วิพากษ์ ‘พลังดูด’ อดีตส.ส. ระวังสกัดแนวร่วม ‘บิ๊กตู่’

12 ก.ค. 2561 | 06:20 น.
2666565 ปรากฏการณ์กลุ่ม “สามมิตร” ภายใต้การนำของ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตเลขาธิการพรรคไทยรักไทย และนายสมศักดิ์ เทพสุทิน แกนนำกลุ่มมัชฌิมา เดินสายโชว์พลัง ดูดอดีตส.ส.จากทุกภาคทั่วไทย มองผิวเผินเหมือนเป็นเรื่องปกติของการเมืองไทย ทว่าพลังดูด ที่ก่อตัวขึ้นในครั้งนี้ชัดเจนว่า เพื่อรองรับการตั้งพรรคพลังประชารัฐ ที่รอการประกาศอย่างเป็นทางการของ บิ๊กตู่-พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้าสู่สนามเลือกตั้งในต้นปี 2562
6365265 ความเคลื่อนไหวล่าสุด เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน ที่ผ่านมา กลุ่มสามมิตร ได้พบปะกับอดีตส.ส.กว่า 50 คน ส่วนใหญ่เป็น อดีตส.ส.พรรคเพื่อไทยในปัจจุบัน อาทิ นายอนุชา นาคาศัย อดีต ส.ส.ชัยนาท, นายจำลอง ครุฑขุนทด อดีต ส.ส.นครราชสีมา นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ อดีต ส.ส.นครราชสีมา ฯลฯ ที่สนามกอล์ฟไพน์เฮิร์สท หลังจากประ เดิมพลังดูดอดีตส.ส.ในจังหวัดเลย เป็นแห่งแรก

2 ปัจจัยเกิดพลังดูด

รศ.ดร.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สะท้อนมุมมองกับ “ฐานเศรษฐกิจ” เกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางการเมืองในขณะนี้ว่า จริงๆ แล้วการย้ายพรรคระหว่างเลือกตั้งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเสมอสำหรับสังคมไทย ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร แต่ครั้งนี้ดูเหมือนมีแรงกระเพื่อมค่อนข้างมาก สาเหตุหลักเพราะมีพรรคที่ตั้งขึ้นมาใหม่ และไม่มีฐานเสียงเดิม และคิดว่าสามารถตั้งพรรค การเมืองที่เป็นสูตรสำเร็จอย่างรวดเร็วเหมือน “อินสแตนต์คอฟฟี่” ชงทีเดียวได้สำเร็จเลย

เหตุผลหลักที่เกิดเรื่องพลังดูด เพราะการเมืองไทยไม่ได้ยึดโยงเรื่องอุดมการณ์ ส.ส. จึงเต็มไปด้วยผลประโยชน์และสายสัมพันธ์ส่วนตัว และเป็นเรื่องกติกาทางการเมือง เนื่องจากระบบเลือกตั้งทำให้หลายคนคิดว่า ทุกคะแนนเสียงมีความหมาย ดังนั้นอาจไม่ต้องชนะอันดับ 1 แต่ได้อันดับ 2 หรืออันดับ 3 ก็นำมารวมเป็นคะแนนบัญชีรายชื่อได้ ซึ่งพลังดูดครั้งนี้รุนแรงยิ่ง ขึ้น เมื่อรัฐบาลอยากจะตั้งพรรค การเมืองเพื่อมาหนุน คสช.เอง ก็เลยทำให้มองว่าวิธีนี้น่าจะเป็นวิธีที่ได้ผล จึงออกแบบกติการะบบเลือกตั้งเพื่อรองรับการเกิดขึ้นของพรรค ไม่ใช่เพิ่งเกิด ดังนั้นจึงไม่แปลกใจที่เกิดพลังดูดขึ้น
1531376240363 จับตาพลังคนรุ่นใหม่

พลังดูดอันนี้ไม่สำเร็จ เพราะแม้ว่ากติกาจะเปลี่ยนไป แต่ยากที่จะคาดเดาว่าพฤติกรรมของคนจะเปลี่ยนหรือไม่ และประเด็นที่สำคัญคือ การเลือกตั้งจะมีคนรุ่นใหม่ที่อายุ 18-26 ปี ซึ่งไม่เคยเลือกตั้งเลย คนกลุ่มนี้ก็จะเลือกตั้งด้วยเจตจำนงอีกชุดหนึ่งที่ต่างจากอดีต ซึ่งอันนี้ต้องดูว่าพลังตรงนี้จะมีมากน้อยแค่ไหน ดังนั้นถ้าให้ประเมินพลังดูดก็อาจจะได้บางคน แต่ไม่น่าจะทำให้พรรคที่ตั้งขึ้นมาใหม่ที่ไม่เคยมีฐานเสียง ไม่เคยมีสมาชิกพรรคมาก่อน ได้คะแนนมากพอที่จะสามารถเลือกนายกฯ ตามใจที่ต้องการและวางแผนไว้ได้

