“นิด้าโพล”สำรวจ“การปฏิรูปประเทศ 11 ด้าน”ปชช.ให้เร่งศก.

10 มิ.ย. 2561 | 06:08 น.
กรมประชาสัมพันธ์ ร่วมกับ ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “การปฏิรูปประเทศ 11 ด้าน” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 26 - 31 พฤษภาคม 2561 จากประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 2,039 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการรับรู้ ความเข้าใจ และความคิดเห็นที่มีต่อ “การปฏิรูปประเทศ 11 ด้าน” การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างด้วยความน่าจะเป็น ด้วยวิธีแบบหลายขั้นตอน (Multistage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการลงพื้นที่สัมภาษณ์แบบพบตัว โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95

จากการสำรวจ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 64.98 เข้าใจว่าการปฏิรูปประเทศ คือ การเปลี่ยนแปลงประเทศให้ดีขึ้น ด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน "ทุกคน" ร้อยละ 60.23 เข้าใจว่าการปฏิรูปประเทศ คือ การเปลี่ยนแปลงประเทศให้ดีขึ้นอย่างมีระบบ ระเบียบ มีแผน มีเป้าหมายที่ชัดเจน ประเมินผลได้และรู้ว่าใครทำอะไร ร้อยละ 29.62 เข้าใจว่าการปฏิรูปประเทศ คือ การเปลี่ยนแปลงประเทศให้ดีขึ้น เป็นหน้าที่ของรัฐบาลและข้าราชการ ร้อยละ 26.53 เข้าใจว่าการปฏิรูปประเทศ คือ การเปลี่ยนแปลงประเทศให้ดีขึ้นอย่างรวดเร็ว แบบพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ ถ้าเป็นเรื่องง่าย ร้อยละ 22.81 เข้าใจว่าการปฏิรูปประเทศ คือ การเปลี่ยนแปลงประเทศให้ดีขึ้นอย่างช้า ๆ ค่อยเป็นค่อยไป ถ้าเป็นเรื่องยาก และร้อยละ 0.10 เข้าใจว่าการปฏิรูปประเทศ คือ การเปลี่ยนแปลงประเทศให้ดีขึ้นโดยการรับฟังเสียงของประชาชน

Print

เมื่อถามถึงความคาดหวังของประชาชนต่อการปฏิรูปประเทศ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 68.51 คาดหวังว่าการปฏิรูปประเทศจะช่วยให้ประชาชนทุกกลุ่ม เกษตรกร รับจ้าง ผู้สูงอายุ คนพิการ ฯลฯ ได้รับสวัสดิการที่ดีขึ้น อย่างทั่วถึงไม่ตกหล่น ร้อยละ 57.48 คาดหวังว่าการปฏิรูปประเทศจะช่วยให้ประชาชนได้รับบริการที่สะดวก รวดเร็ว และเท่าเทียมกัน ร้อยละ 56.50 คาดหวังว่าการปฏิรูปประเทศจะช่วยให้ไม่มีการโกง ไม่มีเส้นสาย ไม่อุปถัมภ์ คนทุจริตทั้งผู้ให้และผู้รับไม่ว่ารวย-จน หรือมีตำแหน่งต้องได้รับโทษ ร้อยละ 51.30 คาดหวังว่าการปฏิรูปประเทศจะช่วยให้มีความสุข ชีวิตปลอดภัย เดินทางสะดวก และมีสวัสดิการที่ดีขึ้น ร้อยละ 49.39 คาดหวังว่าการปฏิรูปประเทศจะช่วยให้คนทำผิดกฎหมายต้องได้รับโทษ และบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ร้อยละ 46.30 คาดหวังว่าการปฏิรูปประเทศจะช่วยให้มีโอกาสทำงาน มีโอกาสพัฒนาตนเองได้ และมีรายได้ที่เหมาะสมกับความสามารถ และร้อยละ 0.74

คาดหวังว่าการปฏิรูปประเทศจะช่วยลดความเลื่อมล้ำทางสังคม มีความเท่าเทียมตามสิทธิและกฎหมาย มีกฎหมายที่รัดกุม ไม่ลดหย่อนโทษสำหรับผู้ที่กระทำผิด ประชาชนทุกคนมีสิทธิออกเสียงไม่ว่าจะรวยหรือจน การศึกษาดีขึ้น มีสิทธิเสรีภาพ มีผู้นำหรือผู้บริหารประเทศที่เป็นคนดี มีความสามารถ

