พณ.ดัน "Thaitrade.com" สู่ "National e-Marketplace" หนุนเอสเอ็มอีผงาดโลกค้าออนไลน์

12 มิ.ย. 2561 | 05:56 น.
เวทีสัมมนาค้าออนไลน์ E-Commerce BigBang สุดยิ่งใหญ่ “สมคิด” ลั่นรัฐไม่รอ ดัน 5G หนุนการค้าดิจิตอล ด้านพาณิชย์ เร่งพัฒนาไทยเทรดสู่ National e-Marketplace สร้างโอกาสผู้ประกอบการขายสินค้าทั้งในและต่างประเทศ
8235 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ปาฐกถาในการสัมมนา E-Commerce Big Bang ใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า ช่วง 4 ปีที่ผ่านมาของรัฐบาล ธนาคารของรัฐได้ช่วยเหลือเกษตรกรผ่านโครงการต่าง ๆ ไม่ต่ำกว่า 6 แสนล้านบาท และใส่งบลงสู่เอสเอ็มอีไม่ต่ำกว่า 4 แสนล้านบาท เป็นแค่การประคองและบรรเทา ซึ่งหากจะพลิกประเทศให้มีความเข้มแข็งจริงๆ ต้องมีวิธีการอื่น

นายสมคิดกล่าวว่า สิ่งที่ตนย้ำคือต้องการการเปลี่ยนประเทศไทยให้เป็นประเทศที่เพิ่มมูลค่าของผลผลิต จะทำในเชิงคุณภาพมาตรฐาน เชิงของการแปรรูป เชิงของการใช้เทคโนโลยี ในวันนี้(7 มิ.ย.) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ได้อนุมัติงบ 3 ล้านล้านบาท เรามีงบเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 4 แสนล้านบาท พอๆ กับงบที่มาช่วยให้เกิดความเท่าเทียมกันในหมู่เศรษฐกิจรากหญ้าอีกประมาณ 4 แสนล้านบาทเหมือนกัน รัฐพยายามอย่างเต็มที่เพื่อหางบมาเพื่อสองประการนี้เพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตและยืนอยู่ได้

นายสมคิดกล่าวว่า ขณะเดียวกันถ้าความสามารถในการแข่งขันถ้าเกิดความมั่งคั่งแล้วไม่สามารถกระจายลงไปได้ ประเทศก็จะอยู่ไม่ได้ ดังนั้นประการเเรก เรื่องการสร้าง Balanced Growth (การเติบโตแบบสมดุล) จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ดังนั้นการสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าต้องเหนือปริมาณ จึงได้กำชับให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องไม่ว่ากระทรวงพาณิชย์ ,อุตสาหกรรม ,เกษตรเเละสหกรณ์ ต้องเน้นที่ตรงนี้
34497823_2125389094147301_6073505487972728832_n นายสมคิดกล่าวว่า ประการที่ 2 คือการไปสู่อนาคตที่เราสามารถสร้างอุตสาหกรรมใหม่ ๆ ที่สามารถเพิ่มมูลค่าได้ เช่น ผ่านโครงการลงทุนในอีอีซี อุตสาหกรรมเกษตรก็จะเป็นเกษตรแห่งอนาคต อาหารแห่งอนาคต รถยนต์ไฟฟ้า ปิโตรเคมีคัลชั้นสูง เป็นต้น อุตสาหกรรมเหล่านี้ทำให้ไทยมีมูลค่าเพิ่มให้ทุกส่วนมีรายได้เพิ่ม ถ้าขายเอาปริมาณในราคาถูก ๆ ประเทศไม่มีทางมั่งคั่งขึ้นมาได้

นายสมคิดกล่าวว่า สำหรับเรื่องดิจิตอลเป็นสิ่งสำคัญไม่เร็วหรือช้ามาแน่ ซึ่งรัฐจะไม่รอช้า เอกชนที่ยังมัวงุ่มง่ามไม่เห็นโลงศพไม่หลั่งน้ำตา ถ้าตนเป็นคนขายของถ้าใช้ดิจิตอลสื่อกับลูกค้าได้โดยตรง บิ๊กดาต้าจะรู้ว่าจะผลิต หรือขายสินค้าอะไรได้ ส่วนคนที่ทำอะไรก็ไม่เป็น ช้า ไม่มีดิจิตอล คิดเอาเอง มัวแต่ทำมาร์เก็ตรีเสิร์ชแบบดั้งเดิม คุณคิดว่าใครจะชนะ

