รัฐทุ่ม 4 แสนล้านบาท สร้างขีดแข่งขันประเทศ

01 ส.ค. 2561 | 10:21 น.
697729.sfjp1wfqenp.n3 รายงานผลจัดอันดับความสามารถการแข่งขันของประเทศจาก World Com petitiveness Center ของ Inter national Institute for Management Development (IMD) สวิตเซอร์แลนด์ ประจำปี 2561 พบว่า ปี 2561 อันดับความสามารถการแข่งขันของไทยตกมาอยู่ที่ 30 จากลำดับที่ 27 เมื่อปี 2560 จากทั้งหมด 63 เขตเศรษฐกิจทั่วโลก

เมื่อเปิดดูยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณปี 2562 ของรัฐบาลทั้ง 6 ด้านนั้น พบว่าได้ตั้งกรอบวงเงินเพื่อขับเคลื่อนแผนงานยุทธศาสตร์สร้างความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไว้ที่ 406,496 ล้านบาท ในจำนวนนี้ได้กำหนดแผนงานบูรณาการเกี่ยวเนื่องกับยุทธศาสตร์ด้านนี้ไว้ 10 แผนงานจากทั้งหมด 24 แผนงานดังนี้

ปั้นอุตฯ-สร้างสมดุลท่องเที่ยว

1. การพัฒนาอุตสาหกรรมศักยภาพ นโยบายจัดสรรงบจะเน้นยกระดับผลิตภาพอุตสาหกรรมศักยภาพ ส่งเสริมการลงทุนและเสริมสร้างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เอื้อต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมศักยภาพ เช่น ปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อลดอุปสรรคทางธุรกิจ พัฒนาห้องปฏิบัติการและศูนย์ทดสอบมาตรฐาน และพัฒนากลไกสนับสนุนการสร้างอุตสาหกรรม เช่น จัดตั้งศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ เป็นต้น

โดยหน่วยงานที่ได้รับจัดสรร อาทิ ก.อุตสาหกรรม 764 ล้านบาท, ก.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 294 ล้านบาท, ก. แรงงาน 206 ล้านบาท, สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) 72 ล้านบาท, สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย 64 ล้านบาท, ก.ศึกษาธิการ 53 ล้านบาท, ก.สาธารณสุข 34 ล้านบาท และก.พาณิชย์ 33 ล้านบาท

2. สร้างรายได้จากการท่องเที่ยว กีฬาและวัฒนธรรม ตั้งเป้าปี 2562 มีรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นไม่ตํ่ากว่า 3 ล้านล้านบาท และอันดับขีดความสามารถการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวอยู่ในอันดับไม่ตํ่ากว่า 30 ของโลก โดยเน้นเร่งพัฒนาคุณภาพ ฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศและแหล่งท่องเที่ยวในเขตพัฒนาท่องเที่ยว (คลัสเตอร์) ตามศักยภาพของพื้นที่ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ยกระดับสินค้าและบริการ ปัจจัยสนับสนุน อาทิ อุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ สร้างสมดุลท่องเที่ยวไทยผ่านการ ตลาดเชิงรับและเชิงรุกในตลาดกลุ่มคุณภาพ และตลาดเฉพาะกลุ่ม ฯลฯ

มีหน่วยงานที่ได้รับจัดสรรงบ อาทิ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 4,845 ล้านบาท, ก.วัฒนธรรม และหน่วยงานในกำกับ 1,141 ล้านบาท, ก.การท่องเที่ยวและกีฬา 1,048 ล้านบาท, ก.คมนาคม 929 ล้านบาท, ก.มหาดไทย 327 ล้านบาท, สำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) 66 ล้านบาท, องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) 106 ล้านบาท และ ก.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 82 ล้านบาท
257312 เพิ่มรายได้เกษตรกร-ช่วย SME

3. พัฒนาศักยภาพการผลิตภาคการเกษตร เพื่อเพิ่มอัตราการขยายตัวของภาคเกษตร 3% รวมถึงเพิ่มรายได้เงินสดสุทธิของเกษตรกรไม่น้อยกว่า 61,000 บาท/ครัวเรือน/ปี พื้นที่เกษตร กรรมยั่งยืนเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 7 แสนไร่ และพื้นที่เกษตรกรแปลงใหญ่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 1,000 แปลง และพัฒนาระบบเกษตรกรรมอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยส่งเสริมการทำเกษตรกรทฤษฎีใหม่ เกษตรอินทรีย์ เกษตรกรผสมผสาน เกษตรธรรมชาติและวนเกษตร

