ข้าพระบาท ทาสประชาชน : 4 ปี รัฐบาลคสช. ควรสรุปบทเรียนและประเมินตนเอง

24 พ.ค. 2561 | 12:35 น.
9659 การปฏิวัติ รัฐประหาร เกิดขึ้นแล้ว เราไม่อาจหลีกเลี่ยงหรือปฏิเสธมัน และวันนี้จึงไม่ใช่เรื่องว่าเราชอบหรือไม่ชอบการรัฐประหาร ปัญหาที่อยู่เบื้องหน้าของประเทศเรา คือจะคืนความเป็นประชาธิปไตยให้กับประเทศและประชาชนให้ดีที่สุดได้อย่างไร” คมวาทะนี้ น่าฟังและนับว่ามีเหตุผลยิ่ง หากจำไม่ผิดน่าจะเป็นวาทะที่มาจากอดีตนายกรัฐมนตรีของไทยท่านหนึ่ง คือ นายอานันท์ ปันยารชุน ผู้ที่ก้าวเข้าสู่ตำแหน่งนายกฯ ภายหลังเหตุการณ์รัฐประหารโดย พล.อ.สุจินดา คราประยูร เมื่อ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2534 โดยเข้าดำรงตำแหน่งถึง 2 วาระคือ เมื่อ 2 มีนาคม 2534-22 มีนาคม 2535 และภายหลังเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองพฤษภาทมิฬ อีกวาระหนึ่งเพื่อเข้ามาแก้ไขสถานการณ์และคืนความเป็นประชาธิปไตยให้กับประเทศ โดยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน-23 กันยายน 2535
220557-25 การรัฐประหาร โดย คสช.ที่นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ก็เช่นเดียวกัน เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาแล้ว และจะครบวาระ 4 ปีในวันนี้ แม้ผู้เขียนหรือเราท่านทั้งหลายจะไม่ชอบมัน แต่ผมก็เชื่อว่าผู้คนจำนวนมากของประเทศ ต่างเข้าใจเหตุผลและความจำเป็นว่า ทำไมรัฐประหารจึงเกิดขึ้น ซึ่งคงไม่ต้องพูดซํ้าหรือย้อนความว่า การเมืองโดยการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยที่ผ่านมา ทำให้เกิดระบอบการเมืองที่ชั่วร้าย สร้างความเสียหายแก่บ้านเมืองเพียงใด หากไม่มี คสช.ในวันนั้น ประเทศไทยก็คงไม่มีวันนี้ ซึ่งก็ต้องถือว่า นี่คือคุณูปการด้านนี้ที่รัฐประหารมอบให้แก่สังคมไทย
mSQWlZdCq5b6ZLkriouFJKi0tpQqXbz2 รัฐประหารเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและผ่านมาแล้ว แม้ผู้เขียนจะไม่ชอบแต่ก็ต้องทำใจยอมรับ แต่สิ่งที่ต้องการและอยากเห็นประเทศของเราก้าวเดินไปข้างหน้า คือผมต้องการเห็นความเป็นระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขครับ เพราะจะอย่างไรเสีย ก็น่าจะเป็นระบอบการเมืองการปกครองที่เลวน้อยที่สุด น่าจะเหมาะสมที่สุดกับสังคมไทย เพียงแต่ต้องสรุปบทเรียนและปฏิรูปเปลี่ยนแปลง แก้ไขจุดอ่อนที่เป็นปัญหาในอดีตที่ผ่านมาให้หมดสิ้นหรือให้มีน้อยที่สุด ประเทศของเราก็จะก้าวเดินหน้าไปได้ด้วยดี สมกับเจตนารมณ์ของประชาชน

