจสอบ คัดและปรับปรุงและบรรจุข้าวเพื่อจัดจำหน่ายทั้งภายในและต่างประเทศ ภายใต้แบรนด์สินค้า ข้าวตราฉัตร และอีกหลากหลายแบรนด์สินค้า โดยมีกำลังผลิตอยู่ที่ 1,080,000 ตันต่อปี มีคลังสินค้าขนาดใหญ่สามารถจัดเก็บวัตถุดิบได้ 240,000 ตัน ภายในโรงจัดเก็บสินค้าได้ออกแบบพิเศษ เพื่อให้อากาศภายในสามารถถ่ายเทได้ดี ช่วยให้วัตถุดิบอย่างข้าวที่จัดเก็บคงคุณภาพได้นานขึ้นและมีประสิทธิภาพสูงสุด ขณะที่ภายในอาคารผลิตมีการแบ่งการทำงานอย่างชัดเจน มีการจัดการที่ดีในการผลิต โดยเฉพาะเครื่องจักรที่นำมาใช้มีเสถียรภาพในการผลิตที่สูงและทันสมัย

อย่างไรก็ดีโรงงานปรับปรุงคุณภาพข้าวตราฉัตรให้ความสำคัญด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยด้วยการออกแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตลอดกระบวนการผลิต เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมที่ดีให้กับชุมชนรอบโรงงาน อีกทั้งยังมีทางเดินใต้ดินเชื่อมกับสำนักงานและอาคารผลิตเพื่อความปลอดภัยของพนักงานในการปฏิบัติงาน ไม่เพียงเท่านั้นเครื่องจักรและระบบซอฟตแวรที่ทันสมัย ภายในกระบวนการมีผู้เชี่ยวชาญเข้าตรวจสอบอย่างเข้มงวดทำให้ในทุกขั้นตอนมีมาตรฐานสูงสุดยิ่งไปกว่านั้นยังต่อยอดสู่งานวิจัยต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่กระจายตัวอยู่มากกว่า 100 ประเทศทั่วโลก นำทางสู่การเป็นศูนย์กลาง การเรียนรู้ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีการผลิตข้าวไทยอย่างแท้จริง

นอกจากการเยี่ยมชมโครงการ ภายในงานยังมีเสวนาจากตัวแทนกลุ่มเกษตรกรสมาชิก ฉายภาพรวมในหัวข้อ “Smart Farmer หรือต้นแบบเกษตรกรไทยยุคใหม่

โดยคุณสุทัศน์ โถทอง โครงการสมาชิกเกษตรกรนาแปลงใหญ่ จังหวัดศรีสะเกษ เผยว่า การได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกตนและกลุ่มเกษตรกรในชุมชนได้รับการถ่ายทอดความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเริ่มตั้งแต่พันธุ์ข้าว การดูแลรักษาบำรุงพื้นดิน รวมทั้งความปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตามที่ GAP หรือ การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม กำหนด ที่สำคัญหลังจากการเก็บเกี่ยวมีตลาดเข้ามารองรับ ในราคาเหมาะสม

MON_5376

ด้านคุณตี๋ แบนอาภัย โครงการสมาชิกนาแปลงใหญ่ จังหวัดเชียงราย เผยว่า สำหรับข้าวญี่ปุ่นนั้นเริ่มได้รับความสนใจในตลาดผู้บริโภค โดยเฉพาะตามร้านอาหาร แต่ข้าวพันธุ์ดังกล่าวมีขีดจำกัดในพื้นที่ของการปลูก เพราะต้องอยู่ในสภาพอากาศที่เย็น ซึ่งก่อนหน้านี้เคยทดลองปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือแต่ไม่ประสบความสำเร็จ
จนกระทั่งมาบรรลุตามเป้าหมายเมื่อปลูกที่เชียงราย และจังหวัดต่างๆ ของภาคเหนือในอนาคต โดยสิ่งที่ข้าวตราฉัตรเข้ามาเติมเต็มไม่ได้มีแต่พันธุ์ข้าวองค์ความรู้ แต่ยังนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ ทั้งการประเมินคุณภาพทรัพยากร ปรับพื้นดิน รวมทั้งมีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด ที่สำคัญคือการรับซื้อและหาตลาดเพิ่มเติมเพื่อรองรับปริมาณการผลิต

“การเป็นสมาชิกเกษตรกรจากทางข้าวตราฉัตร ได้รับความสะดวกสบายและความรู้อย่างหลากหลาย โดยเฉพาะการรับซื้อ หาตลาด และนำเมล็ดพันธุ์ใหม่ๆ มาทดลองปลูกอยู่เสมอ เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคอย่างครอบคลุม ที่สำคัญยังได้เปิดโลกทัศน์ในการเรียนรู้ผ่านการพูดคุย เยี่ยมชมและแลกเปลี่ยนปัญหา อุปสรรคในแต่ละ
ท้องที่มาช่วยกันแก้ ช่วยกันคิดและผลิตข้าวให้ออกมาตรงความต้องการของตลาด บนกรอบพื้นฐานความปลอดภัย มีคุณภาพตามมาตรฐาน”

ในมิตินี้คุณไตรรัตน์ อุดมศิริ รองกรรมการผู้จัดการ งานพัฒนาวัตถุดิบต้นนํ้า ข้าวตราฉัตร เผยว่า การปรับตัวสู่รูปแบบ Smart Farmer ไม่ใช่เรื่องใหม่หรือเรื่องยากในทางกลับกันการปรับตัวจะช่วยสร้างประโยชน์ต่อเกษตรกร เพราะเมื่อเกษตรกร มีองค์ความรู้ในด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมนำไปผสมผสานกับความรู้พื้นถิ่นที่โดดเด่นจะช่วยทำให้ผลผลิตมีคุณภาพ ลดต้นทุนการผลิต ไม่เพียงเท่านั้นการทำงานร่วมกันจะเกิดการต่อยอด และตอบรับความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ พร้อมกับการพัฒนาของ ข้าวตราฉัตรต่อจากนี้จะนำเอาเทคโนโลยีมาปรับใช้มากยิ่งขึ้นในทุกขั้นตอน ตอบโจทย์ การเป็น “Smart Farmer” หรือต้นแบบเกษตรกรไทยยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์

และนี่คือหนึ่งก้าวของผู้นำข้าวเบอร์หนึ่งของไทย โรงงานปรับปรุงคุณภาพข้าวตราฉัตร อ.นครหลวง จ.พระนครศรี-อยุธยา HOME of WORLD BEST RICE โรงงานผลิตข้าวขนาดใหญ่และทันสมัยที่สุดในโลก

หน้า 26-27 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,381 วันที่ 5 - 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

e-book-1-503x62