ดัชนี 1600 จุดเอาอยู่ โบรกฯคาด ‘สงครามการค้า-เงินไหลออก’ คลี่คลายเดือนหน้า

28 ก.ค. 2561 | 11:34 น.
โบรกเกอร์มั่นใจ 1600 จุดเอาอยู่ บล.กสิกรไทยฯแนะลงทุนหลังตลาดหุ้นลงสะเด็ดนํ้า  คาดปัจจัยกดดัน สงครามการค้า-ทุนต่างชาติไหลออก  จะคลี่คลายเดือนกรกฎาคม ด้านบล.ไทยพาณิชย์ฯ แนะกลยุทธ์ไตรมาส 3 ลงตามธีม “บาทอ่อน ดอกเบี้ยขึ้น” หุ้นกลุ่มแบงก์  อิเล็กทรอนิกส์ อาหาร


[caption id="attachment_301654" align="aligncenter" width="335"] พรเทพ ชูพันธุ์ พรเทพ ชูพันธุ์[/caption]

นายพรเทพ ชูพันธุ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ไทยพาณิชย์ จำกัด  (SCBS) กล่าวกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่าภาพรวมเศรษฐกิจไทยตัวเลขที่ออกมาค่อนข้างดีไตรมาสแรกเติบโต 4.7% และเป็นการดีในทุกเซ็กเตอร์ทั้งภาคส่งออก การบริโภค  การลงทุนมีสัญญาณฟื้น  มีเพียงปัจจัยต่างประเทศ ที่กังวลกันก็คือสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน แต่สุดท้ายเชื่อว่าจะไปสู่การเจรจา แต่ในระหว่างทางอาจสร้างความกังวลกดดัน P/E

“ความผันผวนตลาดหุ้นมีมากขึ้น แต่ดัชนีแนวรับ 1600 จุด  ผมเชื่อว่ายังเอาอยู่   เพราะปัจจัยพื้นฐานไม่ได้เปลี่ยน  กำไรสุทธิตลาดต่อหุ้น (EPS) ยังดี   ขณะที่ค่าเฉลี่ย P/E ที่ 14 เท่า  ถือว่าตํ่ากว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี ไม่แพง  และตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ดัชนีหุ้นอยู่ที่ 1750 จุด ขณะนี้ลงมาอยู่แถว 1622 จุด  ลดลงมาแล้ว 7% และจากสถิติดัชนีหุ้นไทยย้อนหลัง 8 ปี พบว่าไตรมาสแรก (รวมปันผลแล้ว) หุ้นจะขึ้นเฉลี่ย 7%, ไตรมาส 2 ขึ้นเฉลี่ย  1% ถือว่าแย่สุด แต่ในไตรมาส 3 จะขึ้น 4-5% และไตรมาส 4 ขึ้น 3-4% ดังนั้นไตรมาส 3 จึงเป็นจังหวะน่าลงทุน”

บล.ไทยพาณิชย์ฯมองธีมการลงทุนในไตรมาส 3/2561 อิงสถานการณ์ “บาทอ่อนค่า ดอกเบี้ยขึ้น” จากเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ค่อนข้างแข็งแกร่ง เงินเฟ้อปรับขึ้น และเฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยปีนี้ทั้งปี 4 ครั้ง หุ้นแนะนำใน 3 หมวด ได้แก่  1. ธนาคารพาณิชย์  จากดอกเบี้ยขาขึ้น ส่งผลต่อดอกเบี้ยรับจากการปล่อยสินเชื่อ  ประกอบกับหุ้นกลุ่มแบงก์ปรับลดลงกว่า 10% มากกว่าตลาดหลายเท่า   2. หุ้นกลุ่มอาหาร และ 3. กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ทั้ง 2 กลุ่มหลังตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันราคาปรับลดลงเฉลี่ย 15-16% เป็นกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทที่อ่อนค่า
MP17-3378-A

 

หุ้นเด่นถือเป็น TOP PICK  ได้แก่ BBL, KTB โดย BBL มาจากส่วนแบ่งตลาดสินเชื่อภาคเอกชนมาก ขณะที่ KTB รับผลพวงการเลือกตั้งที่คาดว่าจะขึ้นในต้นปีหน้าหรือไม่เกินเดือนพฤษภาคม 2562 การเร่งเบิกจ่าย งบกลางปีและการลงทุนในช่วงที่เหลือของรัฐบาล