นายสมคิดกล่าวอีกว่า ตนได้ประกาศไปแล้วว่ารัฐบาลไม่รอ จะยึดปี 2020 (2563) เป็นเป้าหมายว่า จะพยายามผลักดัน 5 จี ให้เกิด ซึ่งจีนประกาศเป้าหมาย 5จีในปีหน้า ถ้าสมมุติว่า สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม ประกาศ 5จี ตามมา อุตสาหกรรม5จีหรืออุตสาหกรรมไฮเทคทั้งหลายจะไปอยู่ในประเทศเหล่านี้หมด ไทยจะไปไม่รอด
36152 ด้านนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พาณิชย์ กล่าวในงาน "E-Commerce Big Bang" ว่ากระทรวงพาณิชย์เล็งเห็นถึงโอกาสในการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซและการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการเพิ่มมูลค่าทางการค้า นำไปสู่บทบาทด้านการขับเคลื่อนการค้าในรูปแบบใหม่ ใน 2 ภารกิจหลัก คือ 1.การเป็นผู้นำในการพัฒนาการค้าในรูปแบบอีคอมเมิร์ซผ่านการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศโดยความร่วมมือกับทุกกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการสร้าง ระบบนิเวศอีคอมเมิร์ซ (e-Commerce ecosystem) ของประเทศ

รมว.พาณิชย์กล่าวว่า 2. การสร้างแพลตฟอร์มที่เป็นศูนย์กลางการค้าออนไลน์ของประเทศที่จะเป็น National e-Marketplace เพื่อสร้างโอกาสทางการค้าให้แก่ผู้ประกอบการไทยผ่าน “ไทยเทรดดอทคอม”
(Thaitrade.com)แพลตฟอร์มของประเทศที่ช่วยเชื่อมผู้ขายไทยกับผู้ซื้อทั่วโลก
34827314_2126531594033051_2736735955372212224_n รมว.พาณิชย์กล่าวว่า ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการเปิดตัวเว็บไซต์ย่อย 3 เว็บไซต์ ประกอบด้วย 1.Thaitrade.com - B2B e-Marketplace ขายส่งระหว่างประเทศ ที่มาพร้อมบริการใหม่ e-Quotation และ Instant Sourcing Service ,2.Thaitrade SOOK (Small Order Ok) - B2C e-Marketplace ขายปลีกระหว่างประเทศ และ 3.Thaitrade Shop ช้อปครบจบในคลิกเดียว B2C e-Marketplace ซื้อขายภายในประเทศ ที่จะรองรับการชำระเงินออนไลน์ทุกรูปแบบ และเชื่อมต่อการขนส่งภายในประเทศ รวมถึงการพัฒนาเป็น เกตเวย์ ให้แพลตฟอร์ม ทั้งของภาครัฐและเอกชนของไทย มาเชื่อมต่อระบบการค้นหาสินค้าเพื่อส่งข้อมูลสินค้ามาแสดงผลบน Thaitrade Shop

นายสนธิรัตน์กล่าวต่อว่า การเข้ามาของอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่จากฝั่งจีน อาทิ บริษัท อาลีบาบา (Alibaba) และบริษัท เจดี ดอทคอม (JD.com) และเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซจากฝั่งสหรัฐอเมริกา อาทิ บริษัท อเมซอน (Amazon) และ อีเบย์ (eBay) เป็นสัญญาณเตือนให้ประเทศไทย ทั้งภาครัฐและเอกชน จำเป็นต้องเร่งผนึกกำลังกันเพื่อให้การค้าออนไลน์และระบบนิเวศน์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของไทยมีความเข้มแข็งและสร้างภูมิคุ้มกันที่ทนต่อการเปลี่ยนแปลง และตั้งรับการเข้ามาของแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ของโลกได้