สำหรับหน้าที่และความรับผิดชอบต่อการปฏิรูปประเทศ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 81.17 คิดว่าการปฏิรูปประเทศเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ร้อยละ 76.95 คิดว่าการปฏิรูปประเทศเป็นหน้าที่ของประชาชน ร้อยละ 47.87 คิดว่าการปฏิรูปประเทศเป็นหน้าที่ของ คสช. ร้อยละ 41.88 คิดว่าการปฏิรูปประเทศเป็นหน้าที่ของข้าราชการ ร้อยละ 33.59 คิดว่าการปฏิรูปประเทศเป็นหน้าที่ของนักการเมืองและพรรคการเมือง ร้อยละ 26.88 คิดว่าการปฏิรูปประเทศเป็นหน้าที่ของภาคเอกชน ร้อยละ 20.30 คิดว่าการปฏิรูปประเทศเป็นหน้าที่ของสื่อมวลชน ร้อยละ 13.24 คิดว่าการปฏิรูปประเทศเป็นหน้าที่ของมูลนิธิ หรือองค์กรเอกชน ที่ไม่แสวงหากำไร (NGO) ร้อยละ 3.09
คิดว่าการปฏิรูปประเทศเป็นหน้าที่ของทุกคนและทุกภาคส่วน ครู อาจารย์ที่อบรมสั่งสอนเด็กหรืออนาคตของชาติ ให้มีคุณธรรม มีความรู้ความสามารถ โตไปไม่โกง

เมื่อถามถึงเครื่องมือที่ช่วยให้การปฏิรูปประเทศประสบความสำเร็จและมีความต่อเนื่อง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 59.49 คิดว่าสิ่งที่ทำให้การปฏิรูปประเทศประสบความสำเร็จ คือ ความร่วมมือจากประชาชนทุกภาคส่วน รวมทั้งสื่อมวลชน ร้อยละ 56.55 คิดว่าสิ่งที่ทำให้การปฏิรูปประเทศประสบความสำเร็จ คือ การยอมรับการเปลี่ยนแปลง และการแก้ปัญหาร่วมกันอย่างสันติ ร้อยละ 54.49 คิดว่าสิ่งที่ทำให้การปฏิรูปประเทศประสบความสำเร็จ คือ ทุกคนเห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก ยอมสละความสุขสบายส่วนตนได้ ร้อยละ 53.80 คิดว่าสิ่งที่ทำให้การปฏิรูปประเทศประสบความสำเร็จ คือ ผู้นำประเทศและนักการเมืองที่มีวิสัยทัศน์ ร้อยละ 46.35 คิดว่าสิ่งที่ทำให้การปฏิรูปประเทศประสบความสำเร็จ คือ พรรคการเมืองที่ทำงานเพื่อประเทศชาติและประชาชนเป็นที่ตั้ง ร้อยละ 32.66 คิดว่าสิ่งที่ทำให้การปฏิรูปประเทศประสบความสำเร็จ คือ แผนการปฏิรูปประเทศ ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ร้อยละ 25.06 คิดว่าสิ่งที่ทำให้การปฏิรูปประเทศประสบความสำเร็จ คือ ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะยาว และร้อยละ 0.25 คิดว่าสิ่งที่ทำให้การปฏิรูปประเทศประสบความสำเร็จ คือ ความต่อเนื่องในการดำเนินงาน หรือนโยบายของรัฐบาลเก่าและรัฐบาลใหม่ การมีจิตสำนึก มีความซื่อสัตย์ ไม่โกงบ้านโกงเมือง เน้นการพัฒนาคนมากกว่าการพัฒนาวัตถุ

