สั่งกฟผ.ทำการบ้าน รับมือสำรองไฟฟ้าพุ่ง

23 มิ.ย. 2561 | 14:02 น.
กฟผ.เร่งศึกษาผล กระทบ พร้อมรับมือกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนและกลุ่มผลิตเองใช้เองที่เพิ่มขึ้นตามพีดีพี 2018 ขณะกกพ. เร่งโครงการ DR ลดใช้ไฟฟ้าช่วงพีก นำร่องรอบบิลส.ค.


กฟผ copy แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าระยะยาวของประเทศ(พีดีพี 2018) ล่าสุดทางสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) อยู่ระหว่างการจัดทำ คาดจะแล้วเสร็จเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) และประกาศใช้แผนได้ภายในเดือนกันยายนนี้ ซึ่งนายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน จะเร่งสรุปแผนด้านพลังงานทดแทน เนื่องจากในอนาคตการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนของไทยจะมีสัดส่วนเกินกว่า 30% ของพลังงานทั้งหมด จากปัจจุบันมีสัดส่วนกว่า 10%

[caption id="attachment_292478" align="aligncenter" width="503"] วีระพล จิรประดิษฐกุล วีระพล จิรประดิษฐกุล[/caption]

นายวีระพล จิรประดิษฐกุล กรรมการกำกับกิจ การพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่า แนวโน้มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนที่เพิ่มขึ้นตามแผนพีดีพี 2018 รวมการผลิตไฟฟ้าใช้เองส่วนที่เหลือขายเข้าระบบจะเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะโซลาร์เซลล์ ดังนั้นการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จะต้องศึกษาว่าหากพลังงานทดแทนที่เพิ่มเข้ามามากโดยเฉพาะโซลาร์เซลล์ที่เพิ่มขึ้นเป็น 1 หมื่นเมกะวัตต์ รวมทั้งการผลิตไฟใช้เอง (IPS) จะส่งผล กระทบต่อระบบหรือไม่

“ปริมาณสำรองไฟฟ้าของประเทศอยู่ที่กว่า 30% เทียบกับกำลังสำรองสากลอยู่ที่ 15% ดังนั้นหากมีพลังงานทดแทนเข้าระบบเพิ่มขึ้น กฟผ. ก็ต้องศึกษาตัวเลขสำรองไฟฟ้าว่าควรอยู่ที่ระดับเท่าไร”

สำหรับในปีนี้ กกพ. เตรียมทำโครงการมาตรการความร่วมมือลดการใช้ไฟฟ้า (Demand Response-DR) ถาวร ตั้งเป้า 500 เมกะวัตต์ในช่วงปลายแผนปี 2579 ล่าสุดได้จัดทำ DR ในรูปแบบ Critical Peak Pricing (CPP) จำนวน 100 เมกะวัตต์ ซึ่งจะเป็นการลดค่าไฟแทนการจ่ายเงินชดเชย เพื่อจูงใจให้ผู้ใช้พลังงานขนาดใหญ่ หลีกเลี่ยงการใช้ไฟฟ้าช่วง 13.30-15.30 น. สำหรับรอบบิลเดือนสิงหาคม 2561

หน้า 9 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,375 วันที่ 17-20 มิถุนายน 2561
e-book-1-503x62