ปฏิกิริยา : เตือนคนไทย! ขยะอิเล็กทรอนิกส์ มัจจุราชเงียบตายผ่อนส่ง

04 มิ.ย. 2561 | 13:56 น.
+2665695 “ไทยจะกลายเป็นแหล่งทิ้งขยะพิษจากทั่วโลก” กลายเป็น “HOT ISSUE” ขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อสื่อหลายสำนักหยิบขึ้นมาตีแผ่ เป็นอีกประเด็นร้อน ที่สังคมไทยให้ความใส่ใจ มีความวิตกกังวลใจไม่ด้อยไปกว่า ชีวิตความเป็นอยู่ ปากท้อง รายได้ และค่าครองชีพที่สูงลิบลิ่ว

แล้วทำไมต้องนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์หรือขยะพิษพวกนี้มาที่ประเทศไทย?

คำตอบง่ายๆคือการอนุญาตนำเข้าของเสียอันตรายที่เป็นไปตามกฎหมายภายใต้เงื่อนไขอนุสัญญาบาเซล (อ่านรายละเอียด ... อนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตรายและการกำจัด )
cf89hkg9ag65iffe9a78f น่าสนใจยิ่งกว่า เมื่อมีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า การที่ประเทศในแถบเอเชียรวมถึงไทย กำลังกลายเป็นแหล่งทิ้งขยะพิษแหล่งใหญ่ ปัจจัยหนึ่งมาจากการสมคบคิดระหว่างบริษัทผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชาติตะวันตก กับโครงการสิ่งแวดล้อมสหประชาชาติ(UNEP) ที่นำเสนอรายงานตอกย้ำความเชื่อที่ว่าการรีไซเคิลมีแต่ผลดีต่อประเทศกำลังพัฒนา

ดังรายงานผู้อำนวยการใหญ่โครงการสิ่งแวดล้อมสหประชาชาติ (ที่มา http://www.theecologist.org) กล่าวว่า การส่งเสริมการรีไซเคิลในประเทศกำลังพัฒนาจะช่วยเพิ่มอัตราการจ้างงาน และนำโลหะที่มีค่ากลับมาใช้ใหม่ไม่ว่าจะเป็น เงิน ทอง แพลเลเดียม ทองแดง อินเดียม
afefa7bbbc8c5aj58ehe5 “ประเทศเหล่านั้นสามารถพลิกวิกฤติเป็นโอกาส เพราะการรีไซเคิลสามารถฟื้นคืนคุณค่าของทรัพยากรได้”


ขณะเดียวกันยังสืบทราบว่าที่ฮ่องกงมีขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่รอการกระจายออกไปสู่ประเทศต่างๆ นับแสนตัน เมื่อเอาเข้ามาในไทยจึงถือว่านำสารพิษมากระจายเพื่อคร่าชีวิตพี่น้องคนไทย จึงต้องขยายผลกวาดล้างธุรกิจที่มีสารพิษร้ายจำพวกนี้

เพราะความจริงที่พูดไม่หมด ทำให้ความต้องการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในทวีปเอเชียรวมถึงไทยมีมากขึ้นตามลำดับ ปัญหานี้ยังเรื้อรังจนถึงทุกวันนี้
j79fcfhgje86bfb98kd8i ภาพสะท้อนนี้หาคำตอบได้หลังจาก พล.ต.อ.วิระชัย ทรงเมตตา รอง ผบ.ตร. นำกำลังตำรวจคอมมานโด ทหาร พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กรมควบคุมมลพิษและกรมโรงงานฯ เจ้าหน้าที่กรมสรรพากร ลุยตรวจสอบโรงงานคัดแยกแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ในหลายจุดทั้งที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อตรวจสอบการลักลอบนำเข้าขยะที่เป็นพิษ หลังจากวันที่ 30 พฤษภาคม 2561 ที่ผ่านมาได้เข้าตรวจค้นตู้สินค้าที่ท่าเรือแหลมฉบัง

“ขณะนี้ประเทศไทยเป็นลำดับต้นๆ ที่มีขยะอิเล็กทรอนิกส์ เพราะมีนายทุนต่างชาติลักลอบนำเข้ามา สำแดงเท็จเป็นสินค้ามือสอง โดยเฉพาะบรรดาเครื่องใช้ไฟฟ้า ทุกประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ เพราะมีสารพิษส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และมีผลต่อชีวิตคนโดยตรง”
afefa7bbbc8c5aj58ehe5 มาถึงตอนนี้ผู้อ่านคงเข้าใจทันทีเหมือนผู้เขียนว่าทำไม ไทยคือหนึ่งในประเทศที่เป็นปลายทางของขยะอิเล็กทรอนิกส์ เหมือนกับหลายๆ ประเทศกำลังพัฒนาที่ยอมปิดตาข้างหนึ่ง แม้ว่าองค์การระหว่างประเทศจะมีกฎหมายห้ามประเทศพัฒนาแล้วส่งออกขยะพิษที่ไม่ได้รับอนุญาตไปทิ้งที่ประเทศด้อยพัฒนาก็ตามยอมให้ของเสียอันตรายต้องห้ามลักลอบเข้ามาทิ้งในประเทศ

สิ่งที่น่าติดตามต่อมาคือ มีรายงานว่าจีนเพิ่งประกาศห้ามนำเข้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และอาจใช้ไทยเป็นศูนย์กลางพักขยะอันตรายและหาประโยชน์แทน
a6hebg89ckgh5a5bfjbdc แล้วใน “ขยะอิเล็กทรอนิกส์” มีอะไรจึงถือว่าเป็นของมีค่า

ตามการประเมินของศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า มูลค่าของตลาดรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ของไทย ในปี 2560 จะมีมูลค่าอยู่ที่ 5,000 ล้านบาท

เนื่องจากชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ 1 ชิ้น มีส่วนประกอบของเหล็ก ทองคำ ทองแดง ทองคำขาว ตะกั่ว พลาสติก รวมถึงชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถรวบรวมและนำไปขายแยก ซึ่งจะมีมูลค่า เนื่องจากบางชิ้นส่วนยังใช้งานได้
เหตุนี้จึงไม่น่าแปลกใจแม้แต่น้อยว่าทำไม รัฐบาลยากจะปฏิเสธการนำเข้าขยะพิษ แม้จะตระหนักดีว่าขยะอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้คือมัจจุราชเงียบคร่าชีวิตคนไทย (อ่านรายละเอียด สารอันตรายจากขยะอิเล็กทรอนิกส์และผลกระทบต่อสุขภาพ )
111 อีกข้อมูลหนึ่งที่ผู้เขียนมองว่าหากไม่เริ่มทำตั้งแต่วันนี้ สิ่งที่จะตามมาในอนาคตอาจร้ายแรงเกินกว่าจะจินตนาการได้ หลังจากอ่านเอกสารวิชาการเรื่อง “ขยะอิเล็กทรอนิกส็” ซึ่งจัดทำขึ้นโดย “ณิชชา บูรณสิงห์” วิทยากรชำนาญการพิเศษ สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ระบุชัดว่าขยะอิเล็กทรอนิกส์มาจากผลิตภัณฑ์ด้านเทคโนโลยีต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ มีอัตราการเติบโตเพิ่มสูงขึ้นเป็น 3 เท่าของขยะมูลฝอยในชุมชน

ประเด็นสำคัญคือประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการเศษเหลือทิ้งของเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์โดยตรง มีเพียงกฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับการจัดการของเสียอันตรายและการประกอบกิจการอุตสาหกรรม และกฎหมายสิ่งแวดล้อม กฎระเบียบที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่เอื้ออำนวยต่อการจัดการซากผลิตภัณฑ์ที่ชัดเจน
2222 แน่นอนว่าปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ยังคงเป็นประเด็นใหญ่ที่ต้องมีการตรวจสอบกันอย่างต่อเนื่องและจริงจัง ตั้งแต่ขั้นตอนการนำเข้า ขอใบอนุญาต และการตรวจสอบระบบการกำจัด ก่อนที่เมืองไทยจะกลายเป็นแหล่งทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์จากทั่วโลก

มาถึงตรงนี้ผู้เขียนมองว่าการรับมือกับปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์นั้น ลำพังอาศัยตัวบทกฎหมายในการบังคับใช้นั้นก็คงไม่พอ หากแต่ขึ้นอยู่กับอีกหลายปัจจัย ในความหมายนี้ก็คือต้องอาศัย “อำนาจ-ความเป็นธรรม-จิตสำนึก” ทุกคนทุกฝ่าย
4545
|คอลัมน์ : ปฏิกิริยา 
|โดย บิ๊กอ๊อด ปากพนัง
|ฐานเศรษฐกิจออนไลน์
e-book-1-503x62