กนง.เสียงแตกคงดอกอาร์พี 1.5% ชี้สงครามการค้าความเสี่ยงด้านลบต่อศก.

20 มิ.ย. 2561 | 09:26 น.
กนง.เสียงแตก 5 ต่อ 1 ส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ย เหตุเศรษฐกิจฟื้นชัด-เก็บกระสุนไว้ใช้ในอนาคต ด้านเสียงคงดอกเบี้ยที่ 1.5% ยันนโยบายการเงินผ่อนคลายยังจำเป็น พร้อมปรับจีดีพีปีนี้โต 4.4% จากเดิมที่ 4.1% ส่วนส่งออกให้โต 9% จาก 7% ย้ำสงครามการค้าเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทยกว่าเงินทุนไหลออก ลั่นติดตามสถานการณ์ใกล้ชิด หลังม.ค.-เม.ย.เงินไหลออก 2.6 พันล้านดอลลาร์ฯ

-20 มิ.ย.2561- นายจาตุรงค์ จันทรังษ์ เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการฯ มีมติ 5 ต่อ 1 เสียง ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 1.50% ต่อปี โดยมี 1 เสียงให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% จาก 1.50% เป็น 1.75% ต่อปี เพราะมองว่าเศรษฐกิจฟื้นตัวชัดเจนขึ้น หากนโยบายผ่อนคลายนานเกินไปอาจจะทำให้ประชาชนและภาคธุรกิจประเมินความเสี่ยงตำกว่าที่ควร จึงควรปรับดอกเบี้ยขึ้นเพื่อให้มีความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงิน (Policy Space) ในอนาคต และในการประชุมครั้งนี้มีกรรมการ 1 ท่านลาประชุม
Jaturon1-1 ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง โดยมีแรงขับเคลื่อนจากการส่งออกสินค้าและการท่องเที่ยวที่ปรับดีขึ้นตามเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัว และอุปสงค์ในประเทศมีแรงส่งเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวต่อเนื่อง ธปท.จึงมีการปรับประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ในปีนี้จากคาดการณ์เดิมอยู่ที่ 4.1% เป็น 4.4% และในปี 2562 ปรับจีดีพีจาก 4.1% เป็น 4.2%

ขณะเดียวกัน ได้ปรับมูลค่าการส่งออกสินค้าจากเดิมคาดเติบโตอยู่ที่ 7% ปรับเป็น 9% และในปี 2562 ปรับจาก 3.6% เป็น 5% แนวโน้มชะลอตัวลงจากปีนี้ที่ขยายตัวค่อนข้างสูง ประกอบกับมีปัจจัยกีดกันทางการค้า ซึ่งอาจจะกระทบภาคการส่ง จึงมีการติดตามอย่างใกล้ชิด และถือเป็นปัจจัยที่คณะกรรมการฯ ให้ความสำคัญ เนื่องจากเป็นความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทย เนื่องจากในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา ได้มีการส่งสัญญาณเพิ่มความเข้มข้น ซึ่งอาจกระทบต่อการส่งออก และโยงไปถึงเซ็กเตอร์อื่นที่เกี่ยวโยงกับรายได้จากการส่งออก จึงต้องจับตาใกล้ชิด
ดอกเบี้ยกับการกู้เงินของธุรกิจ ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องและรับแรงสนับสนุนจากโครงการภาครัฐที่ชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะโครงการที่มีการร่าง TOR จึงมีการปรับประมาณการจาก 3% เป็น 3.7% และในปี 2562 ปรับจาก 3.6% เป็น 4.4% ส่วนการใช้จ่ายภาครัฐและยังเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แต่ยังคงมีความเสี่ยงจากการเบิกจ่ายที่อาจจะล่าช้ากว่าที่ประเมินไว้

“คณะกรรมการยังมองว่าการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายยังคงมีความจำเป็นอยู่ แต่ปัญหาจากสงครามการค้า หรือ Trade War เป็นปัจจัยความเสี่ยงด้านลบที่จะต้องประเมินต่อ แต่คงไม่ใช่ปัจจัยหลักสำคัญที่คงดอกเบี้ยไว้”

สำหรับเงินทุนเคลื่อนย้าย คณะกรรมการฯ ได้มีการประเมินสถานการณ์อยู่ แต่ยังคงให้ปัจจัยภายในเป็นสำคัญ เช่น เงินเฟ้อ และการเติบโตของเศรษฐกิจ เป็นหลัก จะเห็นว่าในช่วงที่เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นจะมีเงินไหลกลับจากตลาดเกิดใหม่ และหากประเมินเสถียรภาพต่างประเทศ จะเห็นว่าทุนสำรองของไทยค่อนข้างสูง หนี้ต่างประเทศต่ำ และการถือครองพันธบัตรต่างชาติไม่สูงเหมือนประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีกันชนรองรับ แต่คณะกรรมก็ต้องติดตามใกล้ชิด และยังไม่มีผลต่อการตัดสินใจนโยบายการเงิน