โอกาสทองคนตัวเล็กบนโลกออนไลน์
33554 นายพรวิช ศิลาอ่อน ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ กระทรวงพาณิชย์ กล่าวในเวทีเสวนา "ทิศทาง E-Commerce ของประเทศไทย" ว่า เป็นโอกาสของผู้ประกอบการขนาดเล็กในการเข้าสู่ตลาดออนไลน์ เพราะเดิมการค้าออนไลน์จะเป็นของรายใหญ่ แต่พอมีอีคอมเมิร์ซเข้ามามีบทบาทมากขึ้นก็เป็นโอกาสที่สนับสนุนให้เอสเอ็มอีเข้ามาในตลาดออนไลน์ได้มากขึ้น
34691824_2125563954129815_9177951104137166848_n นางอารดา เฟื่องทอง ผู้อำนวยการสำนักตลาดพาณิชย์ดิจิทัล กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า อีคอมเมิร์ซเข้ามามีบทบาทในไทยมากว่า 20 ปี แต่ที่ผ่านมาผู้ประกอบการอาจจะยังไม่ได้ศึกษาและใช้ประโยชน์อย่างเพียงพอ ตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา กระทรวงพาณิยช์ ได้พัฒนาเว็บไซต์ไทยเทรดดอทคอม ตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้บริการ ในรูปแบบB to B(ธุรกิจกับธุรกิจ) หรือขายส่งไปต่างประเทศ และพัฒนาต่อเนื่องเป็น B to C (ธุรกิจกับลูกค้า)หรือ ขายปลีกต่างประเทศ ซึ่งตั้งแต่ดำเนินการมาก็สร้างมูลค่าการค้าออนไลน์ไปได้ทั้งสิ้นกว่า 5,000 ล้านบาท
34825093_2126361850716692_789433427299401728_n อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน มูลค่าการค้าออนไลน์ในโลกมีมากกว่า 25.3 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ซึ่ง 90% เป็นการค้าแบบB to B และอีก10% เป็นการค้าแบบ B to C และหลายปีที่ผ่านมาอัตราการขยายตัวของอีคอมเมิร์ซบ้านเราเติบโตมากกว่า 10% มาโดยตลอดไม่ว่าเศรษฐกิจจะทรงตัวหรือชะลอตัว จะเห็นได้ว่าศักยภาพของสินค้าไทยในตลาดโลกผ่านการค้าออนไลน์ยังมีช่องทางให้เติบโตได้อีกมาก และการเปิดไทยเทรดดอทคอมให้เป็นแพลตฟอร์มของประเทศโดยทำตัวเป็นเกตเวย์เชื่อมโยงกับทุกเว็บไซต์ทั้งของภาครัฐและเอกชนในวันนี้ ก็เพื่อให้ประเทศไทยมีระบบนิเวศน์ด้านการค้าออนไลน์ที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น สามารถแข่งขันกับแพลตฟอร์มต่างชาติได้ ทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มไทยเพื่อคนไทยอย่างแท้จริง
34743392_2125375934148617_2101016774781698048_n (1) ดร.ณพพงศ์ ธีระวร ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีประมาณ 3.01 ล้านราย โดยในปีนี้สมาพันธ์ขับเคลื่อนให้ผู้ประกอบการมีความแข็งแรงและมีรายได้มากขึ้น พร้อมตั้งเป้าหมายเพื่อขับเคลื่อนตัวจีดีพีของเอสเอ็มอีจากปัจจุบันอยู่ที่ 42.6% เป็น 50% ภายในปี 2564

นอกจากนี้สิ่งที่สมาพันธ์ดำเนินการคือทำให้เอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งเงินทุนมากขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมาพบว่าผู้ประกอบเอสเอ็มอียังเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ไม่มากนัก ดังนั้นสมาพันธ์ได้จับมือกับสถาบันการเงิน อาทิ ธนาคารออมสิน ไทยพาณชย์ และกสิกรไทย เพื่อให้เอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งเงินทุนง่ายขึ้น ขณะที่การส่งเสริมด้านองค์ความรู้ สมาพันธ์นำองค์ความรู้ด้านพื้นฐานธุรกิจ การบริหารงานต่างๆ ส่งต่อไปยังผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมากขึ้นด้วย

3 ยักษ์ใหญ่อี-คอมเมิร์ซเผยกลยุทธ์ค้าออนไลน์ให้สัมฤทธิ์
1528779213293
ส่วนการเสนาหัวข้อ "การเพิ่มช่องทางการขายสินค้าไทยโดยแพลตฟอร์มเด็ดระดับโลก"  ผู้แทนจาก 3 ยักษ์ใหญ่อี-คอมเมิร์ซ ทั้งระดับโลกและระดับภูมิภาค คือ อีเบย์ ช้อปปี้ และอีเลฟเว่นสตรีท ได้ร่วมตอกย้ำถึง “โอกาสทอง” ของการค้าออนไลน์ที่ผู้ประกอบการไทยไม่ควรพลาด เพราะนอกจากเทคโนโลยีการสื่อสารทุกวันนี้จะเอื้ออย่างมากแล้ว แนวโน้มการซื้อขายสินค้าออนไลน์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังโตไม่หยุดฉุดไม่อยู่ เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงผู้ซื้อจากทั่วโลกได้เพียงปลายนิ้วคลิกผ่านแพลตฟอร์มของหลากหลายผู้ให้บริการ

นายเจสัน ลี กรรมการผู้จัดการ บริษัทอีเบย์ ภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอิสราเอล ยกตัวอย่างประสบการณ์ของอีเบย์ ซึ่งเป็นเว็บไซต์ซื้อขายสินค้าออนไลน์ระดับโลก เข้าถึงตลาดผู้ซื้อผู้ขายกว่า 190 ประเทศ และมีผู้ซื้อมากกว่า 170 ล้านคน ว่า ปรัชญาการทำธุรกิจของอีเบย์คือ การทำให้ทุกคนสามารถประสบความสำเร็จในการค้าขายออนไลน์ ไม่ว่าเขาคนนั้นจะเป็นใครหรืออยู่ในประเทศใดก็ตาม ซึ่งอีเบย์ทำเช่นนั้นได้ด้วยการทำแพลตฟอร์มซื้อขายที่ใช้ง่าย ไม่มีความซับซ้อนยุ่งยาก เพียงเข้าไปในเว็บไซต์ eBay.com ก็สามารถขายสินค้าได้ โดยไม่ต้องยุ่งยากกับการลงทะเบียน ไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมสำหรับการเริ่มต้นนำสินค้าเข้ามาจำหน่าย (จ่ายต่อเมื่อทำยอดขายได้แล้ว) ผู้ใช้สามารถสร้างรายได้ สร้างอาชีพได้จากการขายสินค้าบนอีเบย์ด้วยการเริ่มต้นอย่างง่ายดายแต่สามารถเข้าถึงผู้ซื้อได้ทั่วโลก
8253 กรรมการผู้จัดการ บริษัทอีเบย์ ภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอิสราเอล กล่าวว่า จึงอยากเชิญชวนให้ผู้ประกอบการไทยเข้ามาใช้บริการ "ในปี 2001 (พ.ศ. 2544) อีเบย์เข้ามาให้บริการเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ตอนนั้นยังไม่มีออฟฟิศอย่างเป็นทางการ แต่ปีแรกที่เปิดตัวนั้น เรามีผู้ขายในไทยจำนวนมากและจากวันนั้นจนถึงวันนี้เรามียอดขายสินค้าจากประเทศไทยถึง 42,000 ล้านบาท เฉพาะปีที่ผ่านมา (2560) มีผู้ขายเพิ่มขึ้น 7,500 ราย และมีผู้ขายรวมในปัจจุบันมากกว่า 10,000 ราย" ถามถึงโอกาสเติบโตของอี-คอมเมิร์ซในอนาคต ผู้บริหารของอีเบย์ประมาณการณ์ว่า ภายในปี 2020 ยอดขายสินค้าข้ามพรมแดนทางออนไลน์ (Cross Border Trade: CBT) ผ่านแพลตฟอร์มของอีเบย์ทั่วโลกน่าจะขยับขึ้นสู่ระดับ 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ด้านนางสาวอากาธา โซว์ หัวหน้าฝ่ายการตลาด บริษัท ช้อปปี้ ประเทศไทย ขยายมิติของอี-คอมเมิร์ซ เพิ่มเติมว่า อย่ามองเพียงการค้าขายผ่านเว็บไซต์ซึ่งเป็นช่องทางร้านค้าออนไลน์ทั่วไปที่ผู้คนคุ้นเคยกันดี เพราะมีอีก 2 เทรนด์ใหม่ที่มีการขยายตัวอย่างร้อนแรงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเป็นเทรนด์ระดับโลก นั่นคือ โมบายล์คอมเมิร์ซ (Mobile Commerce) ซึ่งเป็นการซื้อขายสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ ไม่จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์เข้าเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์ ก็สามารถซื้อขายสินค้าได้อย่างสะดวกและรวดเร็วทันใจ และอีกเทรนด์คือโซเชียล คอมเมิร์ซ (Social Commerce) เป็นการซื้อขายผ่านโซเชียลมีเดีย เช่น เฟซบุ๊ค และอินสตาแกรม
33869 สำหรับช้อปปี้เองนั้น เข้าสู่ตลาดประเทศไทยในเดือนพฤศจิกายน 2558 ค้นพบว่า เทรนด์โมบายล์คอมเมิร์ซของไทยขยายตัวอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกับภาพรวมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งโมบายล์คอมเมิร์ซโตเร็วกว่าในภูมิภาคอื่นๆของโลก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการใช้สมาร์ทโฟนที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ประกอบกับเทคโนโลยีบริการชำระเงินที่สะดวกรวดเร็วผ่านระบบดิจิตอล ผู้บริโภคเปิดใจรับเทคโนโลยีใหม่ๆเหล่านี้ เป็นโอกาสให้ช้อปปี้เข้ามานำเสนอแพลตฟอร์มซื้อขายผ่านแอพพลิเคชั่นโทรศัพท์มือถือ

