ธปท.เดินหน้าผ่อนกฎรองรับบริการ ‘ดิจิตอล-ธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศ’

02 มิ.ย. 2561 | 09:34 น.
[caption id="attachment_286632" align="aligncenter" width="380"] วิรไท สันติประภพ วิรไท สันติประภพ[/caption]

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีความพยายามอย่างต่อเนื่อง ที่จะเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการทำธุรกิจ (Ease of Doing Business) รวมถึงเพิ่มความคล่องตัวและลดต้นทุน เพื่อประสิทธิภาพในการแข่งขันที่ดีขึ้น ซึ่งล่าสุด “วิรไท  สันติประภพ” ผู้ว่าการธปท. เปิดเผยว่า ครึ่งหลังปีนี้จะเข้าสู่ระยะที่ 2 ของโครงการปฏิรูปและผ่อนคลายกฎเกณฑ์การควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน (FX Regulation Reform) ซึ่งธปท.ร่วมกับภาคเอกชนและสถาบันการเงินมาตั้งแต่กลางปี 2560

“กฎระเบียบเดิมอาจไม่เอื้อต่อธุรกรรมที่เกี่ยวข้องเงินตราต่างประเทศ แต่ขณะนี้ประเทศไทยมีฐานะด้านต่างประเทศที่มั่นคงและมีธุรกรรมที่เชื่อมโยงกับต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น”
istock-629776586.jpg__640x360_q85_crop_subsampling-2

โดยนอกจากเรื่องธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศแล้ว  ธปท.ยังตระหนักถึงกฎระเบียบอีกหลายด้าน เพื่อลดอุปสรรคให้การทำธุรกิจสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมหรือเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปคือ การทำธุรกรรมดิจิตอลหรือธุรกรรมอิเล็ก ทรอนิกส์ เพื่อส่งเสริมการปรับตัวสู่ดิจิตอลแบงกิ้งให้สถาบันการเงินมีความคล่องตัวมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกฎด้านบริหารจัดการหรือ

ด้านขอบเขตทำธุรกิจ หรือการลงทุนเกี่ยวกับธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์และการบริหารความเสี่ยง และยังพิจารณาเรื่องกฎเกณฑ์การปล่อยสินเชื่อเอสเอ็มอีให้สอดคล้องกับการทำธุรกิจสมัยใหม่ อย่างขั้นตอนที่กรอกเอกสารมากเกินควร การพิสูจน์ตัวตน การวิเคราะห์ความเสี่ยง หรือหลักประกัน และการบริหารจัดการหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) หรือ สินทรัพย์รอการขาย (เอ็นพีเอ) ของบริษัทบริหารสินทรัพย์ (เอสเอ็มอี) ต่างๆ
digital “การลดกฎเกณฑ์ทั้ง 2 เรื่อง ก็เพื่อส่งเสริมให้สถาบันการเงินปรับตัวสู่ Digital Banking และการปล่อยสินเชื่อเอสเอ็มอี จะมีภาคเอกชนต่างๆและสถาบันการเงินร่วมกันแลกเปลี่ยน โดยจะใช้เวลา 4 เดือนตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายนจนถึงเดือนกันยายนปีนี้”

ทั้งนี้ การปฏิรูปกฎเกณฑ์ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินระยะที่ 2 จะปรับปรุงหลักเกณฑ์กลุ่มเอสเอ็มอีและบุคคลรายย่อยให้สามารถบริหารจัดการเงินตราต่างประเทศมีประสิทธิภาพและคล่องตัวมากขึ้น ทั้งลดเอกสารหลักฐานการโอนเงินออกนอกประเทศ การรวมบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศหรือ FCD : Foreign Currency Deposits ซึ่งมีอยู่หลายประเภทเข้าด้วยกัน หรือลงทุนหลักทรัพย์ต่างประเทศ โดยไม่ผ่านตัวแทน เพื่อรองรับการให้บริการรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์และเพิ่มทางเลือกในการทำธุรกรรมเงินตราต่างประเทศสำหรับเอสเอ็มอีกับรายย่อย ซึ่งธปท.จะเสนอแผนผ่อนคลายเหล่านี้ต่อกระทรวงการคลังเพื่อพิจารณาต่อไป
Ideas-to-Improve-Digital-Banking-Experience ส่วนการผ่อนคลายกฎเกณฑ์ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราที่ทำมาแล้ว เช่น เพิ่มทางเลือกซื้อขาย โอนเงินรายย่อย เพิ่มทางเลือกในการลงทุนต่างประเทศให้นักลงทุนคนไทยหรือเพิ่มทางเลือกในการยื่นเอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งช่วยลดขั้นตอนเอกสาร ลดต้นทุน ลดระยะเวลาลง รวมทั้งอนุญาตให้บริษัทหรือกลุ่มบริษัทที่มีคุณสมบัติตามกำหนด ทำธุรกรรมดังกล่าวกับธนาคารพาณิชย์ โดยไม่ต้องแสดงเอกสาร เช่น ใบกำกับสินค้า สัญญาเงินกู้ หรือหลักฐานแสดงภาระอื่นๆ

ต่อข้อซักถามถึงความกังวลที่ภาระหนี้ครัวเรือนที่ยังทรงตัวในระดับสูง ผู้ว่าการธปท.ระบุว่า ส่วนหนึ่งของ
หนี้ครัวเรือน มาจากสินเชื่อบ้าน ซึ่งเป็นสัญญาระยะยาว และจากเข้าไปตรวจสอบ เห็นบางธนาคารที่เคยมีส่วนแบ่งการตลาดสินเชื่อบ้านน้อย อยากเข้ามาในตลาด จึงเสนอเงื่อนไขที่รับความเสี่ยงได้เพิ่มหรือสูงเกินพอดี

“เราเริ่มเห็นการแข่งขันในสินเชื่อบ้าน โดยบางแบงก์คิดอัตราส่วนการให้สินเชื่อเพื่อซื้อบ้านเทียบกับมูลค่าบ้านสำหรับลูกค้ารายย่อย หรือ LTV สูงขึ้น ซึ่งได้ส่งสัญญาณเตือนแล้วว่าต้องดูแลอย่าให้เป็นวิธีปฏิบัติของตลาด เพราะกลุ่มนี้จะอ่อนไหว ซึ่งแบงก์ต้องแน่ใจว่า มีกระบวนการติดตามและบริหารความเสี่ยงที่ดี ซึ่งนอกจาก LTV จะต้องดูหลายด้าน เช่น อัตราส่วนรายจ่ายในการชำระหนี้ต่อรายได้ต่อเดือน (DSR) ดูรายได้ ถ้าเป็นลักษณะที่เอื้อต่อเก็งกำไร เช่น บ้านหลังที่ 2 หรือ 3”

e-book-1-503x62-7

หน้า 24 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ | ฉบับ 3371 ระหว่างวันที่ 3-6 มิ.ย.61