แบรนด์ดังชูกำลังเกาหลีบุกไทย

06 มิ.ย. 2561 | 08:35 น.
เครื่องดื่มชูกำลังแบรนด์ดังจากเกาหลี “แบคคัส” บุกตลาดเมืองไทย เล็งผนึกพาร์ต เนอร์ พร้อมชู “อีโมชันนัลแคม เปญ” เจาะคนรุ่นใหม่ วางเป้าหากกระแสตอบรับดี พร้อมลงทุนระบบโลจิสติกส์,และโปรดักชัน รุกตลาดอย่างจริงจัง

นายจาง ยอง ปาร์ค ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ ทีมบริหารโครงการ ฝ่ายธุรกิจระหว่างประเทศ บริษัท ดงอา เอสที จำกัด (DONG-A ST) ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มชูกำลัง จากประเทศเกาหลี ภายใต้แบรนด์ “แบคคัส” (Bacchus) เปิดเผยว่า แม้ภาพรวมตลาดเครื่องดื่มชูกำลังเมืองไทยจะมีการแข่งขันสูง แต่ทว่าเป็นการแข่งขันเรื่องราคาเป็นหลัก โดยเฉพาะในระดับราคา 10 บาทจึงมองเห็นช่องว่างทางการตลาดโดยเฉพาะในตลาดระดับพรีเมียมที่สามารถเติบโตได้ เบื้องต้นอยู่ระหว่างมองหาพาร์ตเนอร์เข้ามาทำตลาดในประเทศไทย ซึ่งในประเทศเกาหลีบริษัทเน้นวางจำหน่ายในช่องทางโมเดิร์นเทรดราคา 30 บาท (แบบกระป๋อง) โดยช่วงที่ผ่านมาได้เริ่มเจรจาร่วมกันกับสิงห์แต่ยังไม่สามารถสรุปได้และบริษัทก็พร้อมมองหาพันธมิตรในไทยอย่างต่อเนื่อง

back

“ยอมรับว่าสนใจในการเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยเป็นอย่างมาก แม้ภาพรวมตลาดเครื่องดื่มชูกำลังจะมีการแข่งขันกันสูง แต่ด้วยโพสิชันนิงที่แตกต่างและบวกกับความเป็นแบรนด์พรีเมียมที่เน้นเจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ เชื่อว่าบริษัทจะสามารถทำตลาดได้ และหากบริษัทมีพาร์ทเนอร์ ก็พร้อมจะเข้าทำตลาดทันที”

ทั้งนี้หากบริษัทประสบความสำเร็จในการเจรจากับพาร์ต เนอร์ชาวไทย ก็พร้อมที่จะเดินหน้ารุกตลาดโดยเน้นการทำตลาดในรูปแบบ “อีโมชันนัล แคมเปญ” เพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมายคนรุ่นใหม่ผ่านภาพลักษณ์ความเป็นพรีเมียมแบรนด์ โดยในเกาหลีบริษัทมีการสื่อสารอีโมชันนัล แคมเปญในรูปแบบต่างๆ ผ่าน K-Pop,
ซีรีส์เกาหลี เป็นต้น พร้อมกันนี้ยังมองถึงแผนงานในอนาคตว่าหากบริษัทได้รับกระแสตอบรับที่ดีในประเทศไทย บริษัทก็พร้อมร่วมลงทุน ไม่ว่าจะเป็นในส่วน ของโลจิส ติกส์, ขั้นตอนการผลิตในประเทศไทยต่อไป เพื่อลดต้นทุนการนำเข้า ทำให้สามารถแข่งขันในตลาดเมืองไทยได้

โปรโมทแทรกอีบุ๊ก-6

อย่างไรก็ตามภาพรวมตลาดเครื่องดื่มชูกำลังเมืองไทยปีที่ผ่านมามีมูลค่า 3.5 หมื่นล้านบาท มีการเติบโตเล็กน้อย โดยกลุ่มผู้เล่นหลักได้แก่ M-150, กระทิงแดง, คาราบาวแดง และลิโพ เป็น ต้น ซึ่งรูปแบบการแข่งขันในตลาด ปีที่ผ่านมาหลายแบรนด์พยายามปรับเปลี่ยนแนวคิดและพฤติกรรมการบริโภค จากเดิมที่เน้นเจาะกลุ่มเป้าหมายผู้ใช้แรงงานเป็นหลัก ผ่านการสื่อสารในแง่ของความเป็นเครื่องดื่มที่ให้ความสดชื่น มีพลังงาน สู่การขยายฐาน ลูกค้าไปยังกลุ่มคนรุ่นใหม่ ในรูปแบบฟังก์ชันนัลดริงก์มากขึ้น

โดยมีการปรับเปลี่ยนทั้งกลยุทธ์ทางการตลาด แพ็กเกจจิ้งในรูปแบบกระป๋อง (Can) โดยรูปแบบการดื่มดังกล่าวนั้นได้รับความนิยมในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นอเมริกาและยุโรป ขณะที่เรื่องของ “โปรโมชัน” ยังคงเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่ผู้ประกอบการนำมาใช้ในการกระตุ้นยอดขายและขยายฐานไปยังกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้นเช่นเดิมที่เพิ่มเติมคือการแข่งขันและของรางวัลล่อตาล่อใจมากกว่าเดิม เพื่อชิงส่วน แบ่งทางการตลาดให้ได้มากที่สุด

e-book-1-503x62-7

หน้า 36 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ | ฉบับ 3371 ระหว่างวันที่ 3-6 มิ.ย.61