ซึ่งนอกจากไทยแล้วบริษัทยังบุกเจาะตลาดในเอเชียอีก 6 ประเทศในเอเชีย เน้นกลยุทธ์ localization เข้าถึงผู้ซื้อผู้ขายในแต่ละประเทศ ซึ่งมีความต้องการแตกต่างกันไป ทำให้เนื้อหาและบริการบนแอพพลิเคชั่นของช้อปปี้ในแต่ละประเทศตอบโจทย์ได้อย่างตรงเป้าหมาย ปัจจุบันช้อปปี้มีผู้ขายในระบบกว่า 6 ล้านคน

“สำหรับในประเทศไทยนั้น เรามีผู้ขายมากกว่า 800,000 คน มียอดดาวน์โหลดกว่า 19 ล้านครั้ง โดยมุ่งเน้นทั้งแอพบนมือถือและโซเชียลมีเดีย ที่สำคัญคือเรามีระบบขนส่งสินค้าที่รวดเร็วและติดตามได้แบบเรียลไทม์ นอกจากนี้ ผู้ขายในระบบของช้อปปี้ยังจะได้รับการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะความรู้ด้านต่างๆเกี่ยวกับการขายสินค้าบนช่องทางใหม่นี้ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัดอีกด้วย”  หัวหน้าฝ่ายการตลาด บริษัท ช้อปปี้ ประเทศไทยระบุ
33935 นายฮงชอล จอน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อีเลฟเว่นสตรีท (ประเทศไทย) เว็บจำหน่ายสินค้าออนไลน์อันดับหนึ่งจากเกาหลีใต้ ร่วมตอกย้ำความร้อนแรงของธุรกิจซื้อขายสินค้าออนไลน์ว่า การใช้อินเทอร์เน็ตที่กระจายตัวทั่วถึงมากขึ้น เทคโนโลยีของสมาร์ทโฟนและความสะดวกสบายในการชำระเงินออนไลน์เป็นปัจจัยที่เอื้อให้ ตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยนั้นมีการขยายตัวอย่างมาก ภายในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา ตลาดซื้อขายออนไลน์ของไทยเติบโตขึ้นราว 7 เท่า คนรุ่นใหม่ใช้อินเทอร์เน็ตโทรศัพท์มือถือมากขึ้นเรื่อยๆ และมีการใช้งานโซเชียลมีเดียอย่าง เฟซบุ๊ค อินสตาแกรม และไลน์ เพื่อการทำธุรกรรมค้าขายเพิ่มมากขึ้น

