‘วีระศักดิ์’สวมหมวก 3 ใบ ลุยปฏิรูปโครงสร้างท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน

13 มิ.ย. 2561 | 02:07 น.
กว่า 4 เดือนที่ผ่านมาของการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้น และการทำงานที่ต้องเร่งสปีด ก่อนรัฐบาลชุดนี้หมดวาระ จะต้องโฟกัสในเรื่องใดบ้าง อ่านได้จากสัมภาษณ์ นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

619287589 ผมใช้เวลา 4 เดือนแรกหมดไปเยอะมากกับการสื่อสาร และลงมือทำให้เห็น ผมไปล้างส้วม เก็บขยะ ไปดูแลแหล่งท่องเที่ยว หลายคนก็สงสัยว่าผมไปทำไม คำตอบคือ ต้องการทำให้จิตอาสา ภาคเครือข่าย คนท้องถิ่น เห็นว่า แม้แต่เจ้ากระทรวงการท่องเที่ยวฯก็ไม่ได้รังเกียจ งานแบบนี้ทุกคนทำได้  เพื่อซ่อมและทำความสะอาดแหล่งท่องเที่ยวในท้องถิ่นทำให้เวลานี้แม้ผมไม่ต้องลงไป คนในพื้นที่ ภาคีเครือข่าย หรือแม้แต่ตำรวจท่องเที่ยว ก็ลงไปทำควบคู่ไปกับการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อสร้างการรับรู้กระตุ้นให้คนเต็มใจดูแลแหล่งท่องเที่ยวในท้องถิ่นของตัวเอง

 

รวมไปถึงการสื่อสารกับภาคเอกชน สมาคมท่องเที่ยวต่างๆ หารือกับคณะทำงานสานพลังประชารัฐด้านการส่งเสริมท่องเที่ยวและไมซ์ (คณะทำงานสานพลังประชารัฐ D3) เพื่อรับฟังความคิดเห็น แก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น และอธิบายให้เขาเข้าใจว่าเราไม่ได้ทำตัวกิจกรรมอีกต่อไป แต่กำลังทำเรื่องของโครงสร้าง เพื่อให้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการลดความเหลื่อมลํ้า และเกิดความยั่งยืน

กวาดล้างวงจรผิดก.ม.

เนื่องจากในอดีตการท่องเที่ยวเน้นเรื่องจำนวนนักท่องเที่ยว ทำให้ที่ผ่านมาเกิดวงจรธุรกิจที่ไม่ถูกต้องเราก็ปล่อยให้มีนอมินีต่างชาติ เอาวิวไทยไปขาย แต่เงินไปอยู่ในกระเป๋าเขา การเอารัดเอาเปรียบนักท่องเที่ยว ปล่อยให้มีโรงแรมเถื่อน ที่ไม่เพียงผิดกฎหมาย แต่ยังเป็นการเอาเปรียบผู้ประกอบการโรงแรมที่ทำธุรกิจถูกต้องด้วย

วันนี้ต้องขอบคุณตำรวจท่องเที่ยว รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ท่องเที่ยวต่างๆ  ที่กำลังเดินหน้าแก้ไขวงจรที่ไม่ถูกต้องเหล่านี้ มีการจัดระเบียบการดำเนินธุรกิจ  จับกุมคนที่ทำผิดพ.ร.บ.โรงแรม ธุรกิจนอมินีที่หากินกับการท่องเที่ยวไทย เป็นต้น สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเพราะต่างฝ่ายต่างหันกลับมาคุยเชิงนโยบายร่วมกัน ขีดเส้นประที่เคยมีให้ชัดขึ้นเรื่อยๆ แตกต่างจากสมัยก่อนที่อันนี้เป็นเรื่องของเธอ ไม่เกี่ยวกับฉัน มันก็เลยหลุดวงจรกันไปเรื่อย
ดึงททท.ร่วมพัฒนาท่องเที่ยว

การทำเรื่องของโครงสร้างท่องเที่ยว ผมใช้หมวก 3 ใบ ในการขับเคลื่อนในเรื่องนี้ หมวก  ใบที่ 1 คือ การใช้บทบาทความเป็นเจ้ากระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สั่งการหน่วยงานภายในองค์กร นั่นก็คือในส่วนการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)  จากที่ทำหน้าที่กวักนักท่องเที่ยวเป็นหลัก ซึ่งเป็นไปตามเส้นแบ่งที่มีมานานกว่า 16 ปีที่ผ่านมา ขณะนี้ก็ทำให้เขามั่นใจด้วยการใช้อำนาจของเจ้ากระทรวง สั่งการให้มาช่วยผมออกแบบแหล่งท่องเที่ยว มาช่วยทำงานซ่อมและสร้าง โดยให้ไปดูแลเมืองท่องเที่ยวระดับจังหวัด ให้เข้าไปทำเงินในแหล่งท่องเที่ยวระดับจังหวัด ดึงนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไป

ขณะที่สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด (ทกจ.) ยังต้องมีการไต่อันดับความชํ่าชอง เพราะคนเหล่านี้โตมาจากสายกีฬา
กรมพลศึกษา ก็จะให้ไปรับผิดชอบแหล่งท่องเที่ยวระดับจังหวัดลงมา ให้เขาต้องไปทำความสะอาดแหล่งท่องเที่ยว ห้องนํ้า พัฒนาทางลาด รวมถึงเอาเจ้าหน้าที่พลศึกษา มาทำงานด้านท่องเที่ยว แทนที่จะจัดเฉพาะงานวิ่ง หรือทำเฉพาะแต่เรื่องกีฬา แล้วให้เปลี่ยนชื่อเป็นท่องเที่ยวกีฬาอำเภอ

