หน้าใหม่เมินไลเซนส์คริปโต เหตุขนาดตลาดเล็ก จับตาบล.จ่อยื่นขอ ICO Portal

03 ก.ค. 2561 | 06:46 น.
คาดรายใหม่ยื่นขอไลเซนส์เป็นตัวกลางซื้อขายเหรียญดิจิตอลมีน้อยหรืออาจไม่มี เหตุขนาดตลาดเล็กไม่คุ้ม ราคาบิตคอยน์อยู่ในช่วงขาลง ลุ้นบจ.แห่ออกไอซีโอปลุกชีพ จับตา “โบรกเกอร์รายย่อย” ต่อยอดธุรกิจยื่นเป็น ICO Portal
BTC-chart
หลังจากที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลัก ทรัพย์ (ก.ล.ต.) อนุมัติเกณฑ์กำกับดูแลการระดมทุนออกไอซีไอ และตัวกลางซื้อขายแลกเปลี่ยนคริปโตเคอร์เรนซี โดยจะประกาศภายในเดือนมิถุนายนนี้ และคาดผู้ต้องการออกไอซีโอจะยื่นตามเกณฑ์ใหม่นี้ได้ประมาณเดือนกันยายน-ตุลาคมปีนี้

นางทิพยสุดา ถาวรามร รองเลขาธิการก.ล.ต. กล่าวกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่าคาดจะมีผู้สนใจเป็นตัวกลางซื้อขายแลกเปลี่ยนโทเคนดิจิตอลเพิ่มขึ้น   ซึ่งกระทรวงการคลังไม่ได้จำกัดจำนวนใบอนุญาต (license) ศูนย์ซื้อขายเงินดิจิตอล (Exchange), นายหน้าซื้อขาย (Broker) และผู้ค้า (Dealer) แต่เราคงประเมินไม่ได้ อย่างไรก็ดีระหว่างนี้ก.ล.ต.อยากให้ผู้ที่แสดงความสนใจจะเป็นตัวกลางซื้อขาย หรือเป็น ICO Portal (ที่ปรึกษาการเงิน-คัดกรองตรวจสอบไอซีโอที่จะเสนอขาย) เข้ามาทำความเข้าใจว่าจะต้องเตรียมตัวอย่างไร

[caption id="attachment_294868" align="aligncenter" width="464"] ทิพยสุดา ถาวรามร  รองเลขาธิการก.ล.ต. ทิพยสุดา ถาวรามร
รองเลขาธิการก.ล.ต.[/caption]

“เราอยากคุยกับรายที่แสดงความสนใจ เช่นต้องการจะเป็น ICO Portal เพราะถ้าไม่มีตรงนี้ การจะออกไอซีโอก็ไม่ได้ หรือรายที่เป็น Broker หรือ Exchange อยู่เดิมว่า เกณฑ์ที่ออกมารับได้หรือไม่ ถ้าจะทำต่อไปก็ต้องยื่นขออนุญาตคลังภายใน 90 วัน สิ้นสุดวันที่ 14 สิงหาคมนี้ สำหรับผู้ที่มีไม่เคยประกอบการเลยก็ควรจะเข้ามาคุยกับก.ล.ต.เพื่อทำความเข้าใจกันเสียก่อน”

MP18-3375 ส่วนคำถามที่ว่าทุนจดทะเบียนที่กำหนดไว้สูง เป็นการเปิดทางให้รายเดิมหรือบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) หรือไม่ รองเลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวว่า เราต้องการสร้างความแน่ใจว่าบริษัทตัวกลางซื้อขายโทเคนเหล่านี้ มีเงินทุนเพียงพอในการสร้างระบบที่จำเป็นมารองรับ โดยเฉพาะตัวกลางซื้อขายที่เกี่ยวข้องกับการเก็บทรัพย์สินของลูกค้า (จำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินลูกค้าได้เอง) แต่ในรายที่ไม่ต้องเก็บทรัพย์สินของลูกค้า (จำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินลูกค้าไม่ได้) ได้ลดทุนจดทะเบียนลงมา โดย Exchange และ Broger เหลือ 10 ล้านบาทและ 5 ล้านบาทตามลำดับ จากก่อนทำประชาพิจารณาที่ 50 ล้านบาท และ 25 ล้านบาทตามลำดับ

