ตรึงดอกยาวถึงสิ้นปี! ปล่อยเงินร้อนไหลออก กดค่าเงินบาทอ่อน

02 ก.ค. 2561 | 10:57 น.
020761-1738

[caption id="attachment_294634" align="aligncenter" width="503"] อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง[/caption]

'อภิศักดิ์' มั่นใจเศรษฐกิจไทยแกร่ง! มีความมั่นคงทางการคลัง ทุนสำรองสูงถึง 36 เท่าของหนี้ระยะสั้น ไม่กลับไปสู่วิกฤติเศรษฐกิจซ้ำรอยปี 40 พร้อมปล่อยเงินทุนระยะสั้นไหลออก กดเงินบาทอ่อนค่า ระบุ ตรึงดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 1.5% ถึงสิ้นปี

นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้สัมภาษณ์ "ฐานเศรษฐกิจ"
 ว่า ขณะนี้สัญญาณเศรษฐกิจไทยดีมาก หากเทียบกับการเข้าบริหารประเทศในช่วง 4 ปี 2 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งไตรมาสสุดท้ายที่ผ่านมา เศรษฐกิจทุกภาคส่วนมีการเจริญเติบโต จากก่อนหน้านี้ที่บางไตรมาสติดลบสลับกัน โดยช่วงแรกที่เข้ามานั้น อยากเห็นเศรษฐกิจไทยเติบโตเต็มศักยภาพประมาณ 4-5% จากที่เคยเติบโตในระดับ 0.9%


P1-INFO-3379

เงินร้อนไหลออกกดบาทอ่อน
ขณะเดียวกัน ยังมั่นใจว่า ไม่มีโอกาสที่ประเทศจะกลับไปสู่ภาวะวิกฤติเศรษฐกิจเหมือนปี 2540 เพราะด้วยสถานการณ์ความมั่นคงทางการคลัง ทุนสำรองระหว่างประเทศที่เข้มแข็ง ขณะที่ นักลงทุนต่างประเทศที่ลงทุนในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ มองว่า เครดิตของประเทศไทยเป็นระดับ AAA ของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่

หากนักลงทุนต่างประเทศจะลงทุนในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่มองเป็นอันดับแรก ทำให้ 2 ปีที่ผ่านมา มีเงินไหลเข้ามาลงทุนมาก ทำให้ค่าเงินบาทแข็ง ส่งผลกระทบกับการส่งออกและบางอุตสาหกรรม แต่ปัจจุบัน เริ่มมีเงินทุนไหลออกค่าเงินบาทจึงเริ่มอ่อนค่ากลับมาสู่ความเป็นจริง ส่วนดอกเบี้ยนโยบายคาดว่าจะคงอยู่ระดับ 1.5% ถึงสิ้นปี

"ตอนนี้ปล่อยให้เงินร้อนไหลออกไปบ้าง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเงินลงทุนระยะสั้นและหลักทรัพย์ ซึ่งนอกจากเงินทุนเหล่านั้นจะไหลกลับไปสหรัฐฯ เนื่องจากสหรัฐฯ จะมีการขึ้นดอกเบี้ย"


app12994452_s

อีกสาเหตุที่ต่างชาติขายหุ้นในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ คือ เพื่อรักษาระดับการลงทุนในดัชนี MSCI หลังจากปีที่ผ่านมา ตลาดหุ้น A-SHARE ของจีนถูกรวมเข้าไปในดัชนี MSCI ซึ่งมีน้ำหนักมาก ดังนั้น นักลงทุนต่างประเทศจึงปรับพอร์ตขายหุ้นในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ไปลงทุนที่จีน เพื่อรักษาระดับการลงทุนในดัชนี MSCI ทำให้เกิดเงินทุนไหลออก


มั่นใจเศรษฐกิจไทยแกร่ง
สำหรับสถานการณ์เงินทุนไหลออกในประเทศไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ยอมรับว่า มีบ้าง แต่น้อยเมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ และมั่นใจว่า การไหลออกของเงินทุนต่างประเทศจะไม่กระทบกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของไทย เพราะเมืองไทยยังมีทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศสูงถึง 3.6 เท่าของหนี้ระยะสั้น เมื่อเทียบกับปี 2540 ในตอนนั้น มีเพียง 0.8 เท่า อีกทั้งยังขาดดุลการค้า แต่ขณะนี้เกินดุลการค้าค่อนข้างมาก จึงเห็นได้ชัดว่า สถานะแตกต่างกันมาก เมื่อเทียบกับปี 2540 กับปัจจุบัน


app12994465_l

ส่วนปัจจัยเสี่ยงทางเศรษฐกิจของไทย ไม่น่าจะมีประเด็นอะไร เพราะมีพื้นฐานการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจดี มีแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เราซึ่งใช้เวลา 1-2 ปี เชื่อว่ากำลังซื้อจะค่อย ๆ กลับมา เช่นเดียวกับการลงทุน เห็นได้จากยอดขายปูนซีเมนต์ขยายตัว 8.1% และราคาวัสดุก่อสร้างปรับตัวเพิ่มขึ้น และในอนาคตก็มีอีอีซีจะเป็น New Engine ทุกอย่างดูดี ส่วนใหญ่ปัจจัยเสี่ยงอาจจะมาจากปัจจัยต่างประเทศ สงครามการค้า

"เงินไหลออกนั้น เราอยากให้ออกตอนนี้แบงก์ชาติทุนสำรองมหาศาล ไม่น่าจะมีอะไรต้องกังวล เพราะโดยรวมยังมีเงินไหลเข้ามากกว่าไหลออก โดยเฉพาะเงินไหลเข้าจากการค้าที่ไม่ใช่เงินร้อน"


mp17-3248-a

ไม่พบสัญญาณวิกฤติการเงิน
ด้าน นายแซมมี่ ชาร์ หัวหน้าทีมนักเศรษฐศาสตร์ จากลอมบาร์ด โอเดียร์ กล่าวถึงข้อกังวลเกี่ยวกับเงินทุนไหลออก จนอาจลุกลามเป็นวิกฤติรอบใหม่ ว่า หากวิกฤติจะเกิดขึ้นจะต้องอยู่ภายใต้ 3 สัญญาณด้วยกัน คือ 1.เศรษฐกิจทั่วโลกอ่อนแอ แต่ปัจจุบันพื้นฐานเศรษฐกิจดี ทั้งสหรัฐฯ ยูโรโซน เติบโตเฉลี่ย 2% เช่นเดียวกับเอเชียเติบโตได้ดี

2.เริ่มเห็นกำไรภาคเอกชนลดลง เพราะค้าขายไม่ได้ แต่ปัจจุบัน บริษัทเอกชนมีกำไรค่อนข้างดี ดูจากตัวเลขผลประกอบการบริษัทเอกชนในสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาดการณ์ 3.ต้นทุนอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นสูง ทำให้คนไม่กู้และไม่ใช้จ่าย หากดูจากสถานการณ์ปัจจุบัน ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ขึ้นดอกเบี้ย เพื่อเข้าสู่ภาวะปกติ ขณะที่ ดอกเบี้ยปัจจุบัน 2% ถือว่าต้นทุนถูกมากและอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งเป็นระดับที่ไม่ทำลายเศรษฐกิจ


appTP14-3184-A

อย่างไรก็ดี ในช่วง 2-3 ปีข้างหน้านี้ อาจจะมีสัญญาณใน 3 เรื่องนี้ สะท้อนออกมา หรือ เกิดขึ้นได้ เช่น การขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด หากมีการปรับการขึ้นเร็วและแรงจะกระทบต่อการค้าขายได้ และกระทบต่อเศรษฐกิจ โดยในช่วง 2 ปีหลังจากนี้ จะมีความผันผวนมากขึ้น ดังนั้น อาจจะต้องลดสัดส่วนการลงทุนในตลาดหุ้นที่มีความผันผวนก่อน หรือ จัดพอร์ตการลงทุนให้สมดุลผ่าน 5 ประเภทการลงทุน เช่น หุ้นประเทศพัฒนาแล้ว หุ้นประเทศกำลังพัฒนา พันธบัตรรัฐบาลทั่วโลกหุ้นกู้เอกชนและสินค้าโภคภัณฑ์

ส่วนตลาดเกิดใหม่ที่เผชิญแรงเทขายสินทรัพย์เสี่ยงและเงินทุนไหลออกนั้น มองว่าเป็นผลมาจากความกังวลของนักลงทุนในเรื่องของสงครามการค้า ส่งผลให้มีเงินไหลออกบ้าง แต่หากดูจะพบว่า ในช่วง 1 ปีครึ่งที่ผ่านมา ตลาดเกิดใหม่และไทยมีเงินไหลเข้าสุทธิมากกว่าไหลออกสุทธิ แม้ว่าจะมีแรงกดดันต่อราคาสินทรัพย์เสี่ยง แต่เชื่อว่าหลังตลาดคลายความกังวล หรือ ภายใน พ.ย. ปีนี้ เงินน่าจะไหลกลับเข้ามา


SGF

ดอกเบี้ยไทยไม่สูงมาก
ขณะเดียวกัน หากดูเศรษฐกิจไทยมีอัตราการเติบโตค่อนข้างดี สะท้อนผ่านกิจกรรมทางเศรษฐกิจทางด้านการลงทุน การส่งออก และท่องเที่ยวยังขยายตัวได้ดี และในเชิงอัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับไม่สูงมากที่ 1.5% ซึ่งสนับสนุนการค้าการลงทุน มีส่วนหนุนให้เศรษฐกิจเติบโต ขณะที่ ดุลบัญชีเดินสะพัดและเงินทุนสำรองระหว่างประเทศค่อนข้างเข้มแข็ง จึงไม่ได้รับผลกระทบจากเงินทุนไหลออก

นายเชาว์ เก่งชน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2561 มาอยู่ที่ 4.5% จากเดิมอยู่ที่ 4% เนื่องจากเศรษฐกิจเติบโตในวงกว้างมากขึ้น โดยในไตรมาสที่ 2 จะขยายตัวที่ระดับ 4.2% และในไตรมาสที่ 3 และ 4 ขยายตัวในระดับ 4.5%


……………….
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,379 วันที่ 1-4 ก.ค. 2561 หน้า 01-02

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
กรุงศรีคาดเงินบาทสัปดาห์นี้ เคลื่อนไหวในกรอบ 32.85-33.25 บ.ต่อดอลลาร์
เงินบาทฟื้นตัวที่ระดับ  32.90-33.20 บาทต่อดอลลาร์ฯ ตลาดยังกังวลความขัดแย้งสหรัฐฯและจีน


e-book-1-503x62-7