“Amazing Thailand” สมเกียรติชี้ “ประมูล1800 MHz” ล่ม “เพราะ กสทช. เรียกราคาสูงเกินไป”

19 มิ.ย. 2561 | 10:38 น.
- 19 มิ.ย. 61 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เฟซบุ๊ค Somkiat Tangkitvanich ของ นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ได้เผยแพร่ความคิดเห็น การประมูลคลื่น 1800 MHz โดยมีเนื้อดังนี้

“มีนักข่าวติดต่อเข้ามาว่า อยากฟังความเห็นของผมเรื่องการประมูลคลื่น 1800 MHz ที่ไม่มีผู้ประกอบการรายใดเข้าร่วมเลย เพื่อนๆ รู้ไหมครับว่า เรื่องนี้ Amazing Thailand มากเลยครับ

ที่มาที่ไปของเรื่องนี้ก็คือ กสทช. กำหนดราคาประมูลตั้งต้นของคลื่น 1800 MHz ในรอบนี้สูงเกินไป เพราะไปกำหนดให้เท่ากับราคาชนะการประมูลคราวที่แล้ว แทนที่จะคิดราคาประมูลตั้งต้นขึ้นใหม่ โดยคำนึงถึงสภาพเศรษฐกิจ และเงื่อนไขตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป อย่างที่เคยทำมาโดยตลอด DSC080151

วิธีดูง่ายๆ ว่า ทำไมการคิดราคาประมูลตั้งต้นในรอบนี้ไม่เข้าท่าก็คือ สมมติว่า มีการประมูลใบอนุญาตทีวีดิจิทัลรอบใหม่ในปี 2561 โดย กสทช. ใช้ราคาชนะประมูลรอบที่แล้วเมื่อปี 2556 มาเป็นราคาประมูลตั้งต้นของรอบใหม่นี้ แน่นอนว่า คงไม่มีผู้ประกอบการรายไหนมาร่วมประมูลด้วย เพราะสภาพตลาดสื่อทีวีได้เปลี่ยนไปมากจากการถูกสื่อออนไลน์ป่วนอย่างแรง

ผมได้ยินมาว่า เหตุผลที่ กสทช. ไปกำหนดราคาอย่างนี้ เพราะมีการ “ล็อบบี้” จากผู้ชนะประมูลรอบที่แล้ว ที่เห็นว่า ราคาที่ตนชนะประมูลมาสูงมาก เลยเกรงว่าจะเสียเปรียบคู่แข่งที่ประมูลได้ในอนาคต จึงให้ กสทช. สัญญาไว้ในเงื่อนไขใบอนุญาตที่ออกให้ตนเลยว่า การประมูลรอบต่อไปต้องตั้งต้นด้วยราคาไม่ต่ำกว่านี้ ซึ่ง กสทช. ก็ยอมตามนั้น และนำมาอ้างว่า หากกำหนดราคาตั้งต้นต่ำกว่าราคาชนะการประมูลคราวที่แล้ว กสทช. ก็จะถูกฟ้องร้อง

BERLIN, GERMANY - SEPTEMBER 19: A shopper ltries out the new Apple iPhone 6 at the Apple Store on the first day of sales of the new phone in Germany on September 19, 2014 in Berlin, Germany. Hundreds of people had waited in a line that went around the block through the night in order to be among the first people to buy the new smartphone, which comes in two versions: the Apple iPhone 6 and the somewhat larger Apple iPhone 6 Plus. (Photo by Sean Gallup/Getty Images)

ผมไม่เคยเห็นใบอนุญาตของผู้ชนะการประมูลรอบที่แล้วว่า มีเงื่อนไขดังกล่าวจริงหรือไม่ และเขียนไว้อย่างไร แต่เมื่อได้ฟังเรื่องดังกล่าวแล้วก็ตกใจ เพราะหากเป็นความจริงแล้ว ก็หมายความว่า ระบบการกำกับดูแลโทรคมนาคมของประเทศไทยโดย กสทช. นั้นพิลึกกึกกือและไร้มาตรฐานโดยสิ้นเชิง อย่างไม่มีประเทศไหนเขาทำกัน มีอย่างที่ไหนครับ เอาราคาของการประมูลคราวที่แล้ว มากำหนดราคาตั้งต้นของการประมูลครั้งนี้ โดยไม่มีการแจ้งให้ผู้ร่วมประมูลคราวที่แล้วทราบล่วงหน้าก่อนเลย

ผลของเงื่อนไขพิลึกนี้ก็คือ ผู้ชนะการประมูลคลื่น 1800 MHz รอบที่แล้วทั้งสองราย จะได้เปรียบผู้ชนะการประมูลคลื่น 1800 MHz รอบนี้อย่างแน่นอน หากการประมูลเกิดขึ้น เพราะจ่ายค่าประมูลเท่ากันหรือต่ำกว่า แต่ได้คลื่นไปใช้ก่อนถึงกว่า 2 ปี ทำให้แย่งส่วนแบ่งตลาดมาได้มากมาย จึงไม่แปลกใจที่ผู้ประกอบการเหล่านี้เรียกร้องให้กำหนดราคาประมูลรอบนี้ไว้สูง

หากมีการประกาศเงื่อนไขพิลึกแบบนี้ล่วงหน้าให้รู้ทั่วกัน ผู้ที่ออกจากการประมูลคลื่นรอบที่แล้วไปก่อน ก็อาจจะสู้ต่อไป ไม่ยอมแพ้เร็วขนาดนี้ก็ได้ 0hs67rHqBlLBkKCwOIzX9TTihYKmJmZjsKYTMgIzFWLH95JW1JPmRjfi5lcXtzOGJPZDl_KC9YJTUiPzxHKj4mfikJcC5wa2k

อีกเรื่องที่แสดง “ความสารขัณฑ์” ของการกำกับดูแลของ กสทช. ก็คือ การให้มี “การเยียวยา” ตามใจตน โดยไม่ได้ประกาศล่วงหน้าอีกเช่นเดียวกัน ซึ่งทำให้ถูกมองได้ว่า เลือกปฏิบัติกับผู้ประกอบการแบบเลือกที่รักมักที่ชัง โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาจาก “สุ้มเสียง” ของ เลขาธิการ กสทช. ที่พูดหลังรู้ว่า ไม่มีใครมาร่วมประมูล

น่ามหัศจรรย์ใจอยู่นะครับว่า นานาประเทศต่างใช้การประมูลคลื่นเพื่อสร้างการแข่งขันที่เป็นธรรม แต่ประเทศเรากลับสามารถทำให้การประมูลกลายเป็นเครื่องมือสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้แก่ผู้ประกอบการบางรายได้

Amazing Thailand จริงๆ ครับ”

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. กล่าวถึงกรณีค่ายโทรศัพท์มือถือประกาศไม่เข้าร่วมประมูลคลื่น 1800 MHz ตามที่ กสทช. เปิดให้ยื่นคำขอใบอนุญาตเมื่อวันที่ 15 มิ.ย. ว่า ทราบว่ายังไม่มีใครมายื่น แต่ยังมีเวลาอยู่ ซึ่งสำคัญวันนี้จะทำอย่างไรไม่ให้กระทบกับผู้ที่ใช้โทรศัพท์มือถือทั้งในแง่ของเทคโนโลยีและการบริการ และที่สำคัญประชาชนต้องได้ประโยชน์ก่อนและรัฐต้องไม่เสียประโยชน์ ตรงนี้คือหลักการของรัฐบาล ในส่วนของการประมูลหรือไม่ประมูลก็เป็นเรื่องของ กสทช. ที่ต้องดำเนินการตามกฎหมาย ตามหน้าที่