ค้าออนไลน์-SME ลุ้นกฎใหม่อียูเพิ่มยอด

01 มิ.ย. 2561 | 08:54 น.
สภาหอฯ-สรท.ติวเข้มผู้ส่งออกไทยรับมือกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของอียู หวั่นกระทบส่งออก 8 แสนล้าน มองมุมบวกส่งผลดีค้าออนไลน์-เอสเอ็มอีได้ออร์เดอร์เพิ่ม

จากกฎหมายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของพลเมืองที่อาศัยอยู่ในเขตสหภาพยุโรป (GDPR) ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษ- ภาคม 2561 ซึ่งทางภาคเอกชนระบุจะกระทบกับภาคธุรกิจของไทยในหลายภาคส่วน อาทิ ภาคการท่องเที่ยว โรงแรม สายการบิน และอื่นๆ นั้น

นายบัณฑูร วงศ์สีลโชติ รองประธานคณะกรรมการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ให้ความเห็นกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า GDPR เป็นกฎหมายที่นานาประเทศที่ทำการค้ากับสหภาพยุโรป (อียู) ต้องปฏิบัติตาม เพื่อป้องกันข้อมูลของประชาชน อียูไม่ให้ถูกล้วงข้อมูลไป โดยต้องเก็บรักษาและป้องกันไว้อย่างดี ใครจะเจาะเอาข้อมูลส่วนตัวไปไม่ได้ จะนำข้อมูลไปวิเคราะห์ในแง่ใดๆ ก็ไม่ได้ นอกจากได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลแล้วเท่านั้น อย่างไรก็ดีมองว่ากฎหมายนี้มีประโยชน์ในแง่ให้ความมั่นใจกับผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าออนไลน์ ทำให้ผู้ขายให้ความมั่นใจกับผู้ซื้ออันจะทำให้ขายได้มากขึ้น ออนไลน์ 3

นอกจากนี้ ผู้ซื้อยังสามารถมั่นใจในการซื้อสินค้ากับบริษัทขนาดเล็กและกลาง (เอสเอ็มอี) เพราะเมื่อมีกฎหมายรับรองความปลอดภัยเรื่องข้อมูล มีความไว้วางใจในการบังคับใช้กฎหมาย ผู้ซื้อไม่ต้องกังวลว่าต้องซื้อสินค้าจากบริษัทใหญ่เท่านั้น  หากไทยมีกฎหมายที่สอดคล้องกันแล้ว การทำการค้าออนไลน์กับลูกค้าในอียูย่อมทำได้ดีและขายได้มากขึ้น ไม่ว่าจะขายสินค้า หรือ บริการ แต่ผลเสียคือผู้ประกอบการต้องลงทุนพัฒนาระบบเก็บรักษาข้อมูลให้เป็นไปตามกฎหมาย

นายคงฤทธิ์  จันทริก ผู้อำนวยการบริหาร สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย(สรท.) กล่าวว่า ข้อบัญญัติของ GDPR ควบคุมภาครัฐด้วย เช่นการผ่านข้อมูลให้หน่วยงานภาครัฐอื่น การส่งผ่านข้อมูลให้เอกชน ประเด็นเหล่านี้ภาครัฐของไทยควรต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับข้อบัญญัติของ GDPR ที่ไม่ก่อให้เกิดผล
กระทบต่อภาคเอกชน ในปี 2560 การค้าไทย-สหภาพยุโรป (28 ประเทศ)มีมูลค่า 1.5 ล้านล้านบาท โดยไทยส่งออก 8.02 แสนล้านบาท นำเข้า 7.04 แสนล้านบาท ไทยเกินดุลการค้า 9.8 หมื่นล้านบาท

หน้า 10 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับวันที่ 3,370 วันที่ 31 พ.ค.-2 มิ.ย. 2561

e-book-1-503x62