"คลัง" ตั้งเป้าจีดีพี 4.5% ไม่ห่วงน้ำมันแพง กระทบระยะสั้น

24 พ.ค. 2561 | 12:04 น.
กระทรวงการคลังขยับเป้าหมายจีดีพีปี 61 ขยายตัว 4.5% สูงสุดในรอบ 6 ปี หวังการลงทุนภาครัฐเป็นแรงขับเคลื่อน ไม่ห่วงราคาน้ำมันแพง เป็นเพียงช่วงสั้น

- 24 พ.ค. 61 - น.ส.กุลยา ตันติเตมิท ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง กระทรวงการคลังได้ปรับเป้าหมายอัตราการขายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ปี 2561 จาก 4.2% เพิ่มเป็น 4.5% สูงสุดในรอบ 6 ปี นับจากปี 2554 ซึ่งมีปัญหาอุทกภัยน้ำท่วมครั้งใหญ่ เพราะมีหลายปัจจัยที่มีทิศทางดีขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนภาครัฐ ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 10% จากการลงทุนในโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งจะเป็นตัวหลักสำคัญขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนคาดว่าจะขยายตัวมากกว่า 3.8%

“ค่าเงินบาทคาดว่าอ่อนลงกว่า 31.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ อัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ระดับ 1.4% ราคาน้ำมันดิบที่ตลาดดูไบ คาดว่าจะมีราคาสูงกว่า 66.5 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาเรลล์ ส่วนการส่งออกขยายตัวสูงกว่า 8% จากเศรษฐกิจโลกที่จะดีต่อเนื่อง”

สำหรับแนวโน้มราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับสูงขึ้นขณะนี้ มองว่า เป็นการขยับสูงขึ้นไม่นาน เพราะเป็นปัญหาจากการขนส่งน้ำมัน และจะเป็นเพียงช่วงสั้น เนื่องจากการค่ำบาตรประเทศเวเนซุเอร่า คงทำได้ยาก รวมทั้งการค่ำบาตรอิหร่านเพราะเป็นประเทศขนาดใหญ่ มองว่า การลงทุนโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ จะเป็นหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และจะทำให้ภาคเอกชนเชื่อมั่นลงทุนเพิ่มตามมา และเมื่อรัฐบาลมุ่งเน้นขับเคลื่อนโครงการไทยนิยมยั่งยืน การดูแลผ่านสวัสดิการแห่งรัฐ จะทำให้มีแรงผลักดันไปยังรายย่อยและชนบทมากขึ้นในช่วงต่อไป

[caption id="attachment_284045" align="aligncenter" width="503"] Red metal barrels against blue sky. Red metal barrels against blue sky.[/caption]

สำหรับปัจจัยต่างประเทศคลายความกังวลอย่างมาก เพราะความขัดแย้งสงครามทางการค้าสหรัฐกับจีนลดแรงกดดันลงมา เนื่องจากมีการเจรจากันเพิ่มเติม เกาหลีเหนือการทดสอบนิวเคลียร์อย่างชัดเจน และความสัมพันธ์เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ดีขึ้นมาก ประเทศพันธมิตร ฝรั่งเศสและอังกฤษไม่ร่วมการค่ำบาตร อิหร่านในการเปิดประเทศ เมื่อเศรษฐกิจไตรมาสแรกของสหรัฐฯโต 2.9% ถือว่าสูงมาก จีนขยายตัว 6.8% ถือว่าเติบโตต่อเนื่อง สิงคโปร์ขยายตัว 4.4% ถือว่าเป็นปัจจัยบวกมาก เพราะค้าขายกับทั่วโลก ปัจจัยนอกประเทศจึงไม่น่ากังวล

ขณะที่สถาบันจัดอันดับมูส์ดี้ได้เข้ามาสอบถามข้อมูลจากหลายหน่วยงานเพื่อทบทวนอันดับเครดิต นับว่ามีทิศทางเป็นบวกมากขึ้น เพราะมองว่าการเมืองไทยมีเสถียรภาพมากกว่าที่ผ่านมา จึงมองว่าปัญหาการเมืองของไทยไม่ใช่ประเด็นที่น่าเป็นห่วง ขณะนี้ฐานะทางกาคลังเข้มแข็งมาก การลงทุนมีเสถียรภาพ อันดับเครดิต BBB+

น.ส.กุลยา กล่าวถึงกรณีที่ IMD ปรับลดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันลดลงอันดับ 20 เหลือ 22 ว่า เป็นการพิจารณาตัวเลขทางเทคนิค เกี่ยวกับการขาดดุลงบประมาณ เนื่องจากปี 2559 ไทยมีรายได้พิเศษจากการประมูลคลื่น 3จี และ 4จี เมื่อเทียบกับปี 2560 จึงมองว่า ขาดดุล และการขาดดุลงบประมาณ เพื่อต้องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สอดคล้องกับมุมมองของกองทุนไอเอ็มเอฟ ที่เห็นด้วยกับการขาดดุลงบประมาณด้วยการการลงทุนภาครัฐพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ จึงเป็นมุมมองขององค์กรระหว่างประเทศที่แตกต่างกัน