ปั้น 'ไทยเทรด' เชื่อมโลก! ผนึกยักษ์ อี-คอมเมิร์ซ ชิงแชร์ 25 ล้านล้านดอลล์

10 มิ.ย. 2561 | 05:44 น.
100661-1228

[caption id="attachment_288534" align="aligncenter" width="503"] สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์[/caption]

'สนธิรัตน์' ชู 3 แพลตฟอร์มใหม่ "ไทยเทรดเชื่อมค้าออนไลน์โลก" หนุนคนตัวเล็ก ชิงตลาด 25 ล้านล้านดอลล์ ผนึกยักษ์ใหญ่ อี-คอมเมิร์ซ จีน-มะกัน เป็นพันธมิตร ด้าน NEA ตีฆ้องเรียก 3 ล้านราย เข้าคอร์สติวเข้มลุยตลาด

ในการสัมมนา E-Commerce BIG BANG จัดโดย กระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 7 มิ.ย. ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ ซึ่งมีผู้ประกอบการเอกชนเข้าร่วมงานอย่างล้นหลาม ชี้ให้เห็นถึงกระแสความตื่นตัวกับช่องทางการค้ายุคใหม่นั้น

080661-1701

เปิดตัวไทยเทรดโฉมใหม่
นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ทางกระทรวงได้เปิดตัวแพลตฟอร์ม Thaitrade For All ในวันนี้ วัตถุประสงค์เพื่อเป็นก้าวแรกในการยกระดับให้ thaitrade.com เป็นตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ เพื่อรองรับการซื้อขายสินค้าและบริการในประเทศและต่างประเทศอย่างครบวงจร โดยได้เปิดตัวเว็บไซต์ย่อย 3 เว็บไซต์ ได้แก่ 1.Thaitrade.com-B2B e-Marketplace ขายส่งระหว่างประเทศที่มาพร้อมบริการใหม่ e-Quotation และ Instant Sourcing Service

2.Thaitrade SOOK (Small Order OK) - B2C e-Marketplace ขายปลีกระหว่างประเทศ เพื่อให้คนตัวเล็กได้มีโอกาสทดลองตลาด และ 3.Thaitrade Shop เป็นศูนย์รวมสินค้าของ B2C e-Marketplace ซื้อขายภายในประเทศ เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าที่มีเว็บไซต์ชื่อว่า "ของดีทั่วไทย" และจะรองรับการชำระเงินออนไลน์ทุกรูปแบบ และเชื่อมต่อการขนส่งภายในประเทศ รวมถึงการพัฒนาเป็นเกตเวย์ ให้แพลตฟอร์มทั้งของภาครัฐและเอกชนของไทย มาเชื่อมต่อระบบการค้นหาสินค้าเพื่อส่งข้อมูลสินค้ามาแสดงผลบน Thaitrade Shop และสามารถนำไปสู่ผู้ซื้อที่เป็น B2C ในต่างประเทศ ที่จะมาเชื่อมโยงซื้อได้

GP-3373_180610_0008

"เจตนารมณ์เหล่านี้ เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการยกระดับไทยเทรดดอทคอม ให้ปรับตัวขึ้นมารองรับและเป็นเนชั่นแนลแพลตฟอร์ม ที่ท่านรองนายกฯสมคิดได้ให้นโยบายในการเชื่อมโยงกับแพลตฟอร์มระดับโลก ไหลบ่าเข้ามาสู่ผู้ประกอบการของคนไทย และผู้ประกอบการไทยปรับตัวไม่ทันจะได้รับผลกระทบ"

