No Plastic ยุติการจำหน่าย

25 มิ.ย. 2561 | 05:21 น.
ตอนนี้นโยบาย No Plastic ไม่ว่าจะเป็นถุง หรือหลอด รวมถึงผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ทำจากพลาสติก ที่มนุษย์เราใช้ในชีวิตประจำวัน กำลังถูกกระตุ้นอย่างเต็มที่ ทั้งจากภาครัฐและเอกชนกำลังออกแคมเปญกระตุ้นกันอย่างหนัก

อย่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็เพิ่งประกาศไปเมื่อเดือนพฤษภาคม 2561 ว่ามีโครงการลดการใช้พลาสติกแบบครั้งเดียว (NO MORE SINGLE USE PLASTIC) เพื่อการลดขยะให้เป็นศูนย์ (Zero Waste Campus) โดยจับมือกับค้าปลีกรายใหญ่ กับ 5 มาตรการ ยกเลิกการใช้พลาสติกครั้งเดียวทิ้ง (NO MORE SINGLE USE PLASTIC) เนื่องจากที่่ผ่านมา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต มีประชากรโดยประมาณ 40,000 คน มีการสร้างขยะราว 2,400 ตันต่อปี แต่สามารถคัดแยกเพื่อเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้เพียง 30% โดยมีอัตราการใช้ถุงพลาสติกจากร้านสะดวกซื้อที่สูงถึง 6.5 ล้านใบต่อปี

ภาพประกอบข่าว (2)

สำหรับ 5 มาตรการของธรรมศาสตร์ คือ 1. ยกเลิกการให้บริการถุงพลาสติกในทุกสาขาภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เว้นเฉพาะ ถุงสำหรับใส่ของร้อนพร้อมทานเท่านั้น ยกเว้นสาขาโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จะยังมีถุงพลาสติกให้บริการ ควบคู่ไปกับการใช้วิธีการรณรงค์ที่เหมาะสม เนื่องจากมีบุคคลภายนอกใช้บริการเป็นส่วนใหญ่ 2. จำกัดการให้ช้อน ส้อม และหลอดพลาสติก โดยให้บริการเมื่อผู้ใช้บริการร้องขอเท่านั้น  3. ยกเลิกจำหน่ายนํ้าดื่มที่มีพลาสติกหุ้มฝาขวด 4. ยกเลิกการให้บริการหลอดที่มีถุงพลาสติกหุ้ม  5. ยกเลิกการรับร้องเรียนกรณีพนักงานไม่ให้ถุงพลาสติก ที่มาจากการใช้บริการร้านสาขาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และธรรมศาสตร์ยังร่วมมือกับศูนย์อาหารภายในเขตมหาวิทยาลัย ให้เลิกการใช้แก้วพลาสติกชนิดใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง โดยคาดการณ์ว่าจะสามารถลดการใช้แก้วพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งได้ราว 90,000 ใบต่อเดือน

ด้านค้าปลีกขนาดใหญ่ “อิเกีย” ก็ประกาศยุติการจำหน่ายผลิตภัณฑ์พลาสติกประเภทใช้แล้วทิ้ง ได้แก่ หลอด จาน ถ้วย ถุงแช่แข็ง ถุงขยะ รวมถึงจานและถ้วยกระดาษเคลือบพลาสติก เป็นการสร้างมาตรฐานใหม่กับการใช้ชีวิตแบบเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตามนโยบายการเป็นองค์กรที่สรรค์สร้างแต่สิ่งดีแก่ผู้คนและสิ่งแวดล้อมให้ได้ภายในปี 2573 โดยอิเกียจะยุติการจำหน่ายผลิตภัณฑ์พลาสติกประเภทใช้แล้วทิ้งในสโตร์อิเกียทั่วโลก ให้ได้ภายในวันที่ 1 มกราคม 2563

โปรโมทแทรกอีบุ๊ก-6

แนวทางการดำเนินงานไม่ให้ส่งผลเสียต่อสภาพอากาศของอิเกีย ภายในปี 2573 คือ 1. การออกแบบสินค้าทั้งหมด
ด้วยหลักการใช้งานแบบหมุนเวียน เป้าหมายที่กำหนดไว้ คือ จะต้องใช้เฉพาะวัสดุที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้หรือวัสดุรีไซเคิลเท่านั้น และสินค้าต้องเอื้อต่อการดัดแปลง ซ่อมแซม นำกลับมาใช้ใหม่ นำไปขายต่อ และนำไปรีไซเคิล ทั้งนี้ เพื่อควบคุมการสร้างของเสียจากสินค้าของเราให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

2. บรรจุสินค้าในบรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ หรือรีไซเคิลได้เท่านั้น 3. ยุติการจำหน่ายสินค้าที่ผลิตจากพลาสติกซึ่งสังเคราะห์จากสารตั้งต้นจำพวกเชื้อเพลิงฟอสซิล และ 3. เพิ่มผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่ม หรือเมนูทางเลือกที่ทำจากผักในรายการสินค้าอาหาร

ส่วนอิเกีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในฐานะแฟรนไชส์อิเกียที่ดำเนินกิจการอยู่ในภูมิภาค มีสโตร์อิเกียอยู่ใน 3 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ได้ประกาศนโยบายอันเป็นแนวทางปฏิบัติ ได้แก่ 1. การเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน ผลิตพลังงานหมุนเวียน และใช้พลังงานหมุนเวียนให้มากขึ้น 2. ไม่สร้างขยะที่ต้องกำจัดด้วยวิธีฝังกลบ 3. คัดเลือกเฉพาะผู้ผลิตที่ดำเนินธุรกิจอย่างใส่ใจสิ่งแวดล้อมและสังคมมาร่วมงานกับเราในการจัดหา
และจำหน่ายสินค้าและบริการ 4. บูรณะสโตร์อิเกียที่มีอยู่เดิมและสร้างสโตร์ใหม่ รวมถึงสโตร์ที่เชื่อมกับศูนย์การค้า ให้มีลักษณะถูกต้องตามมาตรฐานอาคารสีเขียว 5. สนับสนุนการดำเนินกิจการของผู้ประกอบกิจการ
เพื่อสังคมอย่างน้อยหนึ่งรายในแต่ละตลาดที่เราเข้าไปทำธุรกิจ และ 6. สร้างแรงบันดาลใจและช่วยให้พนักงาน ลูกค้า ผู้มาเยี่ยมชมสโตร์ และชุมชนรอบสโตร์ของเราได้ใช้ชีวิตอย่างสุขภาพดีและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมยิ่งขึ้น

SÖTVATTEN01_preview

นอกจาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอิเกีย ก็ยังมีอีกหลายๆ แห่งที่ร่วมมือกันไม่สร้างขยะ โดยเฉพาะพลาสติก อย่างมหาวิทยาลัยมหิดลกับนโยบายการลดใช้ถุงพลาสติก โรงแรมของกลุ่มสิงห์เอสเตท กับนโยบาย No Plastic บมจ.ซีพี ออลล์ กับโครงการคิดถุ๊ง คิดถุง และการผนึกกับ 5 ภาคี จัดงานปลุกพลัง “รักษ์อันดามัน ร่วมใจลดใช้ถุงพลาสติก” หรือกลุ่มเซ็นทรัลก็มีนโยบายลดใช้ถุงเช่นกัน

หน้า 26-27 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,376 วันที่ 21 - 23 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว