อสมท ไฟเขียว! 'เพลย์เวิร์ค' ฮุบคลื่น 2600 ผุดโมบายทีวี

22 มิ.ย. 2561 | 04:56 น.
220661-1129

อสมท ไฟเขียว 'เพลย์เวิร์ค' บริษัทที่มีทุนจดทะเบียน 50 ล้าน ใช้คลื่น 2.6 GHz ระยะเวลา 15 ปี พัฒนาบรอดแคสต์บริการคอนเทนต์บนมือถือ ก่อนต่อยอดทำ อี-คอมเมิร์ซ ขายซิม กล่องรับสัญญาณระบบโรมมิ่ง นำร่องติดตั้ง 30 จุด ใน 6 เดือน คาดทำรายได้ 300 ล้าน

กรณีบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) อนุมัติให้ บริษัท เพลย์เวิร์ค จำกัด ผู้ให้บริการ Mobile Content and Applications , Website นำคลื่น 2.6GHz ของ อสมท มาให้บริการรับชมรายการและคอนเทนต์ต่าง ๆ ผ่านช่องทางบรอดแบนด์ไร้สาย จากการตรวจสอบของ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า บริษัท เพลย์เวิร์ค จำกัด จัดตั้งขึ้นในปี 2548 มีทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาท มีผู้ถือหุ้น 3 ราย ได้แก่ นางอภิญญา เวชพงศา ทายาทเจ้าของธุรกิจเวชพงศ์โอสถ , น.ส.สริตา วัฒนะจันทร์ และนายชูชัย ชาญสง่าเวช โดย น.ส.สริตา และนายชูชัย เคยมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นใน บริษัท เทคทีวี จำกัด ซึ่งร่วมกับ บริษัท โรเดอร์ แอนด์ ชวาร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล จีเอ็มบีเอช ประเทศเยอรมนี จัดตั้งบริษัท กิจการค้าร่วมเทคทีวี (TEQTV and Rohde & Schwarz) เข้าร่วมประกวดราคาในโครงการจัดหาเครื่องส่งสัญญาทีวีดิจิตอลของ อสมท มูลค่า 440 ล้านบาท ซึ่งถูกมองว่า ไม่โปร่งใสและมีเรื่องการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง


cloud

ขณะที่ ในปี 2556 น.ส.สริตา ได้ร่วมกับกลุ่มนักลงทุน อาทิ นายเอกฉัตร ลีลาปัญญาเลิศ , นายประสิทธิ์ ศรีสุวรรณ อดีตประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์แอพเพิล เวลธ์ จำกัด (มหาชน) เข้าไปซื้อหุ้นบริษัทหลักทรัพย์สินเอเซียฯ จำนวน 88.5 ล้านหุ้น

นอกจากนี้ น.ส.สริตา ยังเป็นผู้ถือหุ้น บริษัท แอพเพิล เวลธ์ โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทที่ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทหลักทรัพย์ แอพเพิล เวลธ์ จำกัด (มหาชน) ที่มีนายประสิทธิ์เป็นประธานกรรมการบริหาร ต่อมาในเดือน ก.ย. 2559 นายประสิทธิ์ได้ถูกสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ลงโทษด้วยการพักการให้ความเห็นชอบเป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน 2 ปี เนื่องจากละเลยการตรวจสอบดูแลระบบงานในการทำความรู้จักลูกค้า ตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า และการกำกับดูแลการทำธุรกรรมของลูกค้า ซึ่งเป็นระบบงานหลักที่สำคัญและมีผลต่อความเชื่อมั่นในตลาดทุนโดยรวม

 

[caption id="attachment_291991" align="aligncenter" width="468"] ภาวิช ทองโรจน์ กรรมการบริหาร บริษัท เพลย์เวิร์ค จำกัด ©thebangkokinsight.com ภาวิช ทองโรจน์ กรรมการบริหาร บริษัท เพลย์เวิร์ค จำกัด
©thebangkokinsight.com[/caption]

ด้าน นายภาวิช ทองโรจน์ กรรมการบริหาร บริษัท เพลย์เวิร์ค จำกัด เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า คลื่น 2.6GHz มีศักยภาพสูงเทียบเท่า 5G แต่ถูกทิ้งไว้เฉย ๆ จึงเกิดแนวความคิดร่วมกับ อสมท ในการนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ภายใต้สัญญา 15 ปี นับจากวันที่ให้บริการ แม้ว่าในหลักการคลื่นจะเป็นของสาธารณะและเป็นของประเทศ แต่เมื่อ อสมท แปรรูปเป็นบริษัทมหาชนที่ต้องรับผิดชอบกับผู้ถือหุ้นใหญ่อยู่ก็ตาม ซึ่งดูสถานภาพทางกฎหมายมีรูปแบบการบริหารและรายได้เช่นเอกชนไปแล้ว คลื่นนี้จึงกลายเป็นทรัพย์สินของภาคเอกชน จึงไม่ได้ขัดกับสัญญาใด ๆ กับ อสมท และมองว่าเป็นโอกาสที่ดีในการผลักดันสิ่งใหม่ ๆ ออกสู่ประชาชน

