“ประยุทธ์” สั่ง ครม.เศรษฐกิจ เร่งดึงนักลงทุนต่างชาติร่วม EEC ญี่ปุ่นพร้อมปั้นบุคลากรรองรับ

27 มิ.ย. 2561 | 11:21 น.
- 27 มิ.ย. 61 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในช่วงวันที่ 20-25 มิ.ย. ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้คำคณะรัฐมนตรีทางด้านเศรษฐกิจ และทีมนักลงทุนภาคเอกชนของไทย เดินทางไปโร้ดโชว์โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่ประเทศอังกฤษ และฝรั่งเศส

รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 27 มิ.ย. พล.อ.ประยุทธ์ ได้เล่าถึงภารกิจดังกล่าวให้กับที่ประชุม ครม. ฟังเป็นวาระแรกก่อนเริ่มการประชุม ครม.

รายงานข่าวเปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวถึงการเยือนอังกฤษก่อนว่า ได้เดินทางเยือนวันที่ 20-21 มิ.ย. เพื่อยกระดับความสัมพันธ์ทางการค้าและกระตุ้นการลงทุนจากภูมิภาคยุโรป ได้เข้าพบนางเทรซา เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ และหารือกับผู้บริหารภาคเอกชนชั้นนำของอังกฤษ 20180620112214

“ผมได้ย้ำถึงความสำคัญของการลงทุนในพื้นที่ EEC ซึ่งเอกชนของอังกฤษได้แสดงความประสงค์ที่จะลงทุนใน EEC” รายงานข่าวกล่าวถึงคำพูดของ พล.อ.ประยุทธ์ ที่กล่าวกับ ครม.

รายงานข่าวกล่าวว่า จากนั้น นายกรัฐมนตรีชื่นชมการศึกษาดูงานโมเดลลการผลิตกำลังคนรองรับ EEC ของบริษัท Pearson และได้ลงนามกับสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา ในการส่งเสริมการพัฒนาการเรียนการสอนด้านอาชีวของไทย รวมทั้งร่วมกับสำนักงาน EEC พัฒนาคนให้กับอุตสาหกรรมใน EEC ด้วย

“นายกฯ จึงสั่งการว่าให้หน่วยยงานฝ่ายเศรษฐกิจเดินหน้าพัฒนาความร่วมมือด้านการค้าการลงทุนกับประเทศต่างๆที่มีศักยภาพให้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการส่งเสริมให้มีการลงทุนใน EEC รวมทั้งให้เร่งพัฒนาปัจจัยพื้นฐานเพื่อเตรียมความพร้อมให้สามารถรองรับการลงทุนที่จะเกิดขึ้นด้วย เช่น โครงการพื้นฐานต่างๆ การคมนาคมขนส่ง แรงงาน การอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ” รายงานข่าวกล่าวถึงคำพูดของพล.อ.ประยุทธ์ที่กล่าวกับ ครม.

รายงานข่าวกล่าวถึงคำพูดของ พล.อ.ประยุทธ์ ที่กล่าวกับ ครม. ว่า ต่อจากนั้น นายกรัฐมนตรีเล่าให้ที่ประชุม ครม. ฟังถึงการเดินทางไปเยือนฝรั่งงเศสวันที่ 22-25 มิ.ย. ว่าได้เข้าเยี่ยมคารวะประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง ผู้นำฝรั่งเศส พบปะหารือกับประธานบริษัท แอร์บัสฯ  และภาคเอกชนของไทยและฝรั่งเศส มีการลงนามบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) สัญญา และความตกลงที่สำคัญ เช่น สัญญาซื้อขายดาวเทียมธีออส 2 ความตกลงสัญญากรอบการร่วมทุนของโครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษาในการพัฒนาเอสเอ็มเค และแลกเปลี่ยนข้อมูลการค้า นโยบายและพิธีศุลกากร รวมทั้งกรอบความร่วมมือสัญญาว่าจ้างติดตั้งระบบ Digigalization และ Visualization ในการวิเคราะห์ข้อมูล บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการพัฒนาสมาร์ทซิตี้ 20180625093834