ดังนั้น ในวาระโอกาสครบรอบ 4 ปี ของรัฐบาล คสช. ผมจึงไม่ต้องการวิพากษ์วิจารณ์ คสช.แบบทำลาย หรือประเมินผลงานแต่ความล้มเหลว แบบมองไม่เห็นส่วนดีอะไรเลย เพราะคงจะไม่เกิดประโยชน์อันใดต่อบ้านเมือง หากเรียกร้องและเสนอได้ด้วยความปารถนาดี เพื่อเป็นการสร้างสรรค์ หรือติเพื่อก่อโดยหวังว่าท่านยินดีรับฟัง ผมก็อยากเสนอให้ท่านรัฐบาล คสช.ได้สรุปบทเรียนและประเมินตนเองด้วยความซื่อสัตย์ และโดยเคารพต่อความเป็นจริง จะให้ดียิ่งขึ้นกว่านั้นก็คือกล้าวิจารณ์ตนเองโดยเคารพและรับฟังเสียงจากประชาชน ทั้งที่ชื่นชม สนับสนุนและตำหนิ แม้จะด้วยรักชอบ หรือมีอคติก็ตาม
640x390_584563_1412321296 หากความคิดเห็นเหล่านั้นมีเหตุผลที่รับฟังได้ ก็ควรต้องนำมาพิจารณา เพราะหลักการนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อตัวผู้นำประเทศ พรรคการเมืองหรือคณะบุคคลที่สุจริต ที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจทำงานรับใช้ชาติ รับใช้ประชาชน ซึ่งใครก็ตามที่ประกาศจุดยืนว่าตนมีอุดมการณ์หรือจุดยืนแน่วแน่ว่าทำเพื่อชาติและประชาชน ไม่มีผลประโยชน์ส่วนตนแอบแฝงเช่นนี้แล้ว ย่อมต้องกล้าหาญในการสรุปบทเรียน ประเมินตนเองและกล้าวิจารณ์ตนเองอย่างซื่อสัตย์และตรงไปตรงมา

ปัญหาที่เป็นโจทย์อันสำคัญของรัฐบาล คสช.ที่ควรสรุปบทเรียนและประเมินตนเองอย่างยิ่งในมุมมองของผู้เขียน มีข้อเสนอให้ได้คิดหลายประการดังนี้ครับ

1. การรัฐประหารวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ทำให้รัฐบาล คสช. มีความชอบธรรมและได้รับการสนับสนุนจากประชาชนอย่างสูงยิ่ง แต่เมื่อครบ 4 ปี เสียงสนับสนุนหรือกองหนุนรัฐบาลเป็นอย่างไร? การร่างรัฐธรรมนูญ 2560 เพื่อเปิดทางให้สืบทอดอำนาจ และเตรียมการตั้งพรรคการเมืองเพื่อปูทางให้รัฐบาล คสช.กลับมาอีกครั้งด้วยการดูดอดีต ส.ส. ยังมีความชอบธรรมอยู่หรือไม่ แค่ไหนเพียงใด เพียงพอที่จะทำให้รัฐบาลอยู่ได้ด้วยความมั่นคงหรือไม่?