หุ้นกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอ นิกส์ เลือก HANA และ KEC   หลักๆ มาจากอานิสงส์ค่าเงินบาท  และราคาต้นทุนทองแดงที่เริ่มชะลอ  ส่วนกลุ่มอาหารเลือกเป็น TU ได้ประโยชน์จากค่าเงิน วัตถุดิบถูกลง  และ CPFจากธุรกิจหมูเริ่มฟื้น
นายประกิต สิริวัฒนเกตุ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ บล. กสิกรไทยฯ กล่าวว่า สถานการณ์ขณะนี้ ยังเต็มไปด้วยแรงกดดันจากต่างประเทศในหลายเรื่อง ทั้งเรื่องการลดขนาดวงเงินงบประมาณของสหรัฐฯ เศรษฐกิจประเทศเกิดใหม่ (Emerging market หรือ EM อาทิ อาร์เจนตินา บราซิล ตุรกี อินโดนีเซีย) ชะลอตัวสวนทางกับเงินเฟ้อที่ปรับสูง และมีเรื่องการโจมตีค่าเงิน ประเด็นสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน แต่คาดว่าปลายเดือนนี้หรือต้นเดือนกรกฎาคม ประเด็นเรื่องสงครามการค้าจะเริ่มคลายปม ตลาดรับรู้มากขึ้นว่าอาจไม่แย่อย่างที่คิด เช่นเดียวกับเรื่องเงินทุนต่างชาติไหลออก ก็คาดว่าจะเริ่มชะลอลง
ประกิต-สิริวัฒนเกตุ ดังนั้นหากจะลงทุนควรรอเป็นเดือนหน้า ตลาดหุ้นน่าจะสะเด็ดนํ้าแล้ว  ดัชนีที่น่าจะช็อปซื้ออยู่บริเวณ 1577-1610 จุด  กลุ่มที่น่าสนใจ เป็นธนาคารพาณิชย์ หลังประกาศไตรมาส 2  เชื่อว่าแรงกดดันจะเบาลง ตอนนี้กังวลกันไปว่า กำไรไตรมาส 2 จะปรับลงกว่าไตรมาส 1 แรก แต่คิดว่าไม่เป็นเช่นนั้น และเดือนหน้ายังมีเรื่องมาตรฐานบัญชีใหม่ IFRS ที่จะเริ่มใช้ปี 2562  แต่คาดว่าจะเลื่อนออกไปก่อน

หุ้นกลุ่มธนาคารที่น่าสนใจอาทิ  BBL, KTB, TISCO  หมวดอสังหาริมทรัพย์ SC,LH ,QH  เป็นหุ้นมีราคาถูกและมีโครงการในครึ่งปีหลัง กลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี จากจุดบวกตรงราคานํ้ามันเริ่มตั้งหลักได้ แรงกดดันจากการประชุมโอเปกจบแล้ว  ได้แก่  PTT, PTTEP กลุ่มค้าปลีกที่ราคาปรับตัวค่อนข้างแรงไปแล้ว และเป็นไปได้ว่าครึ่งหลังของปี การบริโภคภายในประเทศจะดีขึ้น หุ้นที่แนะนํา CPALL, CPN, HMPRO

ด้านนายณัฐวุฒิ วงศ์เยาวรักษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย   บล.โกลเบล็ก จก.กล่าวว่าตลาดหุ้นไทยมีแนวโน้มดีดตัว คาดดัชนีผันผวนในกรอบ 1600-1665 จุด แนะนำซื้อเก็งกำไร หุ้นที่มีปัจจัยบวก ได้แก่ หุ้นเข้า SETHD แนะนำ BCP, GLOW, MAJOR, RATCH, SGP, SPRC, TOP และ TTW รวมถึงหุ้นเข้า SET50 แนะนำ BGRIM, DELTA, GLOW, KTC, RATCH และ TOA ซึ่งจะมีผลวันที่ 2 กรกฎาคมนี้ และหุ้นที่มีโอกาสเป็นเป้าหมายในการทำ Window dressing ได้แก่ CPALL, ADVANC, CPN, EA, TVO และ GGC ได้ประโยชน์จากมาตรการภาษีสรรพสามิตสนับสนุนการใช้ไบโอดีเซลสูตร B20

หน้า 17 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับ 3,378 วันที่ 28-30 มิถุนายน 2561

e-book-1-503x62