“ครั้งนี้ถือว่าเป็นพลังดูดครั้งใหญ่และน่าสนใจที่สุด ซึ่งเมื่อเทียบกับช่วงเลือกตั้งปี 2544 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการตั้งพรรคไทยรักไทย มีความต่างกับครั้งนี้ เพราะไทยรักไทยดูดไม่มากเท่าครั้งนี้แต่ใช้วิธีควบรวมพรรค ซึ่งเกิดขึ้นหลังการเลือกตั้ง”

ผลกระทบจากพลังดูด

ขณะที่ ดร.สติธร ธนานิธิโชติ นักวิชาการผู้ชำนาญการ สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า สะท้อนความเห็นถึงผลกระทบจากพลังดูดต่อ สังคมไทยว่า การเข้ามาของกลุ่มสามมิตร เป็นทางเลือกของการ เมืองในการเลือกตั้ง โดยมุ่งสนับสนุนให้ พล.อ.ประยุทธ์ กลับเข้ามาเป็นนายกฯ ถ้าทำสำเร็จจะเกิดกลุ่มก้อนทางการเมืองขึ้นมา จะเป็นที่รวมของนักการเมืองเก่า แต่มีเป้าหมายใหม่คือ สนับ สนุนผู้นำคนเดียวกัน ซึ่งจะขัดแย้งกับกลุ่มกองหนุนของ พล.อ. ประยุทธ์ ที่มีอยู่เดิม

“ต้องยอมรับว่าฐานความนิยมของพล.อ.ประยุทธ์ที่มีอยู่เดิม คือกลุ่มที่ออกมาเรียกร้องและขับไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยมีแนวทางปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง และมีทัศนคติค่อนข้างรังเกียจนักการเมืองเก่าๆ ว่าเป็นพวกทุจริตคอร์รัปชันหาประโยชน์ส่วนตัว ซื้อเสียง ถ้ากลุ่มนี้เข้ามาเป็นแกนในพรรค ในขณะที่กลุ่มสนับ สนุนพล.อ.ประยุทธ์ มีแนวทางตั้งพรรคเพื่อหนุน พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกฯ เพื่อสานต่อยุทธศาสตร์ชาติเหมือนกัน เช่น พรรครวมพลังประชาชาติไทย (รปช.) ของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ พรรคประชาชนปฏิรูปของนายไพบูลย์ นิติตะวัน และพรรคพลังชาติไทย ของ พล.ต.ทรงกลด ทิพย์รัตน์ ซึ่งช่วงหลังแม้จะเงียบไปก็ยังทำงานอยู่”

1531376273171

หวั่นกระแสดูดตีกลับ

ดร.สติธร ชี้ว่า กลุ่มที่ตั้งขึ้นมาด้วยแนวทางดั้งเดิมจะรับได้แค่ไหนกับการที่คนในรัฐบาลขณะนี้มีชื่อไปพัวพันกับพรรคพลังประชารัฐ เปิดประตูต้อนรับนักการเมือง ซึ่งคนอีกกลุ่มมองว่าเป็นนักการเมืองที่ทำการเมืองแบบเก่า ทำให้การเลือกตั้งไม่บริสุทธิ์ ยุติธรรม จะยอมรับได้แค่ไหน จะสนิทใจหรือไม่ถ้าต้องมาร่วมงานกัน เพราะเนื้อแท้ของอุดมการณ์คนละขั้วกันเลย เวลาหาเสียงจะทำอย่างไร

ปัญหาของพลังดูดคือ ดูดมาเพื่อเป้าหมายทางการเมือง คือมุ่งได้คะแนนเสียงจากการเลือกตั้งให้เพียงพอที่จะกลับมาเป็นรัฐบาลได้ แต่ไม่ได้ดูว่าระหว่างทางที่จะไปสู่จุดหมาย คนที่เคยเป็นฝ่ายสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ รับได้หรือไม่ อาจจะเสียแนวร่วม ซึ่งจะกลายเป็นตัวแปรตีกลับไปทางเพื่อไทย หรือ ประชาธิปัตย์ หรือพรรคขนาดกลางก็ได้ ทำให้ที่ดูดมาล้มเหลวหมด

“กรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ ตัดสินใจให้พรรคการเมืองใดใช้ชื่อในบัญชีนายกฯ คะแนนเสียงก็ต้องเยอะ นายกฯต้องมาอย่างสง่างาม ฝ่ายหนุนจึงวางแนวว่า ถ้าจะได้หลักร้อยเสียงขึ้นไปทำอย่างไร ต้องดึงเอาคนที่มีฐานคะแนนเสียงอยู่บ้างเพื่อความอุ่นใจ แต่เชื่อว่าคะแนนที่อดีตส.ส.ที่ถูกดูดมาคงได้ไม่หมด อาจได้คะแนนเดิมประมาณ 1 ใน 3 เพราะครั้งก่อนกระแสพรรคมาแรง พอย้ายพรรคอาจลดลงก็ได้”
|สัมภาษณ์พิเศษ : นที ขลิบทอง ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ(กทบ.)

|รายงาน : วิพากษ์ ‘พลังดูด’ อดีตส.ส. ระวังสกัดแนวร่วม‘บิ๊กตู่’
|เซกชั่นการเมือง หน้า 16 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
|ฉบับ 3379 หน้า 16 ระหว่างวันที่ 1-4 ก.ค.2561
e-book-1-503x62-7