รวมถึงการใช้เทคโนโลยีการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและลดการใช้สารเคมี เป็นต้น โดยหน่วยงานที่ได้รับจัดสรร เช่น ก.เกษตรและสหกรณ์ 7,449 ล้านบาท, องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร 74 ล้านบาท, องค์การสะพานปลา  93 ล้านบาท, ก.ศึกษาธิการ และหน่วยงานในกำกับ 138 ล้านบาท และ ก.พาณิชย์ 129 ล้านบาท

4. พัฒนาผู้ประกอบการเศรษฐกิจชุมชน และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสู่สากล เป้าหมายเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมากยิ่งขึ้น โดยวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รับการพัฒนาสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ไม่น้อยกว่า 9 หมื่นล้านบาท ซึ่งรัฐบาลจัดสรรงบประมาณให้กับหลายหน่วยงาน อาทิ

ก.วิทยาศาสตร์ฯ และหน่วยงานในกำกับ 1,257 ล้านบาท, กองทุนและเงินทุนหมุนเวียน 975 ล้านบาท, ก.อุตสาหกรรม 537 ล้านบาท, ก.พาณิชย์ และหน่วยงานในกำกับ 215 ล้านบาท, ก.ศึกษาธิการ 202 ล้านบาท, สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) 56  ล้านบาท, ก.แรงงาน 47 ล้านบาท และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย 43 ล้านบาท

ขับเคลื่อนพื้นที่ศก.พิเศษ

5. พัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยจัดระบบโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และความมั่นคง รวมถึงระบบบริการที่เกี่ยวข้องที่ได้มาตรฐานเพื่อจูงใจผู้ประกอบการมาลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ 10 พื้นที่ให้ได้ตามแผนไม่น้อยกว่า 70% ซึ่งจัดสรรงบประมาณให้กับหน่วยงานต่างๆ อาทิ ก.คมนาคม 7,067 ล้านบาท, ก.การคลัง 1,192 ล้านบาท, ก.มหาดไทย 397 ล้านบาท, ก.สาธารณสุข 305 ล้านบาท, การประปาส่วนภูมิภาค 18 ล้านบาท, การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 247 ล้านบาท, ก.แรงงาน 88 ล้านบาท, ก.เกษตรและสหกรณ์ 50 ล้านบาท, ก.พาณิชย์ 29 ล้านบาท, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 27 ล้านบาท และ ก.อุตสาหกรรม 7 ล้านบาท

ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนการแปลงแผนและผังพัฒนาสู่การปฏิบัติ ให้บริการด้านข้อมูลที่จำเป็นแก่นักลงทุน สร้างความรู้ความเข้าใจให้ประชาชนในพื้นที่การพัฒนา อาทิ พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษที่จังหวัดตาก เชียงราย มุกดาหาร หนองคาย สระแก้ว กาญจนบุรี ตราด สงขลา และนราธิวาส

6. การขับเคลื่อนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก รัฐบาลตั้งเป้าจะมีมูลค่าการลงทุนในพื้นที่นี้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 10% ในปี 2562 ซึ่งได้จัดสรรงบให้กับหลายหน่วยงานเพื่อขับเคลื่อนแผนงานต่างๆ อาทิ ก.คมนาคม 11,144 ล้านบาท, สถาบันการบินพลเรือน 38 ล้านบาท, การรถไฟแห่งประเทศไทย 169 ล้านบาท, การประปาส่วนภูมิภาค 1,671 ล้านบาท, ก.กลาโหม 517 ล้านบาท, ก.มหาดไทย 359 ล้านบาท

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 69 ล้านบาท, สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 270 ล้านบาท, สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล 321 ล้านบาท, ก.ศึกษาธิการ และหน่วยงานในกำกับ 110 ล้านบาท, ก.สาธารณสุข 64 ล้านบาท, ก.แรงงาน 53 ล้านบาท และสำนักนายกฯและหน่วยงานในกำกับ 50 ล้านบาท