Print

ในส่วนของการรับรู้หรือเคยได้ยินเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 46.49 ระบุว่าเคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง เช่น การเลือกตั้งแบบใหม่ ร้อยละ 43.40 ระบุว่าเคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศด้านสังคม เช่น การลงทะเบียนคนจนและแรงงานต่างด้าว ร้อยละ 32.61 ระบุว่าเคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ เช่น ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกหรือ อีอีซี (EEC) เกษตรแปลงใหญ่ ตลาดนำการผลิต ร้อยละ 29.57 ระบุว่าเคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ เช่น การตั้งศาลเฉพาะคดีทุจริต ร้อยละ 26.29 ระบุว่าเคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข เช่น ผู้ป่วยฉุกเฉินมีสิทธิรักษาทุกโรงพยาบาล ภายใน 72 ชั่วโมง (UCEP) ร้อยละ 24.57 ระบุว่าเคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศด้านกฎหมาย เช่น การแก้ไขการทำประมงที่ผิดกฎหมาย (IUU) การทำให้อุตสาหกรรมการบินของประเทศไทย เป็นที่ยอมรับตามมาตรฐานสากลขององค์การการบินระหว่างประเทศ (ICAO)

ร้อยละ 20.50 ระบุว่าเคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น กฎหมายป่าชุมชน ร้อยละ 20.40 ระบุว่าเคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน เช่น การบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ ร้อยละ 18.78 ระบุว่าเคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น กฎหมายจรรยาบรรณสื่อ ร้อยละ 18.39 ระบุว่าเคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม เช่น กองทุนยุติธรรม ร้อยละ 13.09 ระบุว่าเคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน เช่น โรงงานไฟฟ้าจากขยะ และร้อยละ 5.74 ระบุว่าไม่เคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับการปฏิรูปเลย

เมื่อถามประชาชนถึงการรับรู้และความรู้สึกต่อการปฏิรูปประเทศ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 58.21 รู้สึกว่าบ้านเมืองได้มีการปฏิรูปประเทศบางส่วนแล้ว ร้อยละ 27.02 รู้สึกว่าบ้านเมืองยังไม่มีการปฏิรูปประเทศ ร้อยละ 9.96 ไม่ทราบว่าบ้านเมืองมีการปฏิรูปประเทศ และร้อยละ 4.81 รู้สึกว่าบ้านเมืองได้มีการปฏิรูปประเทศทั้งหมดแล้ว

เมื่อถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศ โดยแบ่งออกเป็น 11 ด้าน พบว่า (1) ด้านการเมือง ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 49.09 ระบุว่าค่อนข้างเห็นด้วยกับการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง ร้อยละ 40.27 ระบุว่าเห็นด้วยมากที่สุด ร้อยละ 7.80 ระบุว่าไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 2.84 ระบุว่าไม่เห็นด้วยเลย (2) ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 53.90 ระบุว่าค่อนข้างเห็นด้วยกับการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ร้อยละ 36.19 ระบุว่าเห็นด้วยมากที่สุด ร้อยละ 9.37 ระบุว่าไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 0.54 ระบุว่าไม่เห็นด้วยเลย (3) ด้านกฎหมาย พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 56.01 ระบุว่าค่อนข้างเห็นด้วย
กับการปฏิรูปประเทศด้านกฎหมาย ร้อยละ 38.35 ระบุว่าเห็นด้วยมากที่สุด ร้อยละ 5.05 ระบุว่าไม่ค่อยเห็นด้วย
และร้อยละ 0.59 ระบุว่าไม่เห็นด้วยเลย

(4) ด้านกระบวนการยุติธรรม พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 54.98 ระบุว่าค่อนข้างเห็นด้วยกับการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม ร้อยละ 37.47 ระบุว่าเห็นด้วยมากที่สุด ร้อยละ 6.96 ระบุว่าไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 0.59 ระบุว่าไม่เห็นด้วยเลย (5) ด้านเศรษฐกิจ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 48.80 ระบุว่าค่อนข้างเห็นด้วยกับการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ ร้อยละ 38.50 ระบุว่าเห็นด้วยมากที่สุด ร้อยละ 10.45 ระบุว่าไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 2.25 ระบุว่าไม่เห็นด้วยเลย (6) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 53.95 ระบุว่าค่อนข้างเห็นด้วยกับการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 39.73 ระบุว่าเห็นด้วยมากที่สุด ร้อยละ 5.88 ระบุว่าไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 0.44 ระบุว่าไม่เห็นด้วยเลย

