ประมงเฮ“กฤษฎา”นัด 25 มิ.ย.แก้แรงงานขาด 4.2 หมื่นคน

22 มิ.ย. 2561 | 10:50 น.
ประมงเฮ“กฤษฎา”รับนัด 25 มิ.ย.แก้แรงงานประมงขาด 4.2 หมื่นคน

นายมงคล สุขเจริญคณา ประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับนัดสมาคมในวันที่ 25 มิถุนายน 2561 เพื่อหารือเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานต่างด้าวในกิจการประมงทะเล แนวทางความเป็นไปได้ในการใช้มาตรา 83 แห่งพระราชกำหนดการประมง และขอให้พิจารณาผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าว ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2560 อยู่ในราชอาณาจักรและอนุญาตให้ทำงานได้ต่อไปอีก 2 ปีนั้น
mongkol

“ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ เฉพาะกิจการประมงทะเล ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2560 ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน 2560 ข้อ 2 วงเล็บ 2 เมื่อคนต่างด้าวได้รับหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมงแล้วให้อยู่ราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ได้ไม่เกินวันที่ 30 กันยายน 2561 เมื่อสิ้นสุดการอนุญาตหรือการอนุญาตเป็นอันสิ้นผลตามประกาศนี้ ให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรได้อีก 15 วัน เพื่อเตรียมการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร หากไม่มี มาตรา 83 พ.ร.ก. การประมงมารองรับ จะส่งผลทำให้แรงงานประมงทะเลยิ่งขาดแคลนมากขึ้น ปัจจุบันสมาชิกสมาคม 22 จังหวัดแจ้งความประสงค์ต้องการแรงงานกว่า 4.26 หมื่นอัตรา จะต่างกับกลุ่มแรงงานที่มีบัตรสีชมพู”

ส่วนเรื่องการนำเข้าแรงงานสัญชาติเมียนมา (ระบบเอ็มโอยู) เพื่อใช้ในกิจการประมงทะเลที่ต้องการให้แรงงานได้รับสิทธิประโยชน์ เมื่อจัดส่งแรงงานกลุ่มประมงมาทำงานในประเทศไทย 12 ข้อด้วยกัน (โครงการนำร่องจัดส่งแรงงานภาคประมง) ได้แก่ 1.ขออัตรารายรับเป็นรายเดือน ขั้นต่ำที่ 1.2 หมื่นบาท 2.รายรับพิเศษจากการจับปลา แบ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ 3.การจ่ายรายรับ ผ่านระบบธนาคารเท่านั้น 4.เมื่ออยู่บนฝั่ง ขอให้นายจ้างดูแลที่อยู่กิน 5.เวลาพักขอให้เป็นไปตามหลักองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) คือ10 ชั่วโมง

webtshirt

6.ขอให้นายจ้างจ่ายค่าประกันสุขภาพและประกันชีวิต 7.ขอให้คนงานเมียนมาที่มาทำงานอยู่ในระบบประกันสังคมตามกฎหมาย 8.ขอให้นายจ้างช่วยออกค่าใช้จ่ายค่าใบอนุญาตทำงานค่าวีซ่า 9.ใน 1 เดือนขอให้นายจ้างจัดวันหยุด 4 วันหากไม่สามารถจัดวันหยุด ขอให้จัดเป็นการทำงานล่วงเวลา 10.หากเรือไม่ได้ออกทะเล อันไม่ใช่ความผิดของลูกเรือขอให้นายจ้างจ่ายค่าแรง 11.เรือต้องมีระบบวีเอ็มเอส 12.สัญญาจ้างขอเป็นภาษาเมียนมา และเป็นไปตามหลัก ILO

ซึ่งอยู่ในระหว่างการเจรจาเงื่อนไขที่สมาคมไม่เห็นด้วย อาทิ ประกันสังคม และ “อยู่บนฝั่ง” ขอให้นายจ้างดูแลที่อยู่กิน จริงๆ แล้ว นายจ้างรับผิดชอบค่าอาหารและที่พักให้ลูกจ้างเมื่อออกเรือไปทำประมงและกลับเข้าฝั่ง เท่านั้น เช่น คนไทยไปทำงาน บางแห่งอาจจะให้สวัสดิการเป็นอาหารกลางวัน ตอนเย็นก็ต้องกลับไปที่บ้าน ยังจะให้ผู้ประกอบการออกให้อีกหรือ

e-book-1-503x62-7