ลุยโลจิสติกส์-สังคมดิจิตอล

7. พัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ ตั้งเป้าในปี 2562 สามารถเพิ่มปริมาณการขนส่งทางนํ้า 12.17% การขนส่งทางราง 1.53% มีต้นทุนโลจิสติกส์ ต่อจีดีพีตํ่ากว่า 13.5% จำนวนผู้ใช้ระบบขนส่งทางอากาศเพิ่มขึ้น 10% ระยะเวลาเดินทางโดยทางหลวงสายหลักลดลง 7% ระบบขนส่งสาธารณะรองรับจำนวนผู้เดินทางเพิ่มขึ้น 90,200 คนต่อวัน และต้นทุนโลจิสติกส์ต่อยอดขายของภาคอุตสาหกรรมลดลง 0.1%

โดยจัดสรรงบให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ก.คมนาคม 94,370 ล้านบาท, การรถไฟแห่งประเทศไทย 1,369 ล้านบาท, การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย 5,810 ล้านบาท, สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย 136 ล้านบาท, ก.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและหน่วยงานในกำกับ 72 ล้านบาท, สำนักนายกรัฐมนตรี 38 ล้านบาท, ก.อุตสาหกรรม 38 ล้านบาท และ ก.เกษตรและสหกรณ์ 35 ล้านบาท

8. พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิตอล มุ่งสร้างมูลค่าอี-คอมเมิร์ซเพิ่มขึ้น 4% ต่อปี มีจำนวนผู้ประกอบการรายใหม่เพิ่มขึ้น ระบบเศรษฐกิจและสังคมเพิ่มโอกาสเข้าถึงการใช้บริการและข้อมูลข่าวสารที่เท่าเทียมกัน ยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างศักยภาพในการแข่งขันด้านเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิตอล

โดยจัดสรรงบให้กับสำนักนายกฯ 1,528 ล้านบาท, ก.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม 558 ล้านบาท, ก.สาธารณสุข 269 ล้านบาท, ก.เกษตรและสหกรณ์ 177 ล้านบาท, ก.อุตสาหกรรม 152 ล้านบาท, ก.วัฒนธรรม 127 ล้านบาท, ก.มหาดไทย 102 ล้านบาท, ก.ศึกษาธิการ 102 ล้านบาท, ก.การคลัง 70 ล้านบาท และ ก.พาณิชย์ 44 ล้านบาท

พัฒนาพื้นที่รายภาค

9. ส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรม เป้าหมายคือ มีจำนวนบุคลากรทำงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น 5% ต่อปี จำนวนการยื่นขอและได้รับการจดสิทธิบัตรเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 500 รายการ นำนวัตกรรมไปใช้เชิงพาณิชย์ได้ไม่น้อยกว่า 20% ของผลงานทั้งหมด และต้นทุนผู้ประกอบการในการขอรับการรับรองมาตรฐาน การดำเนินการวิจัยและพัฒนาลดลง 10% ต่อปี และอัตราการใช้โครงสร้างพื้นฐานด้านการวิจัยและนวัตกรรมเพิ่มขึ้น 10% ต่อปี

มีหน่วยงานที่ได้รับจัดสรร อาทิ สำนักนายกฯ 1,528 ล้านบาท, ก.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม 558 ล้านบาท, ก.สาธารณสุข 269 ล้านบาท, ก.เกษตรและสหกรณ์ 177 ล้านบาท, ก.อุตสาห-กรรม 152 ล้านบาท, ก.วัฒนธรรม 127 ล้านบาท, ก.มหาดไทย 102 ล้านบาท, ก.ศึกษาธิการ 102 ล้านบาท, ก.การคลัง 70 ล้านบาท และ ก.พาณิชย์ 44 ล้านบาท

และ 10. แผนงานบูรณาการพัฒนาพื้นที่ระดับภาค ซึ่งจัดสรรงบให้กับส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจในพื้นที่ภาคต่างๆ แบ่งเป็น พื้นที่ภาคกลาง 3,445 ล้านบาท, ภาคใต้ 3,117 ล้านบาท, ภาคใต้ชายแดน 934 ล้านบาท, ภาคตะวันออก 2,621 ล้านบาท, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 6,821 ล้านบาท และพื้นที่ภาคเหนือ 3,858 ล้านบาท

|เซกชั่นการเมือง หน้า 16 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
|ฉบับ 3374 หน้า 16 ระหว่างวันที่ 1-4 ก.ค.2561
e-book-1-503x62-7