จากแนวโน้มเหล่านี้ทำให้เชื่อได้ว่า การทำธุรกิจซื้อขายสินค้าออนไลน์จะยังคงทิศทางขยายตัวต่อไป สำหรับอีเลฟเว่นสตรีทนั้น เป็นแพลตฟอร์มขายสินค้าออนไลน์อันดับ 1 จากเกาหลีใต้ มีจุดแข็งที่ผู้ซื้อสามารถเลือกสรรจับจ่ายสินค้าคุณภาพดีโดยตรงจากเกาหลีอย่างจุใจ มีสินค้าให้เลือกกว่า 16 ล้านรายการ นอกจากนี้ ยังจับมือกับธนาคารพาณิชย์จัดกิจกรรมให้ส่วนลดแก่ผู้ที่จับจ่ายสินค้าบนอีเลฟเว่นสตรีทผ่านบัตรเครดิตของธนาคาร เป็นการกระตุ้นการจับจ่ายและเพิ่มความสะดวกในการซื้อสินค้าอีกด้วย "ในภาษาเกาหลี เลข 10 หมายถึงความสมบูรณ์แบบ (perfect) แต่ชื่อของเรา “อีเลฟเว่น” เป็นเลข 11 เพราะสิ่งที่เรามอบให้กับลูกค้าที่เป็นทั้งผู้ซื้อและผู้ขายนั้น คือมูลค่าเพิ่ม เป็นสิ่งที่เหนือกว่าความสมบูรณ์แบบ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อีเลฟเว่นสตรีท (ประเทศไทย)ระบุ

ผู้ประกอบการแห่โกออนไลน์
259659
นางสาวระวิวรรณ จันทร์เนตร ผู้ก่อตั้งและออกแบบ "Lunar Queen Scarf" ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ เปิดเผยว่า เริ่มต้นทำธุรกิจตั้งแต่ 4 ปีที่แล้วควบคู่กับการทำงานประจำ จนกระทั่งแน่ใจว่ามีรายได้เลี้ยงตัวเองจึงหันมาทำจริงจังเมื่อประมาณ 1 ปีครึ่งมี่ผ่านมา

"มองผ้าพันคอ เป็นงานศิลปะอย่างหนึ่งใช้การทำแฮนด์เมด โดยใช้สีน้ำมาวาด จะใช้เวลาทำไม่ต่ำกว่า 2 ชั่วโมง โดยเอกลักษณ์ของแบรนด์จะเน้นลายดอกไม้ ลงสีทอง พัฒนามาเป็นนวัตกรรมใช้คอลลาเจน ซึ่งเป็นการสร้างกลยุทธ์จะสร้างความแตกต่าง ทำให้ลูกค้าจดจำแบรนด์ได้" ผู้ก่อตั้งและออกแบบ Lunar Queen Scarf ระบุ

[caption id="attachment_288681" align="aligncenter" width="418"] น.ส.ระวิวรรณ จันทร์เนตร ผู้ก่อตั้งและออกแบบ Lunar Queen Scarf น.ส.ระวิวรรณ จันทร์เนตร
ผู้ก่อตั้งและออกแบบ Lunar Queen Scarf[/caption]

นางสาวระวิวรรณ กล่าวว่า การเข้าสู่ตลาดออนไลน์นั้น จะขายผ่านเฟซบุ๊ก เพราะเป็นแพลตฟอร์มที่คนไทยใช้ทุกคน ทุกวัน พอลงโฆษณาเยอะ โอกาสที่คนเห็นผลิตภัณฑ์แล้วอยากจะใช้ก็มีมาก นอกจากนี้ ยังมีอินสตาแกรม เว็บไซต์ และยูทูบ แต่เฟซบุ๊กก็ยังเป็นช่องทางขายหลักสำหรับคนไทย แล้วมีสัดส่วนที่มียอดขายเกินครึ่ง เพราะว่าลงได้ทั้งรูปและเนื้อหาคราวเดียวกัน

