"ฐากร" กุมขมับ! ไร้เงาเอกชนประมูลคลื่น 1800 จ่อเสนอ "บอร์ดกสทช.-รัฐบาล" หาทางออก

15 มิ.ย. 2561 | 09:37 น.
"ฐากร" เตรียมเสนอบอร์ด กสทช.และรัฐบาล หาทางออกประมูลคลื่น 1800 ขู่ออกมาตราการเยียวยาแต่ไม่เข้าร่วมประมูล
2561_06_15_1 -16 มิ.ย.2561- นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการสำนักงาน กสทช. ออกมาแถลงข่าวภายหลังจากบริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด ในเครือ ดีแทค และ บริษัท แอดวานซ์ไวร์เลส เน็ตเวอร์ค จำกัด หรือ เอดับบลิวเอ็น ในเครือเอไอเอส ได้แจ้งว่า ไม่ประมูลคลื่น 1800 MHz.ในครั้งนี้ ซึ่งทางสำนักงาน กสทช.เตรียมความพร้อมต่างๆ ให้มีประมูลคลื่นความถี่ก่อนสัญญาสัมปทานสิ้นสุดลงในวันที่ 15 ก.ย 2561 ดังนั้น กระบวนการต่าง กสทช. มีความพร้อมประกาศวันต่างๆ ในการประมูลออกใบอนุญาต อาทิเช่น ความพร้อมในการออกใบอนุญาติ และ ให้ผู้บริโภคย้ายระบบในครั้งนี้ ในหลายเรื่องคาดการณ์ไปไม่ถูก ในหลายเรื่องเมื่อผู้ประกอบการตัดสินใจอย่างนั้นและยังไม่มีผู้เข้าประมูลครั้งนี้สำนักงาน กสทช. เตรียมนำเรื่องดังกล่าวเสนอต่อบอร์ด กสทช.และรัฐบาลเพื่อขอรับนโยบายต่าง ๆ ดำเนินการต่อไป

"ผมเรียนว่าแนวทางต่างๆ ที่ออกมาในวันนี้หลายคนอาจจะบอกว่า คิดให้ไกลไปให้ถึงนะครับ แต่ถ้าวันนี้คิดใกล้ไปท่านจะไปไม่ถึง เพราะว่าทางสำนักงานกสทช.คงจะต้องเสนอมาตาการต่างๆในการที่จะดำเนินการ "
web-01 สำหรับราคาประมูลครั้นี้จะปรับลดลงมาต่ำกว่าราคาประมูลคงเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากราคาตั้งต้นที่กำหนดราคาในวันนี้เป็นราคาที่ทั้งสองค่ายจ่ายค่าประมูลครบในเดือนธันวาคม ซึ่งมีการจ่ายครบมาจำนวน 75% ดังนั้นราคาประมูลในครั้งนี้ตั้งต้นถูกกว่าเดิมเป็นครึ่ง ทางสำนักงาน กสทช. จะตกเป็นจำเลยของสังคม ดังนั้นภายในสองสัปดาห์เสนอแนวทางต่างๆ จะเสนอแนวทางต่าง ๆ และ เสนอรัฐบาลว่าจะเปิดประมูล หรือ ชลอประมูลคลื่นไว้นานเท่าไหร่

"ฝันต่างๆ ที่หลายคนเห็นเข้าสู่มาตราการนั้นมาตรการนี้ถ้าคิดใกล้ๆ อาจไปไม่ถึงเพราะหลายเรื่องมีพลิกผัน กสทช. ต้องเดินหน้าเรื่องนี้ต่อไป วันนี้ไม่มีผู้เข้าประมูล แต่มั่นใจว่าเดินหน้าขอนโยบายจาก กสทช.และรัฐบาล ติดขัดตรงไหนต้องแก้ไขตรงนั้น เหตุใดไม่มีผู้เข้าประมูล ผมมีโจทย์ในใจทำปัญหาให้ออกไป ถ้าทำปัญหานี้ออกไปแล้วไม่มีคนเข้าประมูลอีกเดี๋ยวว่ากันอีกที" นายฐากร กล่าว

นายฐากร กล่าวอีกว่า การประมูลครั้งนี้ไม่ใช่เป็นกรณีของ กสทช.เปิดประมูลคลื่นความถี่ไม่ทันสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน แต่เปิดประมูลก่อนสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน จึงได้ออกมาตรการเยียวยาคุ้มครองผู้บริโภค แต่เมื่อ ดีแทค ไม่เข้าร่วมประมูลกรณีเรื่องมาตราการเยียวยาคลื่น 1800 อาจจะต้องนำเสนอรัฐบาลเพราะการไม่เข้าร่วมประมูลครั้งนี้ไม่สมเหตผล ดังนั้นใน วันที่ 4 สิงหาคมฯ ยกเลิกเคาะราคาประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ 9316 ส่วนนายลาร์ส์ นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของ ดีแทค กล่าวว่า ดีแทคได้พิจารณาการเข้าร่วมประมูลอย่างรอบคอบ โดยมีข้อสรุปถึงการถือครองคลื่นย่านความถี่สูง (high-band spectrum) มีปริมาณมากพอที่จะรองรับการใช้งานดาต้าที่เติบโตขึ้นในอนาคต โดยการประมูลในครั้งนี้คงหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ไม่เอื้อประโยชน์ให้บริษัทฯ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับลูกค้าและผู้ถือหุ้นได้ในระยะ

ปัจจุบัน ดีแทคได้ถือครองความถี่ย่าน 2100 เมกกะเฮิรตซ์จำนวน 2x15 เมกกะเฮิรตซ์และมีคลื่นใหม่ความถี่ 2300 เมกกะเฮิรตซ์จำนวน 1x60เมกกะเฮิรตซ์ซึ่งเป็นคลื่นความถี่เดียวที่กว้างที่สุดในประเทศไทย ซึ่งถ้าหมดสัมปทานคลื่น 1800 เมกกะเฮิรตซ์และสิ้นสุดระยะเวลาเยียวยาแล้ว ดีแทคยังมีคลื่นย่านความถี่สูงเพิ่มมากกว่าอีกเดิม 10 เมกกะเฮิรตซ์จากคลื่นใหม่ 2300 เมกกะเฮิรตซ์ที่จะนำมาให้บริการสำหรับคลื่นย่านความถี่สูงอย่างพอเพียง

ทั้งนี้ คลื่น 2300 เมกกะเฮิรตซ์ได้ถูกนำมาให้บริการ 4G TDD เพื่อตอบสนองการใช้งานดาต้าที่เน้นการดาวน์โหลด สอดคล้องกับพฤติกรรมลูกค้าที่หันมานิยมการรับชมวิดีโอผ่านสมาร์ทโฟนจำนวนหลายชั่วโมงต่อวัน ถึงแม้ว่าดีแทคจะสิ้นสุดสัมปทานคลื่น 1800 เมกกะเฮิรตซ์และ 850 เมกกะเฮิรตซ์ดีแทคยังมีปริมาณคลื่นความถี่ที่จะให้บริการต่อจำนวนลูกค้ามากกว่าผู้ประกอบการรายอื่น (ดีแทคมีจำนวนคลื่นเฉลี่ย 2.75 เมกกะเฮิรตซ์ต่อจำนวนลูกค้า 1 ล้านราย ในขณะผู้ให้บริการรายอื่นมีจำนวน 1.37 เมกกะเฮิรตซ์และ 1.99 เมกกะเฮิรตซ์)