2. การใช้อำนาจของ คสช.ในช่วงสถานการณ์แรกของการรัฐประหาร มีความเหมาะสม สมเหตุสมผล เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติมีความชอบธรรมและประชาชนยอมรับได้ เพื่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง แต่หลังจากมีรัฐธรรมนูญฉบับถาวรประกาศใช้จนถึงปัจจุบัน การใช้อำนาจเบ็ดเสร็จหรือส่อไปในทางเผด็จการของ คสช.มีเหตุผลอันสมควรหรือไม่ มีความชอบธรรมเพียงใด เป็นไปเพื่อประโยชน์ชาติหรือเพื่ออำนาจแห่งกลุ่มตนและพวกพ้องหรือไม่ เพียงใด ควรปรับปรุงแก้ไขหรือไม่อย่างไร อำนาจยิ่งมีมากและใช้มากเกินจำเป็น นำมาซึ่งความเสื่อม ยิ่งหากขาดความชอบธรรม ก็ยิ่งทำลายตัวเอง
6666 3. การจำกัดสิทธิและเสรีภาพบางประการของประชาชน พรรคและนักการเมือง ในช่วงแรกของการรัฐประหาร อาจมีความชอบธรรมและประชาชนยอมรับได้ แต่จนบัดนี้แม้รัฐธรรมนูญฉบับถาวรประกาศใช้แล้วและรัฐบาลก็มีความตั้งใจที่จะคืนประชาธิปไตยแก่ประชาชน เดินหน้าการปฏิรูปประเทศ ทำไมยังไม่คืนสิทธิเสรีภาพแก่ประชาชน พรรคหรือนักการเมืองและสร้างบรรยากาศของความเป็นประชาธิปไตย ความสามัคคีปรองดองของคนในชาติให้เกิดขึ้น การมุ่งใช้อำนาจเพื่อจำกัดสิทธิเสรีภาพผู้อื่น แต่ให้โอกาส สิทธิ และเสรีภาพ แก่กลุ่มและพวกของตน อาจทำลายความชอบธรรมแก่รัฐบาล คสช.จนอาจนำไปสู่วิกฤติและกระแสการต่อต้านอำนาจรัฐ คสช.ได้ในที่สุด หรืออาจเป็นชนวนไปสู่ความรุนแรงทางการเมืองที่คาดคิดไม่ถึง ควรสรุปและประเมินปัญหานี้อย่างไร เตรียมการแก้ไขไว้หรือไม่?

4. สุดท้าย รัฐบาลคสช.ควรประเมินผลงานตนเอง ในด้านการบริหาร การแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจและสังคมในทุกด้าน โดย องค์กรที่เป็นอิสระทางวิชาการที่เชื่อถือได้อย่างตรงไปตรงมาว่า ในรอบ 4 ปี ประชาชนพึงพอใจในการบริหารประเทศของรัฐบาลแค่ไหน เพียงใด ควรปรับปรุงแก้ไขอะไรบ้าง เพื่อประโยชน์ชาติบ้านเมือง และความสุขของประชาชน
20170524015536_l นี่คือข้อเสนออันเป็นความปรารถนาดี ในฐานะประชาชนคนไทยคนหนึ่งที่อยากเห็น อยากให้รัฐบาล คสช.สนใจจัดการกับตนเองมากกว่าการไปทะเลาะและหาทางปิดปากเล่นงานคนอื่นโดยอาศัยอำนาจเด็ดขาดของตน แม้จะอ้างว่าทำตามกฎหมายก็ตาม ย่อมถูกโต้แย้งได้ เพราะ คสช.เป็นองค์รัฏฐาธิปัตย์เสียเอง หรือมิควรทนงตนว่าถ้าไม่มีดีก็อยู่ไม่ได้ถึงทุกวันนี้ เพราะการอยู่มาได้ทุกวันนี้ ก็ย่อมเห็นได้อยู่แล้วว่าประชาชนจำยอม

หากถามหรือรับฟังความเห็นประชาชนอย่างซื่อสัตย์และเคารพกับความจริง ท่านก็จะได้คำตอบแท้จริง แม้เป็นยาขมหรืออาจตรงกันข้ามกับที่ท่านคิด แต่ก็คือความคิดเห็นประชาชนที่ผู้นำต้องฟัง เพราะผู้นำที่ไม่ฟังเสียงประชาชน คิดเข้าข้างตนเองมีมากครับ แต่ผู้นำเหล่านั้นล้วนแต่สิ้นอำนาจไปหมดแล้ว สรุปบทเรียนและสำรวจประเมินตนเองอย่างตรงไปตรงมาเถอะครับ อย่าฟังแต่เสียงสรรเสริญเยินยอ เพราะนั่นคือกระสุนเคลือบนํ้าตาล อาจทำให้สิ้นอำนาจสิ้นชีวิตได้

คอลัมน์:ข้าพระบาท ทาสประชาชน |โดย...ประพันธุ์ คูณมี | หน้า 6 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ | ฉบับ 3368 ระหว่างวันที่ 24-26 พ.ค.2561
e-book-1-503x62-7