AIA ต่อยอดโครงการเอไอเอ ไวทัลลิตี้ร่วมสำรวจสุขภาพพนักงาน

20 มิ.ย. 2561 | 03:01 น.
เอไอเอตอกยํ้าความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนให้คนไทยมีสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น ภายใต้แนวคิด Healthier,Longer,Bette Lives พร้อมเปิดตัวโครงการ “Thailand’s Healthiest Workplace by AIA Vitality” เพื่อฉลองในวาระครบรอบ 80 ปี ของการทำธุรกิจในประเทศไทย

โครงการดังกล่าวเริ่มดำเนินการในออสเตรเลีย ฮ่องกง มาเลเซีย และสิงคโปร์มาตั้งแต่ปี 2560 โดยมีองค์กร 214 แห่ง และพนักงานรวมกว่า 1 หมื่นคนเข้าร่วม และปี 2561 นี้ จะเริ่มขึ้นในประเทศไทย และเอไอเอ ประเทศไทย ยังอยากเห็นโครงการนี้ถูกจัดต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี เพราะเป็นโครงการที่เอไอเอ ยอมทุ่มงบประมาณหลัก 10 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนให้คนไทยมีชีวิตที่ดีขึ้น

[caption id="attachment_289500" align="aligncenter" width="334"] เอกรัตน์ ฐิติมั่น เอกรัตน์ ฐิติมั่น[/caption]

“เอกรัตน์ ฐิติมั่น” ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด เอไอเอ ประเทศไทย ให้สัมภาษณ์ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า โครง การ “Thailand’s Healthiest Workplace by AIA Vitality” เป็นแนวคิดที่ต้องการช่วยให้คนไทยใช้ชีวิตที่ดีขึ้น เพราะหากย้อนดู จะเห็นว่าคนไทยใช้ชีวิตอยู่ที่ทำงานเป็นส่วนใหญ่ แม้ว่าองค์กรขนาดใหญ่จะตระหนักถึงสุขภาพของพนักงานผ่านโปรแกรมสุขภาพที่จัดทำขึ้นมา แต่เมื่อเทียบกับองค์กรอื่นอาจจะยังไม่เพียงพอ ดังนั้น โครงการนี้จะช่วยองค์กรสำรวจสุขภาพพนักงานผ่านโครงการต้นแบบ Britain’s Healthiest Workplace by UK Vitality ที่ทางกลุ่มบริษัทเอไอเอฯเลือกใช้ในโครงการ The Healthiest Workplace by AIA หลังจากศึกษามาเป็นเวลา 4 ปี

สำหรับองค์กรที่สนใจสามารถเข้าร่วมโครงการ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เนื่องจากเอไอเอต้องการส่งเสริมให้องค์กรมีสุขภาพที่ดี โดยสามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันนี้ ถึง 30 มิถุนายน 2561 องค์กรและพนักงานสามารถตอบแบบสอบถามได้ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2561 และจะได้รับรายงานภายในเดือนตุลาคม 2561 ซึ่งพนักงานทุกคนจะได้รับรายงานชี้แจงรายละเอียดสุขภาพรายบุคคลที่จะแสดง “อายุสุขภาพแบบเอไอเอ ไวทัลลิตี้” เฉพาะบุคคลนั้นๆ โดยข้อมูลจะถูกเก็บรักษาเป็นความลับ

ดังนั้น ผู้เข้าร่วมโครงการไม่ต้องกังวลเรื่องการนำข้อมูลต่างๆ ไปใช้ประโยชน์ในทางธุรกิจ เนื่องจากเอไอเอได้มอบหมายให้ แรนด์ ยุโรป (RAND Europe) ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรที่มีความเชี่ยวชาญการทำวิจัยด้านสุขภาพ และมีเครื่องมือในการวิเคราะห์ประมวลผลที่ทันสมัยและเชื่อได้ โดยเอไอเอจะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องหรือดูข้อมูลใดๆ ของพนักงานในองค์กรที่เข้าร่วมโครงการได้

สำหรับแบบสำรวจที่องค์กรทำแบบสอบถาม จะเจาะลึกสุขภาวะรอบด้านของพนักงานในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต ข้อบ่งชี้สุขภาพ สุขภาพจิต ความเครียด และความกังวลในด้านอื่นๆ เพื่อประเมินความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพและประสิทธิภาพในการทำงาน เช่น จากผลสำรวจความเสี่ยงด้านต่างๆ ของมาเลเซียพบว่า 1 ใน 4 ของการทำงาน หรือ 25.7% หรือคิดเป็น 67 วันทำงานต่อพนักงานต่อปี ซึ่งเป็นเวลางานที่สูญเสียไป นับเป็นความสูญเสียถึง 22 ล้านบาทต่อองค์กรต่อปี

ปัจจุบันมีผู้เข้าร่วมโครงการแล้ว 46 บริษัท แบ่งเป็นบริษัทขนาดเล็ก บุคลากรตั้งแต่ 20-249 คน 28 บริษัท บริษัทขนาดกลาง ตั้งแต่ 250-999 คน 13 บริษัท และบริษัทขนาดใหญ่ ตั้งแต่ 1,000 คนขึ้นไปมี 5 บริษัท ซึ่งเอไอเอคาดหวังว่า จะมีบริษัทและองค์กรสนใจเข้าร่วมโครงการมากขึ้น และภายในเดือนพฤศจิกายน จะประกาศรางวัลองค์กรสุขภาพเป็นเลิศ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ รางวัลสถานที่ทำงานที่ดีต่อสุขภาพที่สุด รางวัลพนักงานที่มีสุขภาพที่ดีที่สุด และรางวัลองค์กรที่ส่งเสริมสุขภาพในสถานที่ทำงานที่ยอดเยี่ยมที่สุด ซึ่งนายเดวิด เบ็คแฮม ซึ่งเป็น AIA Global Ambassador จะเป็นผู้มอบรางวัลให้แก่องค์กรที่ชนะเลิศ

“ความคาดหวังคือ องค์กรสามารถดูภาพรวมของพนักงานได้ ไม่ใช่แค่จัดกิจกรรมออกกำลังกาย”

      หน้า 23-24 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่38ฉบับที่ 3,374 วันที่ 14 - 16 มิถุนายน 2561

e-book-1-503x62