ทั้งนี้ นับตั้งแต่เดือนม.ค.-เม.ย.2561 มีเงินไหลออกจำนวน 2.6 พันล้านดอลลาร์ฯ ซึ่งยังเป็นทิศทางไหล โดยส่วนใหญ่ไหลออกจากตลาดพันธบัตรและตลาดหุ้นเป็นหลัก และหากเทียบเงินทุนไหลออกกับประเทศเพื่อนบ้าน จะเห็นว่าค่อนข้างใกล้เคียงเมื่อดูจากค่าเงิน อย่างไรก็ดี เงินบาทที่อ่อนค่านั้น คงต้องติดตามสถานการณ์ต่อไป แต่จะเห็นว่าเงินบาทอ่อนค่าใกล้เคียงกับช่วงสิ้นปีที่ผ่านมา จากต้นปีที่มีแนวโน้มแข็งค่า ซึ่งเกิดจากปัจจัยต่างประเทศเป็นสำคัญ และเกิดกับตลาดเกิดใหม่ จึงยังไม่น่ากังวล

“น้ำหนักตอนนี้เราให้เรื่องปัจจัยในประเทศเป็นหลักส่วนเงินไหลออกจะมีผลต่อตลาดทุนและหุ้น ยังไม่ได้ส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริง แม้ว่าจะมีผลให้ผลตอบแทนพันธบัตรเพิ่มขึ้นบ้าง ทำให้บริษัทที่ออกตราสารหนี้มีต้นทุนเพิ่มขึ้นบ้าง แต่คงไม่มาก แต่เราก็มีการประเมินสถานการณ์อยู่ เพราะมีความผันผวนสูง มีพลวัตร ดังนั้น คงต้องพิจารณาถึงกันชนและความแข็งแรงที่เราค่อนข้างแข็งแกร่ง จึงต้องดูปัจจัยในประเทศมากกว่า”

สรุปแนวโน้มเศรษฐกิจไทย

เศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวชัดเจน ต่อเนื่อง โดยมีแรงขับเคลื่อนจากการส่งออกสินค้าและ การท่องเที่ยวที่ปรับดีขึ้นต่อเนื่องตามเศรษฐกิจโลกที่ ขยายตัว และอุปสงค์ในประเทศที่มีแรงส่งเพิ่มขึ้น อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีทิศทางปรับสูงขึ้นกว่าที่ประเมินไว้เดิม เล็กน้อย โดยหลักเป็นผลของราคาน้ํามันที่ปรับเร่งขึ้น ความเสี่ยงต่อประมาณการเศรษฐกิจโน้มไปด้านต่ําจาก ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับนโยบายการค้าระหว่างประเทศ ของสหรัฐฯ และมาตรการตอบโต้จากคู่ค้าของสหรัฐฯ ที่ อาจส่งผลลบต่อการค้าโลก การขยายตัวของเศรษฐกิจคู่ค้า และการส่งออกไทย ความเสี่ยงต่อประมาณการอัตราเงินเฟ้อโน้มไปด้านต่ํา ตามความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจ
1529486194605 ประมาณการเศรษฐกิจในรายงานนโยบายการเงิน เดือนมิถุนายน 2561

การส่งออกสินค้าและการท่องเที่ยวขยายตัว ต่อเนื่องตามเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัว การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่อง แต่หนี้ภาคครัวเรือนยังอยู่ในระดับสูง และการ ขยายตัวของเศรษฐกิจยังไม่ได้ส่งผลดีต่อรายได้ ครัวเรือนและการจ้างงานอย่างทั่วถึง การลงทุนภาคเอกชนปรับดีขึ้นต่อเนื่องและ ได้รับแรงสนับสนุนเพิ่มเติมจากโครงการภาครัฐ ที่ชัดเจนมากขึ้น แต่ยังต้องติดตาม ความคืบหน้าของโครงการลงทุนต่างๆ ในระยะ ข้างหน้า การใช้จ่ายภาครัฐจะยังเป็นแรงขับเคลื่อน เศรษฐกิจ แต่ยังมีความเสี่ยงจากการเบิกจ่ายที่ อาจล่าช้ากว่าที่ประเมินไว้
1529486239666