“ไม่ได้เอื้อรายเดิมแต่ต้องสอดคล้องกัน โดยเกณฑ์ใหม่ทุนจดทะเบียนของบล.ที่เสนอไปเมื่อปลายปีที่แล้ว ถ้าบล.ที่มีภาระรับผิดชอบต่อระบบการชำระราคาและส่งมอบและเก็บรักษาทรัพย์สินลูกค้า ต้องมีทุนจดทะเบียน 25 ล้านบาท ถ้าไม่ต้องเก็บทรัพย์สินลูกค้าทุนจดทะเบียนอยู่ที่ 1 ล้านบาท แต่ตามกฎหมายเขา (บล.)ยังไม่สามารถแก้ทุนจดทะเบียนลงได้ในทันที บล.ปัจจุบันจึงยังเป็น 100 ล้านบาท เทียบแล้วทุนจดทะเบียนของเว็บเทรดเหรียญดิจิตอล ก็ไม่ได้เท่าขนาดนั้น”

ส่วนกรณีบริษัทตัวกลางซื้อขาย Exchange  มีความสนใจจะเป็น ICO portal ควบคู่ด้วย นางทิพยสุดา กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีเกณฑ์ห้าม แต่ Exchange ต้องมีมาตรการที่แสดงให้เห็นว่าไม่มีเรื่องของconflict of interest หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อน แต่ในรายของ Dealer ที่จะเป็น ICO portal อาจจะอนุมัติยากกว่า

นายศักดา เกตุแก้ว เจ้าของศูนย์ซื้อขายแลกเปลี่ยนคริปโต  Cash2Coins  ให้ความเห็นว่า หากเกณฑ์กำกับมีความชัดเจนออกมา แนวโน้มการออกไอซีโอน่าจะมากขึ้น และอาจเป็นช่องทางให้บริษัทจดทะเบียน  (บจ.) หันมาระดมทุน เพราะการทำไอซีโอ ไม่มีการไดลูต (dilute) ผู้ถือหุ้น
man-3126802_1920-800x534 อย่างไรก็ดีคิดว่าช่วงแรกคงไม่มีใครมาเปิด Exchange เพิ่ม  เนื่องจากขนาดของตลาดเล็กมากๆ ประกอบกับราคาบิตคอยน์อยู่ในช่วงขาลง คงต้องรอการออกไอซีโอของผู้ประกอบการที่น่าสนใจมาทำให้เกิดความเคลื่อนไหวและตลาดทุนรับรู้ในวงกว้าง ถึงตอนนั้นน่าจะมีการแข่งขันมากขึ้นเนื่องจากตลาดนี้เปิด 24 ชั่วโมงทุกวัน ไม่มีซิลลิ่ง ไม่มีฟลอร์

ด้านนายปริญญ์ พานิชภักดิ์กรรมการผู้จัดการ บล.ซี แอล เอส เอ (ประเทศไทย)ฯ กล่าวว่าการออกไอซีโอ จะเป็นช่องทางหนึ่งที่ธุรกิจจะให้ความสนใจมากขึ้น  และคงเห็นแนวโน้มที่บล.หรือโบรกเกอร์รายย่อย หันมาเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน ให้คำแนะนำเรื่องไวต์เปเปอร์ (หนังสือชี้ชวนการลงทุน) ซึ่งเป็นการต่อยอดจากสิ่งที่บล.ทำกันอยู่แล้ว เพราะกลุ่มที่จะระดมทุนส่วนใหญ่จะเป็นสตาร์ตอัพ เอสเอ็มอี ธุรกิจขนาดย่อม ซึ่งเป็นฐานลูกค้า บล.รายย่อยอยู่แล้ว

..........................................................................................

หน้า 18 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ | ฉบับ 3,375 ระหว่างวันที่ 17-20 มิ.ย.61 e-book-1-503x62-7