5G เปลี่ยนอุตสาหกรรมโลก ชี้การทำธุรกรรมอยู่บนมือถือ - ผู้ประกอบการต้องปรับบริการ

25 มิ.ย. 2561 | 06:49 น.
เผยบริการโมบาย บรอดแบนด์ กำลังก้าวสู่ระบบ 5 จี โดยมีแผน roll out ครั้งแรกในปี 2562 ให้บริการในทุกดิจิตอล แพลตฟอร์ม ด้วยความเร็วเครือข่ายกิกะบิต ชี้พัฒนาบริการทุกรูปแบบตั้งแต่ภาคการเงิน-ธนาคาร-ประกันภัย-อี-คอมเมิร์ซ และบันเทิง เหตุมือถือเป็นตัวกลางของการเชื่อมต่อ

แม้โทรศัพท์เคลื่อนที่เปิดให้บริการระบบ 4 จี ไม่ถึง 2 ปี แต่ถึงตอนนี้รัฐบาลและสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. มีแผนเปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 5 จี ภายใต้คลื่นความถี่ 700 เมกะเฮิรตซ์ เปิดให้บริการในปี 2563

[caption id="attachment_289423" align="aligncenter" width="237"] พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ[/caption]

พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. เปิดเผยว่า การให้บริการ Mobile broadband กำลังก้าวไปสู่ระบบ 5G โดยมีแผนที่จะ roll out ครั้งแรกไม่เกินปี 2562 ซึ่งถือได้ว่าเร็วกว่าทึ่เคยคาดการณ์ไว้ถึง 2 ปี ทั้งนี้เป็นผลมาจากการแข่งขันที่รุนแรงในความพยายามที่จะผลักดันให้การบริการ Mobile broadband สามารถให้บริการในทุก digital platform ความต้องการเพิ่มความเร็วเครือข่ายในระดับ Gbps และการมีแอพพลิเคชันที่หลากหลาย ส่งผลทำให้ 5G มีผลกระทบต่อบทบาทและขอบเขตของการให้บริการ โทรคมนาคมอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาในการให้บริการทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น การเงินการธนาคาร, ประกันภัย, ค้าปลีก, m-commerce และบันเทิง เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้กลายเป็นเครื่องมือหลักของการเข้าถึงการเชื่อมต่อ ระหว่างคนด้วยกันเอง

และระหว่างคนกับอุปกรณ์หรือเครื่องจักร และจะส่งผลกระทบต่อทุกสิ่งทุกอย่างบนอินเตอร์เน็ต ไปจนถึงระบบเมืองอัจฉริยะด้วย Internet of Things (IoT), รถยนต์ขับเคลื่อนด้วยตัวเอง, หุ่นยนต์, Virtual Reality (VR), Big Data เป็นต้น ซึ่งจุดเด่นของ 5G ที่สำคัญ ได้แก่ เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 5G จะกลายเป็นเครื่องมือในการเข้าถึงเครือข่าย สำหรับเชื่อมต่อระหว่างคนด้วยกันเอง และระหว่างคนกับอุปกรณ์หรือเครื่องจักร โดยเครือข่ายเหล่านี้จำเป็นจะต้องพัฒนาปรับปรุงเครือข่าย ทั้งในแง่ของคุณภาพ ความน่าเชื่อถือ และความปลอดภัย Illustration by ericsson.com

นอกจากนี้แล้วระบบ 5G ยังผลักดันให้วิวัฒนาการของอินเตอร์เน็ตมุ่งเน้นไปที่พื้นฐานสำคัญ 2 ประการ นั่นคือความจุเครือข่าย และความสามารถในการเชื่อมต่อ เพื่อลดปัญหาโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นคอขวดจากการเพิ่มขึ้นของ realtime videos ความสามารถในการรับส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็วทำให้การติดต่อสื่อสาร ระหว่างอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกันในเมืองอัจฉริยะทำได้แบบ real-time ส่งผลให้สภาพแวดล้อมภายในเมืองมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การควบคุมจราจร จะพัฒนาไปได้มาก เมื่อสามารถวิเคราะห์สภาพถนนได้แบบ real-time โดยการใช้กล้อง IP(Internet Protocol Camera) ที่ชาญฉลาด

