Forest Rescueปฏิบัติการกู้ชีพต้นไม้รอบกรุงเทพฯ จาก MQDC

05 ก.ค. 2561 | 05:44 น.
Forest Rescue ปฏิบัติการกู้ชีพต้นไม้รอบกรุงเทพฯ จาก MQDC

“เราตระหนักถึงคุณค่าอันสำคัญของต้นไม้ทุกต้น และเชื่อว่ามนุษย์กับธรรมชาติสามารถอยู่ร่วมกันโดยพึ่งพาอาศัยกัน แต่ในทางกลับกันการขยายตัวของเมือง ที่มีผู้คนมากขึ้น ส่งผลให้ต้นไม้ลดลง ซึ่งปัญหาดังกล่าวชัดเจนมากยิ่งขึ้น
เมื่อสอดรับกับข้อมูลจากสถานการณ์ธรรมชาติป่าไม้ โดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations )หรือ FAO ที่จัดเก็บข้อมูลไว้ตั้งแต่ปี 1990 - 2015 โดยภาพถ่ายจากดาวเทียมระบุว่า โลกมีต้นไม้ราว 3 ล้านล้านต้น โดยสูญเสียพื้นที่ไปกว่า 1.3 ล้าน ตร.กม. หรือใหญ่กว่าทวีปแอฟริกาใต้ ด้านประเทศไทยจากข้อมูลมูลนิธิสืบนาคะเสถียร พบว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ป่าไม้อยู่ที่ร้อยละ 31.58 โดยลดลงจากปี 2558 ร้อยละ 0.02 หรือประมาณ 65,000 ไร่” คุณศศินันท์ ออลแมนด์ ผู้อำนวยการบริหาร ฝ่ายการตลาดและสื่อสารองค์กร บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) เผยถึง ภาพรวมพื้นที่สีเขียวโลกได้อย่างน่าสนใจ

IMG_8679

คุณศศินันท์ กล่าวเสริมอีกว่า ด้วยสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง ทาง MQDC พร้อมเป็นส่วนเติมเต็มในการสร้างสรรค์สิ่งที่ดีสู่สังคมซึ่งสอดคล้องกับคำมั่นขององค์กรที่ว่า “for all well-being” ในการเป็นส่วนหนึ่งของโลกผ่านการออกแบบที่ใส่ใจต่อธรรมชาติ นำนวัตกรรมใหม่ๆ มาปรับใช้ และเน้นสร้างความเป็นอยู่ที่ดีบนกรอบพื้นฐานความยั่งยืน จึงได้จัดทำโมเดลการใช้ชีวิตร่วมกับระบบนิเวศอย่างสมดุลภายใต้คอนเซ็ปต์ “Imagine Happiness” ในแคมเปญ “Forest Rescue - ฟอเรส เรสคิว หรือ ปฏิบัติการกู้ชีพต้นไม้รอบกรุงเทพฯและปริมณฑล ซึ่งเป็นหนึ่งในภารกิจของโปรเจ็กต์แฟล็กชิพอย่าง “THE FORESTIAS - เดอะ ฟอเรสเทียร์” ที่มีภารกิจหลักในการช่วยรักษาต้นไม้ผ่านการเคลื่อนย้ายและจัดสรรพื้นที่บ้านหลังใหม่ให้ต้นไม้สามารถเติบโตต่อไปในอนาคต

“THE FORESTIAS - เดอะ ฟอเรสเทียร์” เกิดขึ้นบนคำถาม “ความสุขที่แท้จริงของชีวิตเราคืออะไร” คุณกิตติพันธุ์ อุยยามะพันธุ์ ผู้อำนวยการอาวุโส บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) เผย
ต่ออีกว่า เดอะ ฟอเรสเทียร์ เป็นโครงการ Mixed - Use จากเราถือเป็นโมเดลแรกของโลกที่บริบูรณ์ไปด้วย
4 แนวคิดหลัก ได้แก่ 1. ความสุขในการใช้ชีวิตท่ามกลางธรรมชาติระบบนิเวศขนาดใหญ่  2. ความสุข
ในการดีไซน์พื้นที่ความอบอุ่นให้กับครอบครัวได้ใช้ชีวิตร่วมกัน 3. ความสุขบนพื้นที่และสาธารณูปโภคที่ให้ทุกคน
ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน และ 4. ความสุขด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน ที่ตอกยํ้าความสุขของมนุษย์ใน
การอยู่ท่ามกลางธรรมชาติที่สมบูรณ์แบบ นับได้ว่าแนวคิดนี้ คือโมเดลการอยู่อาศัยอย่างสัมพันธ์ด้วยความสมดุลระหว่างชีวิตกับระบบนิเวศ