Print

(7) ด้านสาธารณสุข พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 53.65 ระบุว่าเห็นด้วยมากที่สุดกับการปฏิรูปประเทศ ด้านสาธารณสุข ร้อยละ 41.69 ระบุว่าค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 4.32 ระบุว่าไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 0.34 ระบุว่าไม่เห็นด้วยเลย (8) ด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 51.35 ระบุว่าค่อนข้างเห็นด้วยกับการปฏิรูปประเทศด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ ร้อยละ 40.31 ระบุว่าเห็นด้วยมากที่สุด ร้อยละ 7.55 ระบุว่าไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 0.79 ระบุว่าไม่เห็นด้วยเลย (9) ด้านสังคม พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 48.26 ระบุว่าค่อนข้างเห็นด้วยกับการปฏิรูปประเทศด้านสังคม ร้อยละ 42.23 ระบุว่าเห็นด้วยมากที่สุด ร้อยละ 7.65 ระบุว่าไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 1.86 ระบุว่าไม่เห็นด้วยเลย

(10) ด้านพลังงาน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 54.39 ระบุว่าค่อนข้างเห็นด้วยกับการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน ร้อยละ 36.98 ระบุว่าเห็นด้วยมากที่สุด ร้อยละ 6.91 ระบุว่าไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 1.72 ระบุว่าไม่เห็นด้วยเลย (11) ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 48.95 ระบุว่าค่อนข้างเห็นด้วยกับการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ร้อยละ 43.50 ระบุว่าเห็นด้วย มากที่สุด ร้อยละ 6.52 ระบุว่าไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 1.03 ระบุว่าไม่เห็นด้วยเลย

เมื่อถามถึงความเชื่อมั่นในโอกาสความสำเร็จของการปฏิรูปประเทศ โดยแบ่งออกเป็น 11 ด้าน พบว่า (1) ด้านการเมือง ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 40.26 ระบุว่าค่อนข้างเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จ ร้อยละ 30.95 ระบุว่าไม่ค่อยเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จ ร้อยละ 16.23 ระบุว่าเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จแน่นอน และร้อยละ 12.56 ระบุว่าไม่เชื่อเลยว่าจะประสบความสำเร็จ (2) ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 43.99 ระบุว่าค่อนข้างเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จ ร้อยละ 28.20 ระบุว่าไม่ค่อยเชื่อว่า
จะประสบความสำเร็จ ร้อยละ 18.34 ระบุว่าเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จแน่นอน และร้อยละ 9.47 ระบุว่าไม่เชื่อเลยว่าจะประสบความสำเร็จ (3) ด้านกฎหมาย พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 46.54 ระบุว่าค่อนข้างเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จ ร้อยละ 28.30 ระบุว่าไม่ค่อยเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จ ร้อยละ 15.20 ระบุว่าเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จแน่นอน และร้อยละ 9.96 ระบุว่าไม่เชื่อเลยว่าจะประสบความสำเร็จ (4) ด้านกระบวนการยุติธรรม พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 45.41 ระบุว่าค่อนข้างเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จ ร้อยละ 28.84 ระบุว่าไม่ค่อยเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จ ร้อยละ 14.86 ระบุว่าเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จแน่นอน และร้อยละ 10.89 ระบุว่าไม่เชื่อเลยว่าจะประสบความสำเร็จ

(5) ด้านเศรษฐกิจ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 42.91 ระบุว่าค่อนข้างเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จ ร้อยละ 28.84 ระบุว่าไม่ค่อยเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จ ร้อยละ 16.04 ระบุว่าเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จแน่นอน และร้อยละ 12.21 ระบุว่าไม่เชื่อเลยว่าจะประสบความสำเร็จ (6) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 46.30 ระบุว่าค่อนข้างเชื่อว่า
จะประสบความสำเร็จ ร้อยละ 25.70 ระบุว่าไม่ค่อยเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จ ร้อยละ 17.26 ระบุว่าเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จแน่นอน และร้อยละ 10.74 ระบุว่าไม่เชื่อเลยว่าจะประสบความสำเร็จ (7) ด้านสาธารณสุข พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 40.76 ระบุว่าค่อนข้างเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จ ร้อยละ 26.43 ระบุว่าเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จแน่นอน ร้อยละ 23.44 ระบุว่าไม่ค่อยเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จ และร้อยละ 9.37 ระบุว่าไม่เชื่อเลยว่าจะประสบความสำเร็จ

