"ประมงไทย" เกินดุลแสนล้าน ส่ง17 ลำลุยน่านนํ้าอินเดีย-นายจ้างโอด ต้นทุนพุ่ง!

07 มิ.ย. 2561 | 09:22 น.
ใบเหลืองไอยูยู ไม่ระคายส่งออก สินค้าประมงไทยยังโตต่อเนื่อง ปี 60 เกินดุล  9.5 หมื่นล้าน ปีนี้ คาดทะลุแสนล้าน หลัง “ฉัตรชัย” ดันเรือประมงนอกน่านนํ้า 17 ลำ ประเดิมนำร่องทำประมงมหาสมุทรอินเดียครั้งแรกรอบ 3 ปี “อภิสิทธิ์” โอดต้นทุนไม่ตํ่า 20 ล้านต่อลำ

แหล่งข่าวจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า แม้ไทยจะติดใบเหลืองการทำประมงไอยูยู ของสหภาพยุโรป (อียู) แต่การส่งออกสินค้าประมงของไทยยังขยายตัวต่อเนื่อง โดยปี 2560 ปริมาณส่งออก 1.51 ล้านตัน มูลค่า 2.20 แสนล้านบาท ส่วนการนำเข้ามีปริมาณ 1.91 ล้านตัน มูลค่า 1.24 แสนล้านบาท ไทยยังเกินดุลการค้าสินค้าประมง 9.56 หมื่นล้านบาท (ดูกราฟิกประกอบ) ส่วนในปี 2561 คาดแนวโน้มการส่งออกจะยังคงเป็นไปในทิศทางบวก ล่าสุดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ออกร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการประมงนอก น่านนํ้าไทย พ.ศ. ....ที่ผ่านสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความเรียบร้อยแล้วนั้น คาดจะมีส่วนสำคัญที่ทำให้คู่ค้าเชื่อมั่น และจะทำให้การส่งออกสินค้าประมงของไทยในปีนี้เกินดุลไม่ตํ่ากว่า 1 แสนล้านบาท

TP8-3371-A

“สาระสำคัญก็คือ การปรับปรุงแก้ไขเงื่อนไขการทำประมงนอกน่านนํ้าให้มีความยืดหยุ่นขึ้น โดยให้ผู้ที่ประสงค์จะเข้าไปทำการประมงในเขตของรัฐชายฝั่งต้องเป็นรัฐชายฝั่งที่ประเทศไทยมีบันทึกข้อตกลงหรือต้องมีหลักฐานการได้สิทธิการทำการประมงในรัฐชายฝั่งนั้นนำมาแสดงประกอบการขอรับใบอนุญาตทำการประมงนอกน่านนํ้าจากกรมประมง ซึ่งจะช่วยบรรเทาผลกระทบต่ออุตสาหกรรมประมงนอกน่านนํ้าของไทย”

อย่างไรก็ดีมีข้อสังเกตว่าการแก้ไขกฎกระทรวงดังกล่าว อาจทำให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติได้เนื่องจากเป็นกรณีที่มีความเกี่ยวข้องกับพื้นที่นอกราชอาณาจักร และไม่มีกลไกกำกับดูแลโดยฝ่ายไทยร่วมกับรัฐชายฝั่งอื่นต่อการอ้างสิทธิตามที่ได้รับอนุญาต กล่าวคือ ไม่สามารถกำหนดมาตรการการตรวจสอบและควบคุมการทำประมงได้ ซึ่งจะขัดกับเจตนารมณ์ในการแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายขาดการรายงานและไร้การควบคุม (ไอยูยู)
b6-w9h6-61-800x533
ทั้งนี้หากเป็นนโยบายรัฐบาลที่จะแก้ไขหลักเกณฑ์การขออนุญาตให้ทำการประมงนอก น่านนํ้าไทยได้ จำเป็นต้องมีกลไกกำกับการตรวจสอบเพิ่มโดยอาจเพิ่มเงื่อนไขการอนุญาตในกฎกระทรวงดังกล่าว นอกจากผู้ยื่นคำขออนุญาตต้องแสดงหลักฐานการได้สิทธิการทำประมงในรัฐชายฝั่งนั้นแล้ว จะต้องมีการตรวจสอบโดยกรมประมงโดยได้รับการยืนยันจากส่วนราชการของรัฐ

ผู้ออกใบอนุญาตของรัฐชายฝั่งนั้นด้วยเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การประมง พ.ศ. 2558 มาตรา 48 ที่ระบุให้ ผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตแสดงหลักฐานว่าตนเป็นผู้มีสิทธิในการทำประมงในน่านนํ้าของรัฐชายฝั่ง เนื่องจากที่ผ่านมาเคยเกิดกรณีปัญหาการทำประมงนอกน่านนํ้าไทยโดยภาคเอกชนอ้างว่าได้รับสิทธิการทำประมงจากรัฐนั้นๆ แต่รัฐชายฝั่งไม่ให้การยืนยันรับรองสิทธิ อย่างไรก็ตาม พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี ได้รับปากกับผู้ประกอบการว่าจะสามารถออกใบอนุญาตได้ภายใน 2 เดือนนับจากวันนี้ คาดว่าจะมีเรือที่จะสามารถนำร่องออกไปทำการประมงได้ประมาณ 17 ลำ ที่มหาสมุทรอินเดีย
EyWwB5WU57MYnKOuFtKz4scndRpjvJ0k5l4GCBqDMNYEMaOKzVPjam นายอภิสิทธิ์ เตชะนิธิสวัสดิ์ นายกสมาคมการประมงนอกน่านนํ้าไทย กล่าวว่าทางสมาคมได้มีการประเมินต้นทุนของเรือ 1 ลำ ที่จะออกไปทำประมงใหม่ยังไม่แน่ใจว่างบ 20 ล้านบาทจะเพียงพอหรือไม่ เพราะมีค่าใช้จ่ายทั้งเครื่องมืออุปกรณ์ ลูกเรือ ค่าแรงอย่างน้อยต้องจ่ายล่วงหน้า 2 เดือน ยังไม่นับที่ลูกน้องจะต้องมาเบิกล่วงหน้าอีก 2 เดือน (เรือ 1 ลำ ลูกเรือ 30 คน) รวมถึงหาโทรศัพท์มือถือให้กับแรงงาน 4 คนต่อ 1 เครื่อง ค่านํ้ามัน ลำหนึ่งคาดว่าใช้ปริมาณ 3 แสนลิตร และผู้สังเกตการณ์บนเรือจ่ายวันละ 4,000 บาท ตกเดือนละ 1.2 แสนบาท นอกเหนือจากมหาสมุทรอินเดียแล้ว ยังมีประเทศซูดาน กำลังเจรจา ส่วนปาปัวนิวกินี ล่าสุดกรมประมงเพิ่งเซ็นเอ็มโอยูไปเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคมที่ผ่านมา

|รายงาน : ประมงไทยเกินดุลแสนล้าน ส่ง17ลำลุยน่านนํ้าอินเดีย-นายจ้างโอดต้นทุนพุ่ง
|เชกชั่น : การค้า-การลงทุน
|หน้า 8 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3371 ระหว่างวันที่ 3-6 มิ.ย.2561
e-book-1-503x62-7