"สินค้าแฟชั่นรูปสวยมักจะได้เปรียบ เวลาเล่นเฟซบุ๊ก กดคลิกไล่ดูหน้าเพจ เวลาเจอรูปสวยก็จะหยุดดูก่อน แล้วค่อยไปอ่านว่า เกี่ยวกับเรื่องอะไร ก็จะใช้เทคนิคนี้ เน้นรูปสวยเป็นหลัก เพื่อดึงดูดให้ลูกค้าสนใจผลิตภัณฑ์ของเรา โดยมีกลุ่มลูกค้าเป็นผู้หญิงอายุ 35-45 ปี"

สำหรับกลยุทธ์ในการทำการค้าออนไลน์ เพื่อป้องกันการลอกเลียนแบบ อย่างแรกสร้างจุดแตกต่างให้ผ้าพันคอ คนอาจจะมองว่า แบรนด์ไหนก็เหมือนกัน หากคนที่ใช้ผ้าพันคอจริง ๆ เท่าที่พิจารณาดู เอกลักษณ์ของแต่ละแบรนด์จะมีเป็นของตัวเอง หรือ โทนสีที่ใช้จะไม่เหมือนกันทีเดียว จะแตกต่างกัน เพราะฉะนั้น หากเราไม่ได้ไปตามใคร มีแนวทางเป็นของตัวเอง ก็เชื่อว่าไม่น่าจะไปซ้ำกับใคร ส่วนในอนาคตจะขยายการค้าออนไลน์ไปยังตลาดเอเชีย อาทิ ไต้หวัน จีน และกลุ่มประเทศมุสลิม

"อย่ามองว่า เป็นลูกค้าออนไลน์แล้วจะไม่สามารถรู้สึกถึงคำพูดของเราได้ ซึ่งการตอบรับของลูกค้าก็มีผลต่อยอดคำสั่งซื้อ ถ้าเราตอบคำถามเร็ว ก็มีโอกาสที่จะสร้างความประทับใจ"

[caption id="attachment_288679" align="aligncenter" width="394"] วิริยา พรทวีวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เชียงใหม่ไบโอเวกกี้ จำกัด วิริยา พรทวีวัฒน์
กรรมการผู้จัดการ บริษัท เชียงใหม่ไบโอเวกกี้ จำกัด[/caption]

นางวิริยา พรทวีวัฒน์ กรรมการผู้จัดการบริษัท เชียงใหม่ไบโอเวกกี้ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผักอัดเม็ด "Bioveggie" กล่าวว่า สินค้าของตนได้ขายผ่านออนไลน์ของบริษัท โดยเกิดขึ้นพร้อมๆกับThaitrade.com โดยขายผ่านช่องทางดังกล่าว และปีนี้เริ่มเห็นผลชัดเจน ข้อดีที่เป็นประโยชน์ต่อขายทางออนไลน์เพราะมีคอมเม้นต์จากผู้บริโภคตัวจริงเข้ามา ช่วยพัฒนาสินค้าตรงไหนไม่ดี เราก็ปรับตัว สำหรับอุปสรรคในการทำธุรกิจมีมากเพราะช่วงแรกๆผักอัดเม็ดนั้น คนไม่เข้าใจ คิดว่าเอาไปปลูก ต้องให้ความรู้ว่า "Bioveggie" นั้นสำหรับรับประทาน มีคุณค่าทางสารอาหาร เกิดประโยชน์กับเด็กที่ไม่ชอบทานผัก และผู้สูงอายุที่ช่วยในระบบขับถ่ายหรือสำหรับผู้ป่วยนอนติดเตียง โดยสินค้ามีขายในร้านหนังสือซีเอ็ด บุ๊ค ร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหารเพื่อสุขภาพเลม่อนฟาร์มเป็นต้น โดยส่วนใหญ่ผู้บริโภคได้รู้จักสินค้าจากการประชาสัมพันธ์