“นายกฯ จึงสั่งการว่า ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามการดำเนินการตามความร่วมมือต่างๆ ให้เกิดผลสัมฤทธิ์และมีประสิทธิภาพ และพิจารณาขยายความร่วมมือของทั้ง 2 ประเทศให้เกิดประโยชน์ในด้านต่างๆ ร่วมกันต่อไป” รายงานข่าวกล่าวถึงคำพูดของ พล.อ.ประยุทธ์ ที่กล่าวกับ ครม.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายทะโร โคโนะ (Mr. Taro Kono) รมว.การต่างประเทศญี่ปุ่น เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี ณ ห้องสีงาช้าง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล ในโอกาสการเยือนไทยอย่างเป็นทางการเพื่อเข้าร่วมการประชุม Conference on Cooperation among East Asian Countries for Palestinian Development (CEAPAD) ระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 3 20180627053558

ภายหลังเสร็จสิ้นการหารือ พล.ท.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวสรุปสาระสำคัญดังนี้

นายกรัฐมนตรียินดีต้อนรับนายทะโร โคโนะ ในการเยือนไทยครั้งแรกในฐานะรัฐมนตรี และแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์แผ่นดินไหวในเขตคันไซของญี่ปุ่น รัฐบาลและประชาชนไทยยินดีให้ความช่วยเหลือญี่ปุ่นในฐานะมิตรประเทศที่ใกล้ชิด

รมว.ต่างประเทศญี่ปุ่นขอบคุณประเทศไทยสำหรับความช่วยเหลือ และกล่าวว่าภาคเอกชนญี่ปุ่นแสดงความสนใจที่จะลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายของไทยและโครงการ EEC ซึ่งนายกรัฐมนตรีรับที่จะดูแลนักลงทุนญี่ปุ่นอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ยังประสงค์ให้ญี่ปุ่นร่วมมือกับไทยในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต่อไป เพื่อเสริมสร้างบุคลากรด้านอาชีวศึกษา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และในสาขาอื่นๆ ที่สอดคล้องกับอุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการลงทุนของภาคเอกชนญี่ปุ่นในไทยด้วย

โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีฝากความขอบคุณไปยังนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นที่มีสารแสดงความยินดีในการประชุม ACMECS ครั้งที่ 8 เมื่อวันที่ 15-16 มิ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งไทยริเริ่มการจัดทำแผนแม่บท ACMECS ระยะ 5 ปี ระหว่างปี ค.ศ. 2019-2023 และขอบคุณญี่ปุ่นที่แสดงความสนใจเข้ามาเป็นประเทศหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาของ ACMECS ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการดำเนินการภายใต้กรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่น การพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนุภูมิภาค รวมทั้งกระบวนการสร้างประชาคมอาเซียน ทั้งนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นกล่าวว่าญี่ปุ่นจะเป็นเจ้าภาพการประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 10 ณ กรุงโตเกียว ในช่วงปลายปีนี้ และหวังว่าผู้แทนฝ่ายไทยจะเข้าร่วมการประชุมดังกล่าวด้วย 20180627053608

สำหรับประเด็นเรื่อง CPTPP (Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership ) นั้น รมว.ต่างประเทศญี่ปุ่นกล่าวว่า ญี่ปุ่นยินดีให้คำแนะนำ และพร้อมสนับสนุนไทยเข้าร่วม CPTPP ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีแสดงเจตนารมณ์ของรัฐบาลไทยที่จะเข้าร่วม CPTPP โดยได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมต่อไป

ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ในภูมิภาค อาทิ คาบสมุทรเกาหลี และทะเลจีนใต้ ซึ่งไทยหวังว่าทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะร่วมมือกันเพื่อผลประโยชน์ของภูมิภาคและของโลก โดยไทยพร้อมให้การสนับสนุนแนวทางสันติวิธี

ก่อนจบการสนทนา นายกรัฐมนตรีได้ฝากความระลึกถึงไปยังนายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นด้วย