ลุ้น 13 สัญญาไทย-จีน สั่งร.ฟ.ท.ทบทวนแบบช่วงโคราช-หนองคาย

06 มิ.ย. 2561 | 12:31 น.
23562326 “อาคม” สั่งร.ฟ.ท.ปรับผลศึกษาออกแบบโครงการรถไฟไทย-จีน ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ให้เสร็จในปีนี้ ล่าสุดช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมาเตรียมเปิดประมูล 13 สัญญารวมค่ากว่า 1.7 แสนล้านบาท


[caption id="attachment_287697" align="aligncenter" width="503"] อาคม เติมพิทยาไพสิฐ อาคม เติมพิทยาไพสิฐ[/caption]

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟภายใต้ความร่วมมือไทย-จีนที่ประชุมร่วมมาแล้วจำนวน 24 ครั้งว่า ขณะนี้การก่อสร้างช่วง 3.5 กิโลเมตรที่กรมทางหลวงรับไปดำเนินการมีความคืบหน้าไปมากแล้ว ดังนั้นจึงขอให้การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) เร่งว่าจ้างศึกษาออกแบบระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ต่อไปได้ทันที เนื่องจากจะต้องมีกระบวนการอีกหลายขั้นตอนกว่าจะแล้วเสร็จคาดว่าจะใช้ระยะเวลาในปี 2562 เพื่อให้สามารถดำเนินการก่อสร้างต่อเนื่องกันไป พร้อมกับการเปิดให้บริการเดินรถถึงหนองคายตามแผนที่กำหนดไว้

[caption id="attachment_287702" align="aligncenter" width="503"] ชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ชัยวัฒน์ ทองคำคูณ[/caption]

ด้านนายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) กล่าวว่า การหารือความร่วมมือรถไฟไทย-จีนครั้งที่ 24 นี้ นอกจากจะหารือที่เกี่ยว ข้องกับเฟสแรกช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมาแล้วยังจะมีการหารือในเฟสที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ที่ควรจะเริ่มดำเนินการเพื่อให้สอดคล้องกับเฟสแรกที่มีความคืบหน้ามาอย่างต่อเนื่อง

“ฝ่ายไทยออกแบบเองโดยร.ฟ.ท.ว่าจ้างที่ปรึกษาไปดำเนินการและมีฝ่ายจีนร่วมเป็นคณะกรรมการตรวจสอบผลการศึกษาดังกล่าวนี้ซึ่งขณะนี้สภาวิศวกรมีความเคลื่อนไหวเรื่องนี้แล้ว โดยโครงการช่วงนี้สนข.ได้ออกแบบเบื้องต้นไว้แล้วตั้งแต่ปี 2553 จึงสามารถปรับปรุงแบบนั้นใหม่ต่อไปได้ทันที

ส่วนบทบาทสนข.ต่อไปจะดูในเรื่องความเป็นไปได้ของโครงการ โดยฝ่ายจีนจะรับไปทบทวนโครงการ ทั้งนี้จะมีการรายงานผลการประชุมครั้งที่ 24 ต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อทราบความคืบหน้าซึ่งการลงทุนระยะที่ 2 และการออกแบบจะต้องปรับราคาลดลงกว่าระยะแรกเนื่องจากฝ่ายไทยดำเนินการเองทั้งหมด”
GP-3371_๑๘๐๖๐๖_0014 ด้านแหล่งข่าวระดับสูงของกระทรวงคมนาคมรายหนึ่งกล่าวว่า สำหรับสัญญา 2.3 ล่าสุดฝ่ายจีนส่งแบบให้ฝ่ายไทยแล้ว โดยสรุปว่าโครงการระยะแรกช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมาแบ่งออกเป็นจำนวน 13 สัญญา ที่พร้อมจะเปิดประมูลให้ดำเนินการก่อสร้างงานโยธาได้ในช่วงปลายปีนี้เป็นต้นไป รวมมูลค่าประมาณ 1 แสนล้านบาท

สำหรับระยะที่ 2 ช่วง นครราชสีมา-หนองคาย มีระยะทางประมาณ 355 กิโลเมตรคาดว่าจะใช้กรอบวงเงินลงทุนไม่น้อยกว่า 2 แสนล้านบาทนั้นส่วนใหญ่จะเป็นพื้นราบ แตกต่างจากระยะแรกที่เป็นภูเขา ดังนั้นราคาต่อกิโลเมตรจึงสูงกว่าโดยกำหนดกรอบวงเงินไว้ที่ 1.79 แสนล้านบาท เบื้องต้นนั้นยังมีลุ้นโมเดลองค์กรที่นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมจะนำเข้าไปบริหารจัดการโครงการแทนร.ฟ.ท. หรือแอร์พอร์ตลิ้งค์ และคงต้องจับตาว่าฝ่ายจีนจะยังให้การสนับสนุนการศึกษาออกแบบระยะที่ 2 ต่อไปหรือไม่ ซึ่งร.ฟ.ท.ยังไม่ได้ดำเนินการ แต่น่าจะง่ายกว่าระยะแรกเนื่องจากมีประสบการณ์ร่วมกับฝ่ายจีนมามากแล้ว
2325554 “ผลการศึกษาระยะที่ 2 สนข.เริ่มศึกษาไว้นานแล้วร.ฟ.ท.คงใช้งบประมาณอีกราว 10 ล้านบาทไปรีวิวผลการศึกษา จึงประหยัดได้อย่างมากเพราะฝ่ายไทยดำเนินการเอง แต่ใช้มาตรฐานจีนโดยต้องขอให้ฝ่ายจีนประมาณราคากลาง คาดว่า 1-2 เดือนนี้จะชัดเจน ดังนั้นเสียงเรียกร้องจากหลายฝ่ายเมื่อครั้งที่มีการประกาศใช้ม.44 ให้ฝ่ายจีนดำเนินการก็คงจะหมดไป รับเหมาก็มีลุ้นได้รับงาน บริษัทที่ปรึกษาต่างๆก็มีโอกาสรับงานมากขึ้น เนื่องจากได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากฝ่ายจีนมาแล้วนั่นเอง”


[caption id="attachment_287701" align="aligncenter" width="488"] พิเชฐ นิ่มพานิช พิเชฐ นิ่มพานิช[/caption]

ด้านนายพิเชฐ นิ่มพานิช ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท คริสเตียนีและนีลเส็น(ไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หวังว่าเป็นโอกาสของผู้รับเหมาไทยที่จะได้เข้าไปรับงานโครงสร้างงานทางในช่วงปลายปีนี้อีกหนึ่งเมกะโปรเจ็กต์ที่หลายบริษัทเฝ้ารอมานาน แต่ก็ยังเป็นห่วงว่าจะรัฐบาลเอาเงินทุนจากไหนได้ดำเนินการ การเวนคืนสำเร็จจริงหรือไม่ เพราะไม่อยากเห็นความล่าช้าเช่นโครงการมอเตอร์เวย์ช่วงบางใหญ่-กาญจนบุรี ที่ยังเข้าพื้นที่ไม่ได้จนถึงปัจจุบันนี้


|รายงาน : ลุ้น 13 สัญญาไทย-จีน สั่งร.ฟ.ท.ทบทวนแบบช่วงโคราช-หนองคาย

|เชกชั่น : เศรษฐกิจมหภาค
|หน้า 12 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3371 ระหว่างวันที่ 3-6 มิ.ย.2561
e-book-1-503x62-7