เงินนอกไหลกลับตลาดบอนด์ พฤษภาคมเดือนเดียวเฉียดหมื่นล้านบาท

14 มิ.ย. 2561 | 07:41 น.
สมาคมตราสารหนี้ไทยระบุ ต่างชาติเริ่มกลับเข้ามาลงทุนในตลาดตราสารหนี้ไทย แค่เดือนพ.ค.ยอดซื้อสุทธิ 9.7 พันล้านบาท จากความไม่แน่นอนของนายโดนัลด์ ทรัมป์ แม้ดอกเบี้ยจะขาขึ้นชัดเจน

นางสาวอริยา ติรณะประกิจ รองกรรมการผู้จัดการ สมาคมตราสารหนี้ไทย(ThaiBMA) เปิดเผยว่า นักลงทุนต่างชาติกลับเข้ามาในตลาดตราสารหนี้ไทย ตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคม จนล่าสุดเมื่อวันที่ 1 มิถุนายนมียอดซื้อสุทธิ 9.7 พันล้านบาท จากเดิมที่อัตราผลตอบแทนในพันธบัตร(yield) สหรัฐฯเป็นขาขึ้นชัดเจนและเศรษฐกิจขยายตัวดีขึ้นแต่เริ่มมีความไม่แน่นอนจากนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดี สหรัฐฯ ทั้งการเยือนเกาหลีเหนือแล้วยกเลิกหรือสงครามการค้ากับยุโรป ทำให้แม้แต่ yield curve ของพันธบัตรสหรัฐฯ 10 ปีที่เคยทะลุ 3% ก็เริ่มอ่อนลง ทำให้เงินทุนไหลกลับ

[caption id="attachment_289781" align="aligncenter" width="503"] อริยา ติรณะประกิจ  รองกรรมการผู้จัดการ สมาคมตราสารหนี้ไทย(ThaiBMA) อริยา ติรณะประกิจ
รองกรรมการผู้จัดการ สมาคมตราสารหนี้ไทย(ThaiBMA)[/caption]

“เงินลงทุนต่างชาติไหลเข้ามาในตลาดตราสารหนี้ตั้งแต่ต้นมกราคม ประมาณ 5 หมื่นล้านบาท ทำให้ยอดถือครองต่างชาติมากที่สุดถึง 9.32 แสนล้านบาท แต่หลังจากนั้นก็ไหลออกทุกเดือน มากสุดน่าจะเป็นช่วงปลายมีนาคม-กลางเมษายน จากความกังวลที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด)จะปรับขึ้นดอกเบี้ย ทำให้ yield พันธบัตรสหรัฐฯปรับขึ้น เงินลงทุนของต่างชาติ จึงไหลออกจากตลาดเกิดใหม่ กลับไปลงทุนในสหรัฐอเมริกาแทน”

สำหรับตลาดตราสารหนี้ไทยเอง แม้นักลงทุนต่างชาติไม่ได้ขายออก แต่ไม่ต่ออายุพันธบัตรที่หมดอายุลง เพราะช่วงต้นปีที่ต่างชาติเข้ามาลงทุนจะลงทุนทั้งพันธบัตรระยะสั้นไม่เกิน 1 ปีและพันธบัตรระยะยาว แต่ช่วงที่ออกไปจะเป็นพันธบัตรระยะสั้น ขณะที่พันธบัตรระยะยาวยังเป็นบวก แม้ยอดจะไม่เพิ่ม แต่ก็ไม่ใช่ขายสุทธิเช่นกัน
MP19-3372-A

อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการลงทุนของต่างชาติปีนี้ ยังคาดเดายาก เพราะแม้ว่าจะเห็นแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้นชัดเจน  แต่ก็ยังมีความไม่แน่นอนจากนโยบายของนายโดนัลด์ ทรัมป์ว่า จะไปทางไหน ซึ่งหากนโยบายที่ออกมา จะมีผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ เฟดเองก็อาจชะลอการขึ้นดอกเบี้ยตามที่ประกาศไว้ก็ได้ ซึ่งหากเทียบกับเงินไหลออกจากตลาดเกิดใหม่ ไม่ว่าจะเป็น บราซิล อาร์เจนตินา หรือในอาเซียนอย่างอินโดนีเซีย หรือมาเลเซียแล้ว ผลกระทบต่อตลาดไทยยังน้อยมาก เหตุเพราะตลาดใหญ่กว่า และพื้นฐานเศรษฐกิจไทยดีกว่ามากและต่างชาติถือครองพันธบัตรไม่ถึง 10% ขณะที่อินโดนีเซียตลาดเล็กกว่าไทย และต่างชาตืถือครองพันธบัตรถึง 40% ทำให้เมื่อต่างชาติออกจึงมีผลกระทบต่อค่าเงินด้วย

[caption id="attachment_289778" align="aligncenter" width="335"] ประภา ปูรณโชติ  กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) ประภา ปูรณโชติ
กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน)[/caption]

ด้านนางสาวประภา ปูรณโชติ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน)  หลังจาก SET Index ปรับตัวลงมากว่า 5% นับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ทำให้ Valuation ของตลาดหุ้นไทยเริ่มมีความน่าสนใจมากขึ้น แต่ Upside ของดัชนียังคงถูกจำกัดด้วยแรงขายของนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตร(Bond yield) ทั่วโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้ความน่าสนใจของตราสารหนี้มีมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับตลาดหุ้น แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตามคือ หากเฟด เริ่มส่งสัญญาณการขึ้นดอกเบี้ยครั้งที่ 4  มีโอกาสที่ Bond yield และเงินดอลลาร์สหรัฐฯ จะปรับตัวสูงขึ้น และจะส่งผลกดดันต่อกระแสเงินทุนต่างชาติ

หน้า 19 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3372 ระหว่างวันที่ 7 - 9 มิ.ย. 2561

e-book-1-503x62-7