MP20-3374-A-w

อย่างไรก็ตามการสำรวจของอีริคสันพบว่า 95 % ของผู้นำด้านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ เชื่อว่า 5G จะเข้ามาช่วยสนับสนุนการใช้ข้อมูลปริมาณมหาศาลจากอุปกรณ์ IoT ซึ่งผลสำรวจยังกล่าวถึงการนำ 5G มาใช้ โดย 64% ใช้เครือข่ายโทรศัพท์ เคลื่อนที่ในการส่งผ่านข้อมูลไปยังอุปกรณ์ โดยใช้เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ แทนการเชื่อมต่อ Wi-Fi, 38% ใช้ดำเนินการด้านสุขภาพ เช่น บริษัทเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ สามารถใช้อุปกรณ์ IoT ในการเชื่อมต่อ 5G เพื่อตรวจสอบผู้ป่วยที่กำลังฟื้นตัวจากการรักษา, 36% ใช้ในการควบคุมระยะไกลแบบ Real- time เช่น บริษัทนํ้ามันและก๊าซธรรมชาติ ใช้การเชื่อมต่อ 5G เพื่อสำรวจและตรวจสอบ ความพร้อมและความผิดปกติของอุปกรณ์ โนเกียเชื่อว่าเครือข่าย 5G จะทำให้ผู้ใช้งานระบบเสมือนจริง สามารถทำงานร่วมมือกันได้ราวกับว่าอยู่ใกล้กัน

ซึ่งอาจเป็นเหมือนวิดีโอเกมยุคใหม่ และการทำงานร่วมกันจากระยะไกล โดย 5G จะทำให้เกิดความเป็นไปได้ในการนำระบบอัตโนมัติมาใช้กับทุกสิ่งทุกอย่าง Facebook ประกาศว่าโครงการ Telecom Infra Project เป็นความคิดริเริ่มในการออกแบบเพื่อปรับปรุงโครง สร้างเครือข่ายโทรคมนาคมใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการใช้งานข้อมูลที่มีเพิ่มขึ้นของโลก เครือข่ายทางสังคมได้ร่วมมือกับผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่และผู้จำหน่ายอุปกรณ์ เช่น Nokia, Intel และ Deutsche Telekom เพื่อให้สามารถดำเนินการรับมือกับการใช้งานข้อมูลได้อย่างมี ประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ระบบ VR และการดูวิดีโอออนไลน์ เป็นต้น
0_0_900_0_70__Features_5G พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ ยังกล่าวต่ออีกว่า ความท้าทายที่สำคัญของผู้ให้บริการเครือข่าย 5G ในอนาคต ได้แก่ มาตรฐาน การให้บริการ การสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และความมั่นคงปลอดภัย ซึ่งความท้าทายของเทคโนโลยีเครือข่าย 5G จะต้องมุ่งเน้นการเชื่อมต่อของสังคมดิจิตอล (Digital Society) ในอนาคตที่เกิดขึ้นโดยมีปัจจัยสำคัญประกอบด้วย ระบบเครือข่ายที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ทำให้เครือข่ายเคลื่อนที่และอุปกรณ์ สามารถเชื่อมต่อได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้จากเดิมในอดีตที่ผู้ให้บริการต้องเจอกับข้อจำกัดต่างๆ มากมาย สามารถเชื่อมต่อฐานความรู้ที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการเติบโต ของอินเตอร์เน็ต การให้บริการคลาวด์ และการวิเคราะห์ Big Data การขับเคลื่อนนวัตกรรม 5G

โดยการเปลี่ยนผ่านและหลอมรวมทางเทคโนโลยี (Technology convergence) และโครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT จะผลักดันให้เกิดนวัตกรรมผลิตภัณฑ์และบริการในทุกอุตสาหกรรม ในอนาคตข้างหน้า 5G จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งในการใช้ชีวิตประจำวัน การทำงาน และความบันเทิง ซึ่งถือว่าเทคโนโลยี 5G จะเป็นหนึ่งในผู้เปลี่ยนเกมการให้บริการและ Business model ในอุตสาหกรรมทุกอุตสาหกรรม และทุก digital platform และแน่นอนความเสี่ยงด้านไซเบอร์ก็จะทวีคูณขึ้นเป็นเงาตามตัวของความเร็วในระดับ 5G เช่นกัน ซึ่งประเทศไทยควรเตรียมพร้อมได้แล้ว

...........................................................................

หน้า 20 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ | ฉบับ 3,374 ระหว่างวันที่ 14-16 มิ.ย.61

e-book-1-503x62-7