เดิม อสมท เน้นให้บริการในรูปแบบเก่า คือ อนาล็อก ทางเพลย์เวิร์คมองเห็นโอกาสทางการเติบโต จึงได้นำเสนอไอเดียใหม่ ๆ ในการให้บริการ โดยการนำระบบดิจิตอลเข้ามาเสริมเพื่อให้บริการทั่วถึง จึงเกิดเป็นการเชื่อมโยงกับผู้ให้บริการต่าง ๆ แทนที่จะลงทุนใหม่ ก็นำสิ่งที่มีอยู่มาต่อยอด โดยนำทรัพยากรเก่ามาพัฒนาให้ดีขึ้น ทั้งในส่วนของข่าวและรายการ ปรับเปลี่ยนแปลงรูปแบบการนำเสนอให้ทันสมัย ขณะเดียวกันก็ครีเอตคอนเทนต์ใหม่ ๆ ออกมา นอกจากนี้ ยังมีรูปแบบของการร่วมกันในอนาคตที่มีอีกมากมาย ทั้งคอนเทน รวมถึงการร่วมกันผลิตรายการในรูปแบบ อี-คอมเมิร์ซ ด้วย


e-commerce-concept_23-2147513189

"ในส่วนของค่าใช้จ่ายในการรับชมรายการบนคลื่นความถี่ย่าน 2.6GHz นั้น จะมีทั้งฟรีและต้องเสียค่าใช้จ่าย ซึ่งมองว่า หากบริการดังกล่าวสามารถครอบคลุมผู้ใช้ได้มากขึ้น เรื่องของราคาก็จะถูกลงตามไปด้วย อยู่ในระดับไม่ถึงพันบาท"

ด้าน นายเขมทัตต์ พลเดช กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การให้บริการบนคลื่นความถี่ย่าน 2.6GHz เป็นการรับชมรายการและคอนเทนต์ต่าง ๆ ผ่านช่องทางบรอดแบนด์ไร้สาย ไม่ว่าจะเป็น มือถือ แท็บเลต และทีวีฯ โดยมี บริษัท เพลย์เวิร์ค จำกัด เป็นคู่สัญญา 15 ปี นับจากวันที่ให้บริการ นอกจากนี้ ยังมีบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (AWN) , บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (TUC) เป็นพาร์ตเนอร์ร่วมกันในการให้บริการ โดยล่าสุด โครงการได้รับอนุญาตเกี่ยวกับเครื่องวิทยุคมนาคมต่าง ๆ ที่จำเป็น และเกี่ยวข้องโดยครบถ้วนจาก สำนักงาน กสทช. แล้ว ทำให้ความคืบหน้าของโครงการขณะนี้ พร้อมที่จะทดลองเชิงการตลาด

 

[caption id="attachment_292001" align="aligncenter" width="503"] เขมทัตต์ พลเดช กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เขมทัตต์ พลเดช
กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)[/caption]

ทั้งนี้ การให้บริการบนคลื่น 2.6GHz อดีตเคยเป็นไวเลสเคเบิล และเพื่อเสริมจุดบอดเรื่องการออกอากาศเคเบิลทีวี จึงได้มีการปรับเปลี่ยน Network Code ของคลื่น ซึ่งได้อนุญาตจาก กสทช. เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยจะนำร่องทดลองช่วง 6 เดือนแรก ใน 30 จุดทั่วกรุงเทพฯ ในปีนี้ หลังจากนั้น จะทำการวัดจำนวนผู้ชมและการเข้าถึง ก่อนจะขยายการรับชมเพิ่มเติม โดยทางผู้ผลิตคอนเทนต์มีการันตีรายได้ในช่วงปีแรก หลังทดลองออกอากาศ 6 เดือน ว่า บริการบนคลื่นความถี่ย่าน 2.6GHz จะสามารถสร้างรายได้กว่า 300 ล้านบาท ในปีแรก และจะเป็นการเสริมแกร่งให้กับธุรกิจเดิมของ อสมท สู่ความเป็นคอนเวอร์เจนที่จะมีการพัฒนาบริการรูปแบบใหม่ในอนาคต


……………….
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,376 วันที่ 21-23 มิ.ย. 2561 หน้า 01+15

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
“อสมท” ขยายเวลา 30 วัน ลั่น! “สปริงนิวส์ไม่จอดำ” แจง “พอใจเงื่อนไขการเจรจา”
ใบเสร็จมัด 'อสมท' 2 มาตรฐาน เก็บค่ามัค!


e-book-1-503x62