หมวกใบที่ 2 คือบทบาทความเป็นสมาชิกในคณะรัฐมนตรี ที่จะเน้นประสานให้เกิดการทำงานร่วมกันได้ ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงการท่องเที่ยวฯกับกระทรวงคมนาคม ก็จะเห็นการทำงานใกล้ชิดกัน มากขึ้น จากคำสั่งร่วมของเจ้ากระทรวงทั้ง 2 หน่วยงาน ความร่วมมือระหว่างกระทรวงการท่องเที่ยวฯและกระทรวงวัฒนธรรม การทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงการท่องเที่ยวฯกับกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

หมวกใบที่ 3 คือการทำงานในฐานะนักวิชาการ เพื่ออธิบายสื่อถึงภาคประชาชน เพื่อให้ทุกคนเข้าใจและร่วมมือในการช่วยกันดูแลซ่อม สร้าง  แหล่งท่องเที่ยว

Centara Chaan Talay Resort & Villas Trat - Beachfront..
แก้ก.ม.ให้บทบาทท.ท.ช.

ทั้งการทำโครงสร้างท่องเที่ยวที่สำคัญที่อยู่ระหว่างดำเนินการ คือ การแก้ไขพระราชบัญญัตินโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2551 ที่ผมนั่งเป็นประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาแก้ไขพ.ร.บ.ดังกล่าวอยู่ เพื่อให้การกำหนดนโยบายและการบริหารจัดการการท่องเที่ยวของประเทศ โดยคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ (ท.ท.ช.) เกิดประสิทธิภาพที่จะขับเคลื่อนการท่องเที่ยว ให้บรรลุการเป็นเครื่องมือลดความเหลื่อมลํ้าและทำให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนอย่างแท้จริง ไม่ใช่เป็นองค์กรใหญ่มาจากกระทรวงต่างๆ มากมาย  หรือพึ่งพาแต่ฝ่ายเลขาฯที่มีคน ทำงานไม่กี่คน พอทำไม่ไหวก็ไปจ้างเหมาภาควิชาการมาส่ง

สิ่งเหล่านี้ต้องแก้ไขทาง กฎหมาย โดยต้องมีกลไกการทำงานที่จับต้องได้ การให้บทบาทในการทำมาตรฐานที่กำหนด ไม่ ใช่แค่มาตรฐานที่แนะนำ เช่น การปรับปรุงให้ พ.ร.บ.นี้ คิดค่าธรรมเนียมบางอย่างเกี่ยวกับเรื่องการท่องเที่ยว เช่น คนต่างชาติที่เดินทางมาเที่ยวเมืองไทย ต่อไปจะต้องมีประกันทุกคน ซึ่งอาจจะเฉลี่ยอยู่ที่ 20 บาทต่อคนต่อวัน ตามระยะเวลาที่พำนักอยู่ในไทย เป็นต้น

แก้ปัญหาทัวริสต์กระจุก

อีกทั้งการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่จะทำให้เป็นเครื่องมือลดความเหลื่อมลํ้าและพัฒนาการท่องเที่ยวยั่งยืน ไม่ใช่แค่เพียงส่งเสริมการท่องเที่ยวในเมืองรองเท่านั้น เรายังต้องผลักดันอีกหลายโครงการให้เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของโครงการไทยแลนด์ริเวียร่า ซึ่งอย่าไปมองว่าต้องทำเมกะโปรเจ็กต์ แต่จะเป็นเรื่องการทำเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยง เชื่อมเส้นทางรถไฟ เชื่อมการเดินทางต่างๆ เพื่อดึงคนเข้ามาในพื้นที่ฝั่งทะเลด้านตะวันตก แล้วกระจายการท่องเที่ยวสู่ชุมชน ประมง ท่องเที่ยวการเกษตร ที่ไม่ใช่ขายแค่หาดทรายชายทะเล

รวมถึงการแก้ปัญหาความแออัดในพื้นที่อุทยานทางทะเลที่สำคัญ เช่นเกาะพีพี ที่ทางกรมอุทยานแห่งชาติ ก็มีแนวคิดจะจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยว โดยจองก่อนได้ก่อนและมีการจำกัดเวลาในการเดินทางท่องเที่ยว เป็นต้น

นอกจากนี้ยังทำเรื่องของการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล การพัฒนาคลัสเตอร์ท่องเที่ยวที่มาล้อกับ 6 ภาคแต่ยืดหยุ่นได้ถึง 18 คลัส เตอร์เพราะคลัสเตอร์ท่องเที่ยวไม่ได้มองเฉพาะการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชื่อมโยงในจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกันเท่านั้น แต่แยกได้หลาก
หลาย เช่น คลัสเตอร์ในจังหวัดที่มีสนามบินนานาชาติ คลัสเตอร์ในจังหวัดที่ทางรถไฟเชื่อมกัน

ทั้งหมดล้วนเป็นภารกิจที่รมว.การท่องเที่ยวฯจะต้องผลักดัน ในช่วงเวลาที่เหลือก่อนจะมีการเลือกตั้งรัฐบาลใหม่ในปีหน้า

หน้า 22 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3374 ระหว่างวันที่ 14 - 16 มิ.ย. 2561

e-book-1-503x62-7