"สำหรับการขายนอกจากเจาะตลาดในประเทศแล้วขณะนี้เรามีตลาดส่งออกไปยังต่างประเทศด้วย เช่นโปแลนด์ ยูเออี เมียนมา ญี่ปุ่น กัมพูชา ในช่องทาง Thaitrade.com ยอมรับว่าการเข้าถึงตลาดในประเทศและต่างประเทศทำได้ยาก เนื่องจากแต่ละประเทศมีข้อกำหนดไม่เหมือนกัน ในไทยนั้น องค์การอาหารเเละยา(อย.)มีข้อกำหนดว่าถ้าเป็นเม็ดจะต้องอยู่ในกลุ่มอาหารเสริม หรือที่ประเทศซาอุฯต้องการสินค้า แต่ยังเข้าไปได้ยาก เพราะผักอัดเม็ดจัดอยู่ในหมวดของยาเป็นต้น" กรรมการผู้จัดการบริษัท เชียงใหม่ไบโอเวกกี้ จำกัด ระบุ

กรรมการผู้จัดการบริษัท เชียงใหม่ไบโอเวกกี้ จำกัด ระบุว่า อย่างไรก็ตามจากความสำเร็จที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งได้รับความช่วยเหลือจากกระทรวงพาณิชย์หลายด้าน ทั้งในแง่การหาตลาดและการประชาสัมพันธ์ ร่วมถึงการเข้าร่วมในงานแสดงสินค้า

[caption id="attachment_288684" align="aligncenter" width="503"] รวิศ หาญอุตสาหะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ศรีจันทร์ สหโอสถ จำกัด รวิศ หาญอุตสาหะ
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ศรีจันทร์ สหโอสถ จำกัด[/caption]

ด้าน นายรวิศ หาญอุตสาหะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ศรีจันทร์ สหโอสถ จำกัด กล่าวว่า ปีนี้จะมุ่งเน้นออนไลน์ อี-คอมเมิร์ซ มากขึ้น โดยการทำตลาดในไทยนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการเพิ่มช่องทางขายสินค้าผ่านเว็บไซต์ อี-คอมเมิร์ซ มาร์เก็ตเพลส 'ลาซาด้า' ส่วนในต่างประเทศนั้น จะใช้การซื้อโฆษณาผ่านวีแชต เพื่อสื่อสารไปยังกลุ่มนักท่องเที่ยวจีน ที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทย ทั้งยังร่วมมือกับผู้ให้บริการเช่าอุปกรณ์พ็อกเกตไว-ไฟ ในการแจกสินค้าทดลองให้กับนักท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม ตลาดต่างประเทศหลัก ขณะนี้อยู่ที่เวียดนาม เนื่องจากมีตัวแทนจำหน่ายที่มีความแข็งแกร่งช่วยทำตลาด ซึ่งกระทรวงพาณิชย์และเว็บไซต์ thaitrade.com มีส่วนช่วยเป็นอย่างมากในการหาพาร์ตเนอร์ในตลาดต่างประเทศ

"ตอนนี้ เรามียอดขายผ่าน อี-คอมเมิร์ซ 5% จากยอดขายประมาณ 300 ล้านบาท คาดว่าภายในปีหน้า ยอดขายผ่าน อี-คอมเมิร์ซ จะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 10% โดยมองว่า ช่องทาง อี-คอมเมิร์ซ ยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก ซึ่งพฤติกรรมของลูกค้าที่มีประสบการณ์การใช้สินค้าแล้ว จะกลับมาซื้อซ้ำผ่านช่องทาง อี-คอมเมิร์ซ"

รับชมวิดีโองาน E-Commerce Big Bang ....



-  E-Commerce BigBang / โอกาสคนตัวเล็กบนตลาดออนไลน์


- 3 ยักษ์ใหญ่อี-คอมเมิร์ซเผยกลยุทธ์ค้าออนไลน์ให้สัมฤทธิ์


- ผู้ประกอบการแห่โกออนไลน์