ฝึกอาชีพคนจน "กำแพงเพชร-นครสวรรค์" เป้ากว่า 1 หมื่นคน

11 มิ.ย. 2561 | 07:26 น.
“อดุลย์”ยกทีม เช็คอิน กำแพงเพชร-นครสวรรค์ ฝึกอาชีพคนจนตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เป้ากว่า 10,000 คน  แรงงาน-1 -11 มิ.ย.2561- พลตำรวจเอกอดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กระทรวงแรงงานได้ดำเนินการโครงการเพิ่มศักยภาพผู้มีรายได้น้อยที่ลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐ เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ และความมั่นคงในชีวิต ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2564) ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคเท่าเทียมทางสังคม ที่มุ่งเป้า ฝึกอาชีพผู้มีรายได้น้อยที่ลงทะเบียนกว่า 6 แสนราย โดยจังหวัดกำแพงเพชร และจังหวัดนครสวรรค์ ร่วมด้วยกรมการจัดหางาน ที่สนับสนุนการจัดหางานให้แก่ผู้ที่ที่มีรายได้น้อย และส่งเสริมการรับงานกลับไปทำที่บ้าน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ดูแลให้ความคุ้มครองสิทธิต่างๆที่เกี่ยวกับแรงงาน และสำนักงานประกันสังคม ส่งเสริมการเข้าสู่ระบบประกันสังคมให้แก่ผู้มีรายได้น้อยร่วมด้วย

แรงงาน-2

ส่วน กพร. ดำเนินการด้านการฝึกอาชีพ เพื่อเพิ่มทักษะให้แก่ผู้มีรายได้น้อยที่ลงทะเบียนฝึกอาชีพในหลักสูตรต่างๆ โดยมีสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน (สพร.) และสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงาน (สนพ.) ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่จัดฝึกอาชีพ ทั้งอาชีพอิสระ และช่างอเนกประสงค์ ซึ่งในวันนี้ ทั้งสองหน่วยงาน ได้แก่ สนพ.กำแพงเพชร ได้ดำเนินการฝึกอบรม รวม 7 รุ่น จำนวน 150 คน ในสาขาต่าง ๆ ได้แก่ การทำศิลปะประดิษฐ์ 1 รุ่น การทำขนมไทย 3 รุ่น การประกอบอาหารไทย 1 รุ่น และการจักสาน 2 รุ่น มีผู้มีรายได้น้อยในจังหวัดที่แจ้งความประสงค์ฝึกอาชีพกับ สนพ.กำแพงเพชร จำนวน 6,899 คน และ สพร.นครสวรรค์ จัดฝึกอบรม 8 รุ่น จำนวน 220 คน สาขาการประดิษฐ์ต้นไม้มงคล สำหรับจำหน่ายเป็นของที่ระลึก และสาขาการทำของชำร่วยเพื่อการค้า ประเภทดอกไม้ดินและที่คั่นหนังสือ มียอดแจ้งฝึกอาชีพกับ สพร. 8 นครสวรรค์ จำนวน 5,085 คน

แรงงาน-4

นายสุทธิ สุโกศล อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กล่าวอีกว่า จากข้อมูลของจังหวัดกำแพงเพชร และจังหวัดนครสวรรค์ มีประชากร 770,627 คน และ 1,065,334 คน ตามลำดับ ซึ่งถือได้ว่าทั้งสองจังหวัดมีจำนวนประชากรค่อนข้างมาก รวมทั้งมีจำนวนผู้มีรายได้น้อยที่แจ้งความประสงค์ฝึกอาชีพกับ กพร. จำนวนมากอีกด้วย ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และทางธรรมชาติที่งดงาม เหมาะแก่การส่งเสริมการรักษาเอกลักษณ์ วัฒนธรรมชุมชน เทศกาลงานประเพณี และการผลิตสินค้า เพื่อสร้างมูลค่าด้านการท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น โดยหลักสูตรการฝึกผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพ หารายได้ในช่วงเทศกาลต่างๆ เช่น การทำกล้วยฉาบ ขนมกระยาสารท เฉาก๊วยชากังราว ขนมโมจิ ลูกชิ้นปลากราย เค้กปลาช่อน