Print

(8) ด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 46.10 ระบุว่าค่อนข้างเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จ ร้อยละ 25.70 ระบุว่าไม่ค่อยเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จ ร้อยละ 18.98 ระบุว่าเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จแน่นอน และร้อยละ 9.22 ระบุว่าไม่เชื่อเลยว่าจะประสบความสำเร็จ (9) ด้านสังคม พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 42.18 ระบุว่าค่อนข้างเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จ ร้อยละ 25.75 ระบุว่าไม่ค่อยเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จ ร้อยละ 20.89 ระบุว่า เชื่อว่าจะประสบความสำเร็จแน่นอน และร้อยละ 11.18 ระบุว่าไม่เชื่อเลยว่าจะประสบความสำเร็จ (10) ด้านพลังงาน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 45.41 ระบุว่าค่อนข้างเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จ ร้อยละ 28.79 ระบุว่าไม่ค่อยเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จ ร้อยละ 15.89 ระบุว่าเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จแน่นอน และร้อยละ 9.91 ระบุว่าไม่เชื่อเลยว่าจะประสบความสำเร็จ

(11) ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 39.68 ระบุว่าค่อนข้างเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จ ร้อยละ 27.81 ระบุว่าไม่ค่อยเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จ ร้อยละ 18.98 ระบุว่าเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จแน่นอน และร้อยละ 13.53 ระบุว่าไม่เชื่อเลยว่าจะประสบความสำเร็จ

สำหรับความต้องการที่อยากให้รัฐบาลดำเนินการปฏิรูปประเทศเพิ่มเติมนอกจาก 11 ด้านข้างต้น พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 43.75 อยากให้รัฐบาลดำเนินการปฏิรูปประเทศเพิ่มเติมในด้านยาเสพติด ร้อยละ 35.94 อยากให้รัฐบาลดำเนินการปฏิรูปประเทศเพิ่มเติมในด้านการเกษตร ร้อยละ 14.84 อยากให้รัฐบาลดำเนินการปฏิรูปประเทศเพิ่มเติมในด้านศาสนา ร้อยละ 3.91 อยากให้รัฐบาลดำเนินการปฏิรูปประเทศเพิ่มเติมในด้านวัฒนธรรม และร้อยละ 1.56 อยากให้รัฐบาลดำเนินการปฏิรูปประเทศเพิ่มเติมในด้านกีฬา

เมื่อถามความคิดเห็นต่อการปฏิรูปประเทศว่าด้านใดควรดำเนินการอย่างเร่งด่วน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ต้องการให้ดำเนินการปฏิรูปประเทศอย่างเร่งด่วนเป็นอันดับ 1 คือ ด้านเศรษฐกิจ ร้อยละ 32.49 อันดับ 2 ด้านการเมือง ร้อยละ 19.67 อันดับ 3 ด้านกฎหมาย ร้อยละ 10.84 อันดับ 4 ด้านสังคม ร้อยละ 9.92 อันดับ 5 ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ร้อยละ 7.14 อันดับ 6 ด้านสาธารณสุข ร้อยละ 5.29 อันดับ 7 ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ร้อยละ 4.55 อันดับ 8 ด้านกระบวนการยุติธรรม ร้อยละ 4.35 อันดับ 9 ด้านพลังงาน ร้อยละ 3.11 อันดับ 10 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 1.85 และอันดับ 11 ด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ ร้อยละ 0.78

สำหรับความคิดเห็นในเรื่องระยะเวลาดำเนินการปฏิรูปประเทศ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 37.27 คิดว่าควรดำเนินการในระยะเร่งด่วน (ภายใน 1 ปี) ร้อยละ 29.33 คิดว่าควรดำเนินการในระยะปานกลาง (1 - 5 ปี) ร้อยละ 25.60 คิดว่าควรปฏิรูปอย่างต่อเนื่องตลอดไป ร้อยละ 6.18 คิดว่าควรดำเนินการในระยะยาว (มากกว่า 5 ปี) และร้อยละ 1.62 ไม่ทราบ
โปรโมทแทรกอีบุ๊ก-6 เมื่อถามถึงความมั่นใจของประชาชนในการปฏิรูปประเทศ รวมถึงการปฏิรูปการศึกษาและการปฏิรูปตำรวจ จะช่วยให้ประชาชนอยู่ดีกินดีอย่างพอเพียง และประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 36.49 ค่อนข้างมั่นใจว่าการปฏิรูปประเทศจะช่วยให้ประชาชนอยู่ดีกินดีอย่างพอเพียง และประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ร้อยละ 32.96 ไม่ค่อยมั่นใจ ร้อยละ 16.48 ไม่มั่นใจเลย ร้อยละ 8.09 มั่นใจมาก และร้อยละ 5.98 ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจ

เมื่อถามถึงการมีส่วนร่วมใน “การปฏิรูปประเทศ 11 ด้าน” พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 27.21 ระบุว่าให้ความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการดำเนินการปฏิรูปประเทศให้ดีขึ้น ตามนโยบายหรือแผนการปฏิรูปประเทศของรัฐบาล ร้อยละ 18.65 ระบุว่ามีส่วนร่วมโดยการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ร้อยละ 14.81 ระบุว่าร่วมแสดงความคิดเห็น และข้อเสนอแนะแก้ไขปัญหาเมื่อมีโอกาส เพื่อให้ประเทศชาติเจริญและพัฒนา ร้อยละ 9.90 ระบุว่าทำหน้าที่พลเมืองตามสิทธิ หน้าที่ ร้อยละ 8.17 ระบุว่าปฏิบัติตามกฎหมายและเคารพกติกาของบ้านเมือง ร้อยละ 4.33 ระบุว่าติดตามการทำงานของรัฐบาล ร้อยละ 4.23 ระบุว่าเป็นคนดีของสังคม มีน้ำใจช่วยเหลือกัน ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ร้อยละ 3.65 ระบุว่าต่อต้านคอร์รัปชัน ร้อยละ 2.69 ระบุว่าร่วมกิจกรรมพัฒนาชุมชน ร้อยละ 2.12 ระบุว่าดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ร้อยละ 1.92 ระบุว่าประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของรัฐบาลที่ถูกต้อง ร้อยละ 1.73 ระบุว่าไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด และร้อยละ 0.58 ระบุว่ามีส่วนร่วมกับกิจกรรมทางการเมือง

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 52.04 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 47.96 เป็นเพศชาย โดยตัวอย่างร้อยละ 26.48 มีอายุ 36-45 ปี ร้อยละ 24.52 มีอายุ 46-59 ปี ร้อยละ 23.88 มีอายุ 26-35 ปี ร้อยละ16.14 มีอายุ 18-25 ปี และร้อยละ 8.98 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 30.16 จบการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 27.96 จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 23.44 จบการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 14.66 จบการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า และร้อยละ 3.78
จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ตัวอย่างร้อยละ 31.83 ประกอบอาชีพค้าขาย ธุรกิจส่วนตัว อาชีพอิสระ ร้อยละ 18.74 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 13.00 ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 12.16 ประกอบอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 11.33 ประกอบอาชีพข้าราชการ ลูกจ้างของรัฐ รัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 6.67 เป็นพ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณ ว่างงาน ร้อยละ 5.54 เป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษา ร้อยละ 0.39 ประกอบอาชีพประมง และร้อยละ 0.34 ประกอบอาชีพ อื่น ๆ ได้แก่ ช่าง ทนาย นักการเมืองท้องถิ่น ตัวอย่างร้อยละ 33.25 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 - 20,000 บาท ร้อยละ 31.19 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,001 - 10,000 บาท ร้อยละ 11.97 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ไม่เกิน 5,000 บาท ร้อยละ 11.77 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 - 30,000 บาท ร้อยละ 4.85 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มากกว่า 30,000 บาท ร้อยละ 4.27 ไม่มีรายได้ และร้อยละ 2.70 ไม่ระบุรายได้

e-book-1-503x62