คุณกิตติพันธุ์ เผยต่ออีกว่า แนวคิดดังกล่าวตกผลึกสู่การต่อยอดในการจัดทำแคมเปญ “Forest Rescue - ฟอเรส เรสคิว หรือ ปฏิบัติการกู้ชีพต้นไม้รอบกรุงเทพฯและปริมณฑล โดยเริ่มต้นและดำเนินการด้วยมุมมองที่ต้องการช่วยเหลือ อนุรักษ์ต้นไม้ใหญ่ เพิ่มพื้นที่สีเขียวและพื้นที่ออกซิเจนให้สังคมเมือง เนื่องจากปัจจุบันต้นไม้ใหญ่หลายๆ
พื้นที่โดยเฉพาะในเขต กทม.มักตกเป็นเหยื่อของการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ทำให้ระบบนิเวศของชุมชนเมืองเสื่อมโทรมลง นำมาซึ่งอากาศที่เป็นพิษเพราะไม่มีต้นไม้คอยดูดซับ ขณะเดียวกันนอกจากการถูกตัดทิ้งยังมีบางส่วนที่ขาดการดูแล   จนทำให้ทุกครั้งที่มีพายุพัดกิ่งของต้นไม้จะร่วงลงมากีดขวางเส้นจราจรอยู่บ่อยครั้ง

และเพื่อเป็นการจัดการและร่วมแก้ไขปัญหาดังกล่าว  ตั้งแต่ต้นนํ้าทาง THE FORESTIAS - เดอะ ฟอเรสเทียร์
จึงได้จัด ตั้งทีมปฏิบัติการ Forest Rescue Team ขึ้นมาเพื่อวางแผนและประเมินสถานการณ์ รวมทั้งดำเนินการเคลื่อนย้ายต้นไม้จากจุดเดิมไปยังระบบนิเวศหลังใหม่ โดยจากการพูดคุยกับคุณสุรินทร์ วราชุน ผู้เชี่ยวชาญด้าน
นิเวศวิทยา ขยายความถึงทีมปฏิบัติการได้กล่าวได้อย่างน่าสนใจว่า  Forest Rescue Team ประกอบไปด้วย
นักนิเวศวิทยาที่มีประสบการณ์สูง ผู้ดูแลต้นไม้ (รุกขกร) และผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

IMG_8850

คุณสุรินทร์ เผยต่ออีกว่า ต่อไปนี้ทุกคนสามารถเป็นส่วนหนึ่งของการแจ้งข้อความช่วยเหลือต้นไม้ที่ดูแล้วโดนบุกรุก มีสภาพเสื่อมโทรม หรือมีโครงสร้างที่อันตรายผ่านทาง www.facebook.com/thaforestias หรือแฮชแท็ก #ForestRescue โดยทางเราได้กำหนดการดำเนินงานโครงการอยู่ที่ 6 เดือน เริ่มตั้งแต่วันนี้ - 31 ธันวาคม ทั้งนี้ต้นไม้ที่ได้รับการช่วยเหลือทั้งหมดจะนำมาเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศในโครงการ “THE FORESTIAS -
เดอะ ฟอเรสเทียร์” บนพื้นที่ 3 ไร่ หรือ 4,800 ตร.ม. ที่สำคัญต้นไม้แต่ละต้นที่ได้รับความช่วยเหลือจะถูกติดป้าย
บ่งบอกถึงที่อยู่เดิม เพื่อให้เจ้าของเดิมหรือประชาชนทั่วไปเข้ามาเยี่ยมเยือนหรือศึกษาระบบนิเวศธรรมชาติ ซึ่งจะเปิดเป็นพื้นที่สาธารณะส่วนหนึ่งให้ประชาชนเข้ามาพักผ่อนและสัมผัสกับธรรมชาติในชุมชนเมือง อย่างใกล้ชิดโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ

อย่างไรก็ตามเมื่อสอบถามไปถึงต้นไม้ใหญ่ที่พบเจอในเขต กทม.และปริมณฑลส่วนใหญ่เป็นไม้ยืนต้น อาทิ ต้นจามจุรี ซอยลาดพร้าว 110 ซึ่งเป็นต้นไม้เดิมของบ้านหลังหนึ่งที่ต้องการขยายพื้นที่ที่อยู่อาศัยจึงได้แจ้งทีมงานปฏิบัติการเข้ามา โดยสิ่งที่ทีมงานเข้าไปช่วยเหลือไม่ได้ทำการตัดทิ้งแต่เคลื่อนย้ายออกมาและนำไปอยู่ที่บ้านหลังใหม่ที่ THE FORESTIAS - เดอะ ฟอเรสเทียร์ ซึ่งเรื่องราวดังกล่าวถูกถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของวิดีโอคอนเทนต์ เรื่อง Forest Rescue โดยทุกคนสามารถรับชมตัวอย่างการทำงานของทีมดังกล่าวผ่านช่องทางออนไลน์

โปรโมทแทรกอีบุ๊ก-6

ทั้งนี้สิ่งที่คุณสุรินทร์ เน้นยํ้า คือ กฎเกณฑ์ในการช่วยเหลือต้นไม้ โดยจะเริ่มพิจารณาจากความอยู่รอดของต้นไม้หลังจากล้อมย้ายเป็นหลัก ซึ่งทีมปฏิบัติการเป็นผู้พิจารณาเงื่อนไขที่กำหนด ไม่ว่าจะเป็นประเภทของต้นไม้ ต้องไม่เป็น ต้นไม้ที่เป็นไม้ต่างถิ่นรุกราน เช่น ต้นกระถินณรงค์ หรือจะเป็นต้นไม้ที่มีการแพร่พันธุ์เร็วเกินไป เช่น ต้นไทร ต้นโพธิ์ ขณะที่การขนย้ายคำนึงถึงสภาพภูมิอากาศเดิมของต้นไม้เป็นหลัก ด้านการจัดการดูแล จะอยู่ภายใต้การดูแลของโครงการ

ข้อมูลจากทีมนักวิจัย Lawrence Livermore National Laboratory จากประเทศสหรัฐอเมริกา ระบุว่า การปลูกต้นไม้ใหญ่ 1 ต้น ให้ความเย็นเท่ากับเครื่องปรับอากาศ 1 ตัน ที่ให้ความเย็นประมาณ 12,000 Btu หรือ
แอร์ปรับอากาศ 1 เครื่อง อีกทั้งร่มเงาของต้นไม้ก็จะช่วยบังแสงอาทิตย์ ทั้งนี้จากข้อมูลงานวิจัยเมืองบาร์เซโลน่า ประเทศสเปน ระบุว่า ต้นไม้ใหญ่ในเมืองจำนวน 200,000 ต้น สามารถดูดซับคาร์บอนได้ปีละมากกว่า 5,000 ตัน
และกำจัดมลพิษได้มากถึง 305 ตัน ที่สำคัญต้นไม้ใกล้ตัวอย่าง สนทะเล สนสามใบ สามารถดูดซับมลพิษได้ดีหรือพญาสัตบรรณและแสงจันทร์ที่สามารถผลิตโอโซนได้ดีอีกด้วย

ฉะนั้นนอกจากการปลูกวิธีการที่ง่ายที่สุดในการดูแลต้นไม้ในชุมชนเมืองคือการอนุรักษ์และคงไว้ในพื้นที่ที่พร้อมและสมบูรณ์ ซึ่งทีม #ForestRescue พร้อมให้บริการโดยมีเราทุกคนคอยเป็นหูเป็นตาและร่วมใจกันอย่างแข็งขัน

หน้า 26-27 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่38| ฉบับ 3,379 ระหว่างวันที่ 1-4 กรกฎาคม 2561

e-book-1-503x62