ตีกันยักษ์ อี-คอมเมิร์ซ กลืน
นายสนธิรัตน์ กล่าวยอมรับว่า การเข้ามาของ อี-คอมเมิร์ซ ยักษ์ใหญ่จากฝั่งจีน อาทิ อาลีบาบากรุ๊ป (Alibaba) และเจดีดอทคอม (JD.com) และเว็บไซต์ อี-คอมเมิร์ซ จากฝั่งสหรัฐอเมริกา อาทิ อเมซอน (Amazon) และอีเบย์ (eBay) ทั้งหมดเป็นสัญญาณเตือนภัยที่ทั้งภาครัฐและเอกชนถึงเวลาแล้วที่ต้องผนึกกำลังที่จะตอบรับการค้ายุคใหม่ เช่น การค้าออนไลน์ และตื่นตัวต่อระบบนิเวศของการค้าแบบใหม่ ดังนั้น จะต้องสร้างภูมิต้านทานการค้าของไทยให้สอดรับกับความอ่อนแอของผู้ประกอบการคนไทยที่เป็นทั้งเอสเอ็มอี เป็นโอท็อป ที่ยังติดยึดกับการค้าแบบดั้งเดิม

e-commerce-concept_23-2147513189

ทั้งนี้ หากประเทศไทยไม่มีเนชั่นแนลแพลตฟอร์มที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างแพลตฟอร์มในประเทศด้วยกันเอง และเชื่อมโยงกับแพลตฟอร์มระดับโลก แพลตฟอร์มระดับโลกเหล่านั้นก็จะทะลุทะลวง และดึงเอาบิ๊กดาต้าทั้งหมดเกี่ยวกับ อี-คอมเมิร์ซ และการค้าการขายของไทยออกไป และในอนาคตไทยจะไม่มีความเข้มแข็งอะไรหลงเหลือจากสิ่งที่จะเกิดขึ้น

ดังนั้น กระทรวงพาณิชย์ได้ประกาศเจตนารมณ์เมื่อวันที่ 17 พ.ค. ที่ผ่านมา ในการผนึกกำลังร่วมกับพันธมิตรภาครัฐและเอกชน เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับวงการ อี-คอมเมิร์ซไทย และส่งเสริมให้คนไทยสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จาก อี-คอมเมิร์ซ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ บนแพลตฟอร์ม อี-คอมเมิร์ซ ของประเทศในอนาคตอันใกล้นี้ โดยร่วมมือทั้งหมด 3 ด้านหลัก ได้แก่ 1.e-Payment : รองรับการรับชำระเงินผ่านบัตรเครดิต / เดบิต ทุกธนาคาร การชำระเงินผ่านผู้ให้บริการ e-Wallet และพร้อมรองรับการชำระเงินออนไลน์รูปแบบใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ด้านที่ 2 e-Logistics : เชื่อมต่อกับผู้ให้บริการโลจิสติกส์ในไทย อาทิ ไปรษณีย์ไทย Shipping SCG Express Ninja Skootar Alpha รวมทั้งร่วมมือกับผู้ให้บริการทางด้านการขนส่งที่มีความเชี่ยวชาญและเครือข่ายครอบคลุมทั่วโลก เช่น ดีเอชแอล เอ็กซ์เพรส และขยายต่อไปยังผู้ให้บริการขนส่งไทยที่มีความพร้อม

app32689182_s

ด้านที่ 3 e-Marketplace : เชื่อมโยงกับห้างสรรพสินค้าออนไลน์ต่าง ๆ ภายในประเทศ ทั้งของภาครัฐและเอกชน โดยเปิดเป็น Gateway ให้สามารถเชื่อมระบบการค้นหาสินค้าจากทุกเว็บไซต์พันธมิตรและแสดงผลได้จากที่เดียว นำร่องโดย เชื่อมระบบของ 6 หน่วยงาน ประกอบด้วย กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (เว็บไซต์ของดีทั่วไทย) บิ๊กซี , ซีแมนทิค ทัช (BentoWeb) , แอลเอ็น ดับเบิ้ล ยู ช็อป (เทพช็อป) และเว็บไซต์ตลาดต่อยอด และยินดีจะเชื่อมกับพันธมิตรอื่น ๆ ที่พร้อมทำงานร่วมกับกระทรวงในอนาคต

02-3375

NEA ลุยติวเข้มเอสเอ็มอี
นายพรวิช ศิลาอ่อน ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ (NEA) กล่าวในการเสวนา "ทิศทาง E-Commerce ของประเทศไทย" ว่า เป็นโอกาสของผู้ประกอบการขนาดเล็กในการเข้าสู่ตลาดออนไลน์ได้มากขึ้น จากเดิมการค้าออนไลน์จะเป็นของรายใหญ่ ปัจจุบัน ไทยมีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีประมาณ 3 ล้านราย ดังนั้น การที่ไทยมี อี-คอมเมิร์ซ จะช่วยให้ผู้ประกอบการขนาดเล็กมีพลัง มีอำนาจต่อรอง และมีโอกาสทางการค้ามากขึ้น ซึ่งทางสถาบันฯ ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการให้ความรู้และสนับสนุนผู้ประกอบการในการนำไปต่อยอดทำการค้าทั้งออนไลน์และออฟไลน์ นอกจากนี้ ยังนำผู้ประกอบการสตาร์ตอัพที่ประสบความสำเร็จจากการทำธุรกิจในออนไลน์มาเป็นพี่เลี้ยงถ่ายทอดประสบการณ์ให้กับผู้ประกอบการที่สนใจ

"การค้าในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปมาก ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมีโอกาสและมีอำนาจมากขึ้น สามารถทำการซื้อขายกันมากขึ้น กับผู้ประกอบการทุกขนาดในรูปแบบ อี-คอมเมิร์ซ แบบไร้พรมแดน สิ่งที่สถาบันให้กับผู้ประกอบการนอกจากให้ความรู้แล้ว ยังช่วยเชื่อมโยงตลาดผู้ซื้อผู้ขายในตลาดต่าง ๆ ได้ผ่านทูตพาณิชย์ 58 แห่งทั่วโลก ซึ่งเอสเอ็มอีมีกว่า 3 ล้านราย หากมาเรียนกับเราได้ 10% ก็จ่อต่อยอดรายได้ได้อีกมาก"

 

[caption id="attachment_288538" align="aligncenter" width="503"] อารดา เฟื่องทอง ผู้อำนวยการสำนักตลาดพาณิชย์ดิจิทัล กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ อารดา เฟื่องทอง
ผู้อำนวยการสำนักตลาดพาณิชย์ดิจิทัล [/caption]

ชิงตลาด 25 ล้านล้านดอลล์
นางอารดา เฟื่องทอง ผู้อำนวยการสำนักตลาดพาณิชย์ดิจิทัล กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ข้อมูลของอังค์ถัดในปี 2558 มีมูลค่าการค้าผ่าน อี-คอมเมิร์ซทั่วโลก 25.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สัดส่วน 90% เป็นการค้าแบบ B2B และอีก 10% เป็นแบบ B2C ซึ่ง 2 ปีที่ผ่านมา ตัวเลขการค้าแบบ B2C หรือ B2C2B มีตัวเลขโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับ อี-คอมเมิร์ซ เข้ามามีบทบาทในไทยมากว่า 20 ปี แต่ที่ผ่านมา ผู้ประกอบการไม่ได้เข้าไปศึกษาอย่างเพียงพอ ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ มีเว็บไซต์ thaitrade.com เข้ามาให้บริการในรูปแบบ B2B (ธุรกิจกับธุรกิจ) และ B2C (ธุรกิจกับลูกค้า)

"ปัจจุบัน มีผู้ประกอบการที่เป็นสมาชิกไทยเทรดดอทคอม 2.5 หมื่นราย มีผู้ซื้อทั่วโลกจำนวน 1.7 แสนราย มีสินค้า 2.5 แสนรายการ ตั้งเป้าใน 3 ปี จะเพิ่มสมาชิกให้ได้ 1 แสนราย และมีสินค้า 1 ล้านรายการ สร้างมูลค่าการค้าออนไลน์เพิ่มอีกเท่าตัวภายใน 3 ปี จากปัจจุบันมีมูลค่าการค้าออนไลน์เพิ่มอีกเท่าตัวภายใน 3 ปี จากปัจจุบัน มีมูลค่าการค้าแล้วกว่า 5 พันล้านบาท สินค้าที่ได้รับความนิยม เช่น อาหารและเครื่องดื่ม แฟชั่น ความงาม ของตกแต่งบ้าน ซึ่งเป็นสินค้าที่ผู้ประกอบการไทยถนัดและมีภาพลักษณ์ที่ดีในสายตาต่างชาติ"

070661-1342

ดันจีดีพี SMEs เป็น 50%
นายณพพงศ์ ธีระวร ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย กล่าวว่า ไทยมีผู้ประกอบเอสเอ็มอีกว่า 3.01 ล้านราย คิดเป็น 99.7% ของผู้ประกอบการในประเทศ ในจำนวนนี้ที่จดทะเบียนแล้วราว 6 แสนราย เป็นวิสาหกิจชุมชน 1 แสนราย ที่เหลือเป็นร้านค้าขนาดเล็ก ขายของออนไลน์ 2.3 ล้านราย ทำให้เกิดการจ้างงาน 11.75 ล้านคน คิดเป็น 80% ของการจ้างงานในประเทศ ล่าสุด รัฐบาลประกาศว่า จีดีพีของประเทศไตรมาสแรกปีนี้อยู่ที่ 4.8% แต่เมื่อคุยกับผู้ประกอบการในภูมิภาค ปรากฏว่า เงินในกระเป๋าไม่ได้เพิ่มขึ้น ทั้งที่จีดีพีของประเทศโต แต่สัดส่วนจีดีพีเอสเอ็มอีอยู่ที่ 42.6%

สรุปว่า เกิดความเหลื่อมล้ำทางโครงสร้างสังคมไทย จึงเกิดช่องว่างที่ทำให้เอสเอ็มอีต้องรวมตัวกันเป็นสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย มีสมาชิกจาก 130 สมาคมการค้า มีเครือข่ายครอบคลุมทั้ง 76 จังหวัด

 

[caption id="attachment_288540" align="aligncenter" width="503"] ณพพงศ์ ธีระวร ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ณพพงศ์ ธีระวร
ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย[/caption]

"ก่อนหน้านี้ มาตรการต่าง ๆ ของรัฐ ไปถึงแค่อำเภอเมือง ซึ่งอำเภอทั่วประเทศมีจำนวน 878 อำเภอ คาดว่ามีเพียง 90 อำเภอเมือง กับอำเภอขนาดใหญ่ทางเศรษฐกิจที่สามารถเข้าถึงมาตรการช่วยเหลือของรัฐได้ ที่เหลืออีกกว่า 700 อำเภอ ยังเข้าถึงการช่วยเหลือยาก ทำให้มีปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำตามมา สำหรับการดำเนินงานในปี 2561 สมาพันธ์จะร่วมมือกับกระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์ ขับเคลื่อนให้ผู้ประกอบการมีความแข็งแรงและมีรายได้เพิ่มขึ้น พร้อมตั้งเป้าหมายการเพิ่มสัดส่วนจีดีพีของประเทศจากผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจาก 42.6% เป็น 50% ภายในปี 2564"

ส่วนการเข้าถึง อี-คอมเมิร์ซ นั้น สมาพันธ์ได้รวมตัวกันคิดสโลแกน รวมพลังคนตัวเล็กขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ซึ่งเป็นกิจกรรมภาคเอกชนที่ส่งต่อไป เพื่อเป็นกระบอกเสียงเอสเอ็มอีสะท้อนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ร่วมกัน นอกจากนี้ ยังช่วยให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งเงินทุนง่ายขึ้น เนื่องจากทีมงานวิจัยพบว่า 80% ยังติดขัดปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ส่วนด้านการขายมีผู้ประกอบการกว่า 50% บอกว่า ขายของไม่ได้ ช่องทางจำกัด ดังนั้น สมาพันธ์เชื่อมต่อช่องทางตลาด ด้วยวิธีการ 4 GO คือ Go of Line ขายหน้าร้าน Go on line ขายทางไลน์ Go on Air ขายทีวี และ Go Inter ขายต่างประเทศ

……………….
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,373 วันที่ 10-13 มิ.ย. 2561 หน้า 01-02

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
ไทยเทรดดอตคอมเล็งเป้าสมาชิก1แสนรายซื้อขายหมื่นล้านใน3ปี
ไทยเทรดดอทคอมฯเพิ่มโอกาสทางการค้าผ่านเครื่องมือดิจิทัล

e-book-1-503x62