‘พิศิษฐ์’ เตือนรายย่อยทำประกันส่งออกอย่าลุ้นบาทอ่อนต่อ

05 ก.ค. 2561 | 04:15 น.
ท่ามกลางแรงกดดันจากการดำเนินนโยบายการค้าระหว่างประเทศของประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอย่างสหรัฐอเมริกากับจีน ในการตั้งกำแพงภาษีในสินค้าส่งออกบางประเภท กำลังก่อให้เกิดความกังวลว่า จะกลายเป็นสงครามการค้า ไทยแม้จะไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง แต่ก็หลีกเลี่ยงผลทางอ้อมได้ยาก โดยเฉพาะเศรษฐกิจที่ต้องพึ่งพาการส่งออกสูงเกือบ 70%

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) หรือ EXIM BANK หนึ่งในกลไกภาครัฐในการดูแลผู้ส่งออกและนำเข้าของไทย โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มที่ยากต่อการเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน การหาตลาดส่งออกใหม่ๆในการสร้างรายได้เข้าประเทศ

โอกาสก้าวเข้าสู่ปีที่2 ของยุทธศาสตร์ 10 ปี (2560-2570) ที่ธสน.วางเป้าหมายเป็นกลไกสำคัญในการหาตลาดใหม่ สำหรับผู้ประกอบการควบคู่กับการเสริมความรู้ในทุกมิติ รวมถึงความเสี่ยงให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 โดยมุ่งยกระดับผู้ประกอบการไทยขยายธุรกิจออกไปต่างประเทศ

[caption id="attachment_294473" align="aligncenter" width="503"] พิศิษฐ์2 (1) พิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา[/caption]

“พิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา” กรรมการผู้จัดการ ธสน.ให้สัมภาษณ์“ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ภาพรวมการส่งออกไทยปีนี้ มีโอกาสขยายตัว 9% จากปีที่ผ่านมา เหตุผลจากเศรษฐกิจประเทศหลักๆ ฟื้นตัว ซึ่งผู้ส่งออกไทยมีส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ในประเทศเหล่านี้ราว30-40%ขณะเดียวกันได้กระจายตลาดไปในจีนประมาณ20%และแถบประเทศอาเซียน 25%แต่ก็มีปัจจัยลบที่ต้องติดตามทั้งเรื่องกีดกันทางการค้า และแนวโน้มการปรับดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ ซึ่งจะเห็นว่า ผลกระทบด้านลบได้ส่งสัญญาณแล้ว 1-2 เดือนที่ผ่านมาทั้งตลาดหุ้นและตลาดเงิน โดยจะเห็นเงินทุนเคลื่อนย้ายออกจากประเทศด้อยพัฒนา อย่าง ลาตินอเมริกา แอฟริกาบางส่วนรวมทั้งไทย ซึ่งเป็นปัจจัยกดดันเงินบาทให้อ่อนค่า

“รัฐบาลพยายามอย่างต่อเนื่องในการออกมาตรการต่างๆ  เพื่อสนับสนุนเอสเอ็มอี ดังนั้นเรื่องวงเงินสินเชื่อเพื่อเอสเอ็มอีไม่ได้ขาด แต่ประเด็นหลักคือ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีต้องปรับตัวให้ทันกับเทคโนโลยีซึ่งเราดีใจที่เห็นกลุ่มรายเล็กซื้อประกันส่งออกเพิ่มขึ้น อย่าลุ้นว่าบาทจะอ่อนต่อ”

นอกจากนั้นภัยธรรมชาติและอื่นๆทั้งจากเรื่องการเมืองในหลายประเทศจะมีการเลือกตั้ง หรือเทคโนโลยีที่จะเข้ามา Disruption จึงแนะนำให้ผู้ส่งออก ไม่ว่าจะซื้อหรือขาย Forward อยากให้ซื้อประกันการส่งออกให้มากขึ้น ซึ่งปกติการอนุมัติสินเชื่อจะบวกวงเงิน Forward ด้วย โดยเฉพาะการส่งออกไปในประเทศ ที่ไม่มีสาขาของธนาคารไทยในประเทศนั้นๆ ผู้ประกอบการสามารถติดต่อกับธสน.เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากค่าเงิน หรือ ความเสี่ยงจากการไม่ได้รับชำระค่าสินค้าหรือบริการจากคู่ค้าหรือผู้ซื้อ รวมถึงประกันความเสี่ยงจากการเมืองที่มีโอกาสปรับเปลี่ยนนโยบายของแต่ละประเทศเพราะอาจเกิดการสะดุดของผู้ซื้อหรือคู่ค้าที่ปรับตัวไม่ทันต่อปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว

โปรโมทแทรกอีบุ๊ก-6

สำหรับความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับชำระค่าสินค้านั้น แม้มูลค่าความเสียหายไม่สูง แต่สถานการณ์ช่วง5เดือนที่ผ่านมาพบว่า รุนแรงเนื่องจากมีผู้ประกอบการไม่ได้รับชำระค่าสินค้าเพิ่มเป็นจำนวน 10รายมูลค่า83 ล้านบาท ซึ่งเทียบกับทั้งปีก่อนอยู่ที่12 รายมูลค่า78 ล้านบาทส่วนยอดสินเชื่อคงค้างสิ้นเดือนพฤษภาคม มีจำนวน93,791ล้านบาท เติบโตในอัตรา2% คาดว่าสิ้นเดือนมิถุนายน จะขยับเป็น4% และทั้งปี ยอดสินเชื่อคงค้างจะมีจำนวน1 แสนล้านบาท โดยสินเชื่อใหม่เพิ่มสุทธิ9,000 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่สินเชื่อจะเพิ่มในครึ่งปีหลัง

ด้านหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล) อาจสูงขึ้นเล็กน้อย ส่วนหนึ่งมาจากการขยายฐานลูกค้าเอสเอ็มอีเพิ่มขึ้น แต่จะพยายามดูแลไม่ให้เกิน4% จากปัจจุบันมูลค่า3,000 ล้านบาทคิดเป็น3.36%โดยที่ทั้งปีนี้จะรักษาระดับกำไรไว้ที่ 1,420 ล้านบาท ซึ่งช่วงที่เหลือ ธนาคารเตรียมออกผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อช่วยผู้ส่งออกขนาดกลางในการจำหน่ายสินค้า และจะทำงานร่วมกับธนาคารพาณิชย์ในการรับประกันการส่งออก

ด้านนโยบายสาขาปีนี้ อยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ที่จะเปิดสาขาใหม่โดยเฉพาะประเทศที่ธนาคารพาณิชย์ไทยยังไม่เข้าไปเปิดสาขาคาดว่า จะใช้เวลาศึกษา ราว1-2 ปีนอกจากในกลุ่มประเทศ CLMV ที่ตั้งใจจะเปิดประเทศละ1 สาขาแล้วยังมี จีน อินโดนีเซีย และแอฟริกา

หน้า 23-24 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,379 วันที่ 1 - 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

e-book-1-503x62-7