สศอ.เผยดัชนีผลผลิตอุตฯเม.ย. 61ขยายตัว4.0%

30 พ.ค. 2561 | 10:20 น.
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เผยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI ) ประจำเดือนเมษายน ปี 2561 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาและขยายตัวเป็นบวกติดต่อกันเป็นเดือนที่ 12

นายณัฐพล รังสิตพล เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index - MPI) ประจำเดือนเมษายน 2561 มีการขยายตัวร้อยละ 4.0 และขยายตัวเป็นบวกติดต่อกันเป็นเดือนที่ 12 ทำให้ 4 เดือนแรกของปี 2561 MPI ขยายตัวร้อยละ 4.1 โดยอุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลบวกประจำเดือนเมษายน 2561 ได้แก่ น้ำตาลทราย รถยนต์และเครื่องยนต์ เม็ดพลาสติก Hard Disk Drive และน้ำมันปิโตรเลียม

สินค้าในอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ประจำเดือนเมษายน มีการขยายตัวได้แก่น้ำตาลทราย ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 44.13 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากผลผลิตอ้อยที่มีมากกว่าปีก่อน ฝนตกชุกกระทบต่อการตัดอ้อยล่าช้ากว่าปกติ ผลผลิตจึงมากระจุกตัวอยู่ช่วงท้ายฤดูหีบอ้อย ส่งผลให้มีการผลิตน้ำตาลเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ
inde รถยนต์และเครื่องยนต์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.31 จากเครื่องยนต์แก๊สโซลีน เครื่องยนต์ดีเซล รถยนต์นั่งขนาดไม่เกิน 1,800 cc และรถปิคอัพ เม็ดพลาสติก ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.41 จากสินค้า PP , PVC , PE และ LLDPE เป็นหลัก

จากการขยายกำลังการผลิตของบางบริษัทที่รองรับการส่งออก และความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องในประเทศ เช่น บรรจุภัณฑ์ ชิ้นส่วนรถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า
Hard Disk Drive ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.78 เนื่องจากผู้ผลิตได้รับคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นและภาพรวมอุตสาหกรรมยังเติบโต น้ำมันปิโตรเลียม ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.27 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากน้ำมันแก๊สโซฮอล 95 และน้ำมันดีเซลหมุนเร็วเป็นหลัก
inde1

นอกจากนี้ภาวะอุตสาหกรรมสำคัญที่ยังคงขยายตัวได้ดี ได้แก่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.03 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์หลัก ได้แก่ HDD, Monolithic IC, Semiconductor และ PCBA ตามการขยายตัวของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์โลก โดย IC ปรับตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากการใช้เป็นชิ้นส่วนสำคัญในการพัฒนาสินค้าที่มีการใช้เทคโนโลยีสูง รวมถึงนำไปใช้เป็นชิ้นส่วน Smart phone, Tablet ส่วน HDD มีการพัฒนาให้มีความจุมากขึ้นเพื่อใช้ใน Cloud Storage
อุตสาหกรรมรถยนต์ การผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.87 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการเพิ่มขึ้นจากตลาดในประเทศและตลาดส่งออก เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศ การลงทุนจากภาครัฐและภาคเอกชน ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

อุตสาหกรรมอาหาร การผลิตในภาพรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 46.8 เพื่อรองรับผลผลิตสินค้าสำคัญที่เพิ่มขึ้นได้แก่ น้ำตาลทรายดิบ แป้งมันสำปะหลัง น้ำมันปาล์มดิบ น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ทูน่ากระป๋อง ซาร์ดีนกระป๋องและไก่แช่เย็นและแช่แข็ง ประกอบกับภาพรวมการบริโภคในประเทศขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง

e-book-1-503x62-7