มติเอกฉันท์ ร่าง พ.ร.บ.เลือกตั้ง ส.ส. ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ

30 พ.ค. 2561 | 09:09 น.
ศาล รธน. มีมติเป็นเอกฉันท์วินิจฉัยร่าง พ.ร.บ.เลือกตั้ง ส.ส. ไม่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ นัดลงมติคำสั่งหัวหน้า คสช. 53/2560 ขัด รธน. หรือไม่ 5 มิ.ย.


127837 127835

 

วันนี้ ศาลรัฐธรรมนูญได้ประชุมปรึกษาพิจารณาคดี ๒ เรื่อง ดังนี้

๑. ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ผู้ร้อง) ส่งความเห็นของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. .... มาตรา ๓๕ (๔) และ (๕) มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา ๙๕ วรรคสาม และร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร พ.ศ. ... มาตรา ๙๒ วรรคหนึ่ง มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา ๘๕ หรือไม่ (เรื่องพิจารณาที่ ๗/๒๕๖๑)

ข้อเท็จจริงสรุปได้ว่า สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จํานวน ๒๗ คน เห็นว่า ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. .... มาตรา ๓๕ (๔) และ (๕) มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา ๙๕ วรรคสาม และร่างพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. .. มาตรา ๙๒ วรรคหนึ่ง มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา ๘๕ จึงเสนอความเห็นต่อผู้ร้องเพื่อส่งความเห็นดังกล่าวไปยัง ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๔๘ วรรคหนึ่ง (๑) ประกอบมาตรา ๒๖๗ วรรคห้า และมาตรา ๒๖๓ และผู้ร้องได้ส่งความเห็นดังกล่าวมายังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๔๘ วรรคหนึ่ง (๑) ประกอบมาตรา ๒๖๓

ผลการพิจารณา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นองค์คณะทุกคนได้ทําความเห็นส่วนตน เป็นหนังสือ พร้อมทั้งแถลงด้วยวาจาต่อที่ประชุม และที่ประชุมได้ปรึกษาหารือร่วมกันแล้วลงมติ ดังนี้

ประเด็นที่หนึ่ง ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิก สภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. .... มาตรา ๓๕ (๔) และ (๕) มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา ๙๕ วรรคสาม หรือไม่ ซึ่งผลการลงมติปรากฏว่าศาลโดยมติเอกฉันท์วินิจฉัยว่า ไม่มีข้อความ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ เนื่องจากการดํารงตําแหน่งตามมาตรา ๓๕ (๔) และ (๕) เป็นสิทธิชนิดหนึ่ง ซึ่งรัฐธรรมนูญบัญญัติให้ออกกฎหมายจํากัดสิทธิดังกล่าวได้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๙๕ วรรคสาม

ประเด็นที่สอง ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิก สภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ... มาตรา ๙๒ วรรคหนึ่ง มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา ๘๕ หรือไม่ ซึ่งผลการลงมติปรากฏว่าศาลโดยมติเอกฉันท์วินิจฉัยว่า ไม่มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ เนื่องจากการอํานวยความสะดวกหรือจัดให้มีความช่วยเหลือในการออกเสียงลงคะแนนของคนพิการหรือ ทุพพลภาพหรือผู้สูงอายุตามมาตรา ๙๒ วรรคหนึ่ง ยังอยู่ในขอบเขตของวิธีออกเสียงลงคะแนนโดยตรง และลับตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๘๕ วรรคหนึ่ง

๒. ผู้ตรวจการแผ่นดิน (ผู้ร้อง) เสนอเรื่องตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๓๑ (๑) ว่า พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๑๔๐ และมาตรา ๑๔๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๕๓/๒๕๖๐ เรื่อง การดําเนินการตาม กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๕ มาตรา ๒๖ มาตรา ๒๗ และมาตรา ๔๕ หรือไม่ (เรืองพิจารณาที่ ๖/๒๕๖๑)

ข้อเท็จจริงสรุปได้ว่า พลตํารวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ รักษาการหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ร้องเรียนต่อผู้ร้องว่าคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบ แห่งชาติ ที่ ๕๓/๒๕๖๐ เรื่อง การดําเนินการตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ซึ่งผู้ร้องพิจารณาแล้วมีความเห็นว่าคําสั่งหัวหน้าคณะรักษา ความสงบแห่งชาติดังกล่าวมีสถานะเป็น “บทบัญญัติแห่งกฎหมาย” ที่ไม่ได้รับรองและคุ้มครองการเป็น สมาชิกพรรคการเมืองตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๕ ประกอบมาตรา ๔๕ อีกทั้งยังมีลักษณะเป็นการเพิ่ม ภาระหรือจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๖ และเป็นการ เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ซึ่งขัดกับหลักความเสมอภาคตามที่รัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๗ ได้รับรอง และคุ้มครองไว้ ผู้ร้องจึงเสนอเรื่องพร้อมความเห็นให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๓๑ (๑)

ผลการพิจารณา ศาลรัฐธรรมนูญได้อภิปรายเพื่อนําไปสู่การวินิจฉัยและกําหนดประเด็น ที่ต้องพิจารณาวินิจฉัยตามคําร้อง พร้อมทั้งนัดแถลงด้วยวาจา ปรึกษาหารือ และลงมติในวันอังคารที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